การพัฒนารูปแบบสนับสนุนครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่นติดยาและสารเสพติดในชุมชน
Abstract
Development of a Family Support Model for Families of Adolescence with Illicit Drug Use in the Community
Chakrawal Hanchai
Kumpawapi Hospital, Kumphawapi District, Udon Thani Province
หลักการและวัตถุประสงค์: การศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่นติดยาและสารเสพติดในชุมชนโรงพยาบาลห้วยเกิ้ง เพื่อมุ่งเน้นที่การสนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลผู้ติดสารเสพติด
วิธีการศึกษา: เปรียบเทียบผลการศึกษาในเรื่อง ภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต ทัศนคติต่อผู้ใช้สารเสพติด และการทำหน้าที่ของครอบครัว ภายในและระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครที่เป็นสมาชิกครอบครัวและเป็นผู้ดูแลผู้สารเสพติด ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จำนวน 60 ราย กลุ่มตัวอย่างจะถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย การประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมมีการวัด 3 ครั้ง คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผลหลังการทดลอง 1 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมสนับสนุนครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่นติดยาและสารเสพติดในชุมชนและแบบประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม ประกอบด้วย GHQ-28, WHOQOL-BREF-THAI, FAS, FFS และคำถามเชิงโครงสร้าง เก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติ Chi square และ Repeated Measures ANOVA
ผลการศึกษา: จากผลการทดลองเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ภาวะสุขภาพ (คะแนนค่าเฉลี่ยจาก GHQ-28) คุณภาพชีวิต(คะแนนค่าเฉลี่ยจาก WHOQOL-BREF-THAI) ทัศนคติต่อผู้ใช้สารเสพติด (คะแนนค่าเฉลี่ยจาก FAS) และการทำหน้าที่ของครอบครัว (คะแนนค่าเฉลี่ยจาก FFS) ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง ภายหลังการทดลองและระยะติดตามผล มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้วยขนาดอิทธิพล (effect size) เท่ากับ 0.29, 0.29, 0.34,0.30 ตามลำดับ
สรุป: รูปแบบสนับสนุนครอบครัวสำหรับครอบครัวที่มีวัยรุ่นติดยาและสารเสพติดในชุมชนมีความเหมาะสม เพื่อช่วยเหลือสมาชิกครอบครัวที่เป็นผู้ดูแลผู้ติดสารเสพติด
คำสำคัญ: รูปแบบสนับสนุนครอบครัว, ครอบครัว, วัยรุ่น, ยาและสารเสพติด
Abstract
Background and Objectives: The effects of a family support program on family members of illicit drug users (IDUs) in terms of family members’ health status, quality of life, attitude towards IDUs and family functioning.
Methods: Study participants were 60 family members of IDUs receiving treatment at Huaikoeng Udonthani Hospital. IDUs family members were randomly assigned to either the experimental or comparison group to form a group of 30 participants. Participants engaged into the treatment condition received intervention, whereas people in control trial were treated as usual, using standard care. Participants were assessed at 3 times; baseline, post intervention, and 1 month after intervention completion. Instruments of this study included The M-TFS, GHQ-28 questionnaires, WHOQOL-BREF-THAI, FAS, and FFS. Semi-structure interview was also used. Data analyses were undertaken to obtain frequencies, percentages, means and standard deviations. Chi-square statistics and repeated measures ANOVA were performed for hypotheses testing.
Results: In comparison between the experimental and comarican goups the results showed that 1) mean health status score (CHQ-28) 2) mean quality of life score (WHOGOL-BREF-THAI) 3) mean attitude towords IDU. Score (FAS) and 4 mean family functioning scores (FFS) were all significantly lifferent with the effect sizes of 0.29, 0.29, 0.34 and 0.30, respectively.
Conclusion: The M-TFS was suitable to support family members of substance users. This program should be promoted to health professional
Keyword: development of a family support, families, adolescence, illicit drug use
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.