สาร Naringin ปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดในหนูแรทความดันโลหิตสูง

Authors

  • ณัฐณิชา ราชิวงศ์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น ประเทศไทย
  • โฉมพิลาศ โม้วงษ์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วีระพล แสงอาทิตย์ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • พัชรวิภา มณีไสย ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น ประเทศไทย
  • พวงรัตน์ ภักดิโชติ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น ประเทศไทย

Abstract

Naringin Improves Vascular Function in Hypertensive Rats

Nutnicha Rachiwong, Chompilat Mowong, Weerapon Sangartit, Putcharawipa Maneesai, Poungrat Pakdeechote*

Department of Physiology, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand

หลักการและวัตถุประสงค์: Naringin เป็นสารฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการอักเสบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบ Naringin มีผลต่อการตอบสนองต่อระบบประสาทซิมพาเทติกในหนูแรทความดันโลหิตสูง

วิธีการศึกษา: หนูแรทเพศผู้ได้รับแอลเนม 40 มก./กก./วัน และป้อนสาร Naringin 40 มก./กก./วัน เป็นเวลา 5 สัปดาห์ ส่วนหนูกลุ่มควบคุมได้รับน้ำดื่ม วัดความดันโลหิตและการทำงานของหลอดเลือด

ผลการศึกษา: หนูที่ได้รับแอลเนมมีความดันโลหิตสูงกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (155.95 ± 2.55 vs. 100.80 ± 1.75 มิลลิเมตรปรอท p<0.05) Naringin ป้องกันความดันโลหิตสูงที่เหนี่ยวนำโดยแอลเนม (101.87 ± 3.52 มิลลิเมตรปรอท p<0.05) การหดตัวต่อการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มที่ได้แอลเนม (p<0.05) และถูกกดในกลุ่มที่ได้ Naringin (p<0.05) การหดตัวต่อนอร์อิพิเนฟรินไม่ต่างกัน Naringin เพิ่มการตอบสนองของหลอดเลือดต่ออะซิติลโคลีน (p<0.05) ผลของ Naringin ต่อการทำงานของหลอดเลือดเหล่านี้สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของไนตริกออกไซด์ (p<0.05)

สรุป: Naringin ป้องกันความดันโลหิตสูงเหนี่ยวนำจากสารแอลเนม ที่เป็นผลมาจากการปรับปรุงการทำงานของหลอดเลือดผ่านการเพิ่มขึ้นของไนตริกออกไซด์ในหนูแรทความดันโลหิตสูงที่เหนี่ยวนำจากสารแอลเนม

Background and Objective: Naringin is a flavonoid. The beneficial effects of naringin have been reported including anti-oxidation and anti-inflammation. This study investigated whether naringin could reduce sympathetic nerve-mediated contractile responses in hypertensive rats.

Methods: Male Sprague-Dawley rats were treated with L-NAME 40 mg/kg/day and orally administered with naringin 40 mg/kg/day for five weeks while control rats received distilled water. Blood pressure and vascular function were measured.

Result: Rats received L-NAME had higher blood pressure (155.95 ± 2.55 vs. 100.80 ± 1.75 mmHg) compared to those of control group (p<0.05). Naringin prevents the development of hypertension induced by L-NAME (101.87 ± 3.52 mmHg, p<0.05). Contractile responses to electrical field stimulation (EFS) in mesenteric vascular beds was enhanced in L-NAME group (p<0.05) and these were suppressed in the naringin treated group (p<0.05). The contractile responses to exogenous norepinephrine was not different between groups. Naringin also improved the vasorelaxation responses to acetylcholine (ACh) (p<0.05). These vascular effects of naringin were consistent with raising nitric oxide levels in hypertensive rats (p<0.05).

Conclusion: Naringin prevented the development of hypertension induced by L-NAME. These preventive effects were associated with improvement of vascular function through increasing Nitric oxide metabolites in L-NAME-induced hypertension.

Downloads

Published

2023-04-27

Issue

Section

Original Articles