การพัฒนาระบบการรายงานผลโดยอัตโนมัติ ในการตรวจวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

Authors

  • ปิยวรรณ คำแสน หน่วยจุลทรรศ์วินิจฉัย งานห้องปฎิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อนุชิน นาเจิมพลอย หน่วยจุลทรรศ์วินิจฉัย งานห้องปฎิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รุจนันท์ คะเชนทร์ชาติ หน่วยจุลทรรศ์วินิจฉัย งานห้องปฎิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

Development of Autoverification System for Complete Blood Count (CBC) Analysis

Piyawan  Kumsaen*, Anuchin Najermploy, Rujanan Kachenchat

Diagnostic microscopic laboratory, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

หลักการและวัตถุประสงค์ : การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count; CBC) เป็นรายการตรวจวิเคราะห์พื้นฐานที่มีการสั่งตรวจเป็นปริมาณมากในห้องปฏิบัติการ การที่มีปริมาณสั่งตรวจของผู้ป่วยปริมาณมาก และมีกระบวนการปฏิบัติงานหลายขั้นตอน ส่งผลให้บุคลากรเกิดภาวะเครียดและยังส่งผลให้ระยะเวลารอคอยผลการตรวจยาวนาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ จัดตั้งระบบการรายงานผลโดยอัตโนมัติ (autoverification; AV) เพื่อลดระยะเวลารอคอยผล และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

วิธีการศึกษา: ทำการศึกษาที่หน่วยจุลทรรศน์วินิจฉัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยกำหนดกฎในการคัดเลือกเพื่อเข้าสู่ระบบ AV จากนั้นตรวจสอบความถูกต้องด้วยการเปรียบเทียบผลการตรวจ slide blood smear 200 ราย  วิเคราะห์ระยะเวลารอคอยผลการตรวจ CBC ทั้งก่อนและหลังการใช้งานระบบ AV

ผลการศึกษา: พบ false negative ร้อยละ 0.5, 2.5 และ 1.0  ในกลุ่ม parameter WBC , RBC และ platelet ตามลำดับ อัตราการรายงานผล CBC โดยระบบ AV หลังจากใช้งาน 3 เดือนโดยเฉลี่ยร้อยละ 42.8 ของจำนวนการส่งตรวจ CBC ทั้งหมด ระยะเวลารอคอยผลการตรวจ CBC ลดลงจาก 43.7 นาที เหลือ 34.2 นาที ในกลุ่ม routine case และ ลดลงจาก 37.0  เหลือ 33.3 นาที ในกลุ่ม emergency case

สรุป:  การจัดตั้งระบบ AV สามารถลดระยะเวลารอคอยผลการตรวจ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยในแต่ละห้องปฏิบัติการควรมีการกำหนดเกณฑ์ให้เหมาะสม ในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง  หากมีเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย หรือองค์ความรู้ต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น

Background and Objective: The complete blood count (CBC) is the most common test in the laboratory. A lot of patients and many steps in the process lead to more staff stress and turnaround time (TAT). This study aimed to set and investigate the parameters of an autoverification (AV) system to improve the efficiency and reduce TAT.

Method: This study was conducted at diagnostic microscopic laboratory, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Set up the AV rules. Evaluate the resulting of AV rules by comparing the AV results  to the 200 manually slide blood smear tests. Compare TAT at before and after AV implementation.

Results: False negative was 0.5 %, 2.5 %, 1.0 % for parameter WBC, RBC and platelet, respectively. After the implementation AV passing rate was 42.8 %, the means TAT was decreased from 43.7 to 34.2 min in routine case and from 37.0 to 33.3 min in emergency case.

Conclusion: The AV system can not only reduce the TAT but also increase the lab working efficiency by applying the appropriate rules. In the future, the system efficiency could be continuously improved by a new knowledge and high technology.

Downloads

Published

2023-04-27

Issue

Section

Original Articles