ความสัมพันธ์ของความทุกข์ยากของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ต่อสภาพสมอง และอาการทางจิตประสาทของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช: การศึกษาวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง
Abstract
Relationship of Dementia’s Caregiver Distress to the Mental State Examination and Neuropsychiatric Symptoms of Dementia Patients Somdejphrajaotaksinmaharaj Hospital: A Cross-Sectional Analytic StudyParintat Netsuwan
Addiction and Psychiatric Department Somdejprajoataksinmaharaj Hospital
หลักการและวัตถุประสงค์: การดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมทำให้ผู้ดูแลมีความทุกข์ยาก (distress) ทั้งด้านสุขภาพจิต เศรษฐกิจ การเข้าสังคม การศึกษานี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความทุกข์ยากของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ต่อสภาพสมอง (Thai Mental State Examination: TMSE) และอาการจิตประสาท (Neuro-Psychiatric Inventory: NPI) ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ cross-sectional analytical study ในกลุ่มตัวอย่างผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกในแผนกจิตเวช รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จำนวน 73 คู่ โดยเก็บข้อมูลจากการสำรวจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมได้แก่ เพศ อายุ ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย อาการจิตประสาทของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (NPI) ความทุกข์ยากของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (Neuro-Psychiatric Inventory Distress score: NPID) และเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ได้แก่ เพศ อายุ ชนิดของสมองเสื่อมที่รับการวินิจฉัย ระยะเวลาเป็นโรคสมองเสื่อม สภาพสมองของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (TMSE) และ มาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้ multiple logistic regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีสภาพสมอง (TMSE) น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 คะแนน มีค่า OR=5.04 (95% CI 1.4-17.5) และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมที่มีอาการจิตประสาท (NPI) มากกว่า 11 คะแนน มีค่า OR=9.44 (95% CI 1.86-47.82) มีความสัมพันธ์กับความทุกข์ยากของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (NPID)
สรุป: สภาพสมองของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (TMSE) ที่อาการรุนแรงมากขึ้น และอาการจิตประสาทของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (NPI) ที่มากขึ้น มีความสัมพันธ์กับความทุกข์ยากของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
คำสำคัญ: ผู้ดูแล, ความทุกข์ยาก, แบบประเมินอาการจิตประสาทของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม (NPI)
Abstract
Background and Objective: Caring for a dementia patient can become dementia caregiver distress including the caregiver’s mental health, family’s economics, and socialization of caregivers. The objective is to find a relationship between a dementia’s caregiver distress to the Thai mental state examination (TMSE) and the Neuropsychiatric inventory scale (NPI) of dementia patients
Methods: A cross-sectional analytic study in 73 dyads relationship of dementia caregivers and dementia patients in outpatient Somdejprajoataksinmaharaj Hospital. Collected data by surveying 1.A dementia caregiver about gender, age, patient relation, patient’s care duration, NPI, and Neuropsychiatric Inventory Distress scale (NPID) 2.A dementia patient about gender, age, type of dementia, the onset of dementia, and TMSE were analyzed in relation with multiple logistic regression.
Results: The TMSE of dementia patients is less than or equal to 16 points has an odd ratio of 5.04 (95% CI 1.4-17.5) and the NPI of dementia patients is more than 11 points has an odd ratio of 9.44 (95% CI 1.86-47.82) both were related to dementia’s caregiver distress.
Conclusions: Lower TMSE and higher NPI of dementia patients relate to dementia’s caregiver distress.
Keywords: caregiver, distress, neuropsychiatric inventory for dementia (NPI)
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.