พฤติกรรมการบริโภคอาหารของบุคลากร ณ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • สโรชิน สมพงษ์พันธุ์ หน่วยโภชนาการ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย รหัสไปรษณีย์ 40002
  • อรัญญา อุดมเวช หน่วยโภชนาการ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ประเทศไทย รหัสไปรษณีย์ 40002

Abstract

The Food Consumption behavior among Personnel in Queen Sirikit Heart Center of the Northeast

Sarochin Sompongpun, Aranya Udomwech
Nutrition Unit Queen Sirikit Heart Center of the Northeast Department of Medicine Khon Kean University

หลักการและวัตถุประสงค์ : พฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม เป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะโรคอ้วน (Obesity) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD: Non-Communication Disease) จากข้อมูลการตรวจสุขภาพของบุคลากรศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯ ประจำปี พ.ศ. 2564 พบว่า ร้อยละ 32.86 (256 คน) มีภาวะโรคอ้วน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร้อยละของการบริโภค อาหารหวาน มัน เค็ม ในกลุ่มบุคลากร
ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ในบุคลากร ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯ

วิธีการศึกษา : การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ Google Form จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 คน ตั้งแต่ กรกฎาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2565 นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้อง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย IBM SPSS statistics version 28 กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05

ผลการศึกษา : จากการศึกษา พบว่าอัตราการตอบกลับ ร้อยละ 53.12 กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม 13 คน (ร้อยละ 26.47) และพบว่าปัจจัยด้านช่วงอายุ (OR=0.28: 95%CI, 0.09-0.89, p=0.031) และช่วงรายได้ (OR=0.33: 95%CI, 0.12-0.95 p=0.039) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม

สรุป : กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม ร้อยละ 26.47 และพบ 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคหวาน มัน เค็ม ได้แก่ กลุ่มช่วงวัย Generation Y และ Generation Z
มีความเสี่ยงในการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม มากกว่า กลุ่มช่วงวัย Baby Boomer และ Generation X ถึง
0.72 เท่า เช่นเดียวกับ ผู้ที่มีรายได้สูง มีความเสี่ยงในการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม มากกว่า ผู้ที่มีรายได้ต่อเดือนน้อย 0.67 เท่า ด้านความพึงพอใจต่อการเข้าถึงอาหารสุขภาพ ควรจัดให้มีการจำหน่ายเครื่องดื่มที่สามารถเลือกระดับความหวาน หรือไม่หวาน ในบริเวณสถานที่ปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น 

คำสำคัญ : พฤติกรรมการบริโภค, หวาน มัน เค็ม, โรคอ้วน

Background and Objective: Consuming highs in sweets, fat and salt could linking with higher risk of obesity and non-communication disease. Regarding of the annual health check-up report among Queen Sirikit Heart Center of the Northeast personnel in 2022, has been shown that 32.86 percent (256 persons) are considered as obesity. Thus, this study aims to investigate the prevalence and the risk factors of consuming a high in fat, sweet and salt diet among personnel at Queen Sirikit Heart Center of the Northeast.

Method: The study was a cross-sectional descriptive study. Data were collected from 102 participants by online questionnaire (Google form) for 2 months, from July 2022 to August 2022. Checked the validity and analyzed data with IBM SPSS statistics version 28, p<0.05 was considered for statistical significance.

Result: From 102 participants conducted (53.12 percent response rate). The prevalence of sweet, fatty, and salty food consumption is 26.47 percent. There are two factors associated to sweet, fatty and salty food consumption which are a generation (OR=0.28: 95%CI, 0.09-0.89, p=0.031) and income group (OR=0.33: 95%CI, 0.12-0.95 p=0.039).

Conclusion: According to the study findings, there are 26.47 percent participants consume sweet, fatty and salty diet on this study. Additionally, there are two associated factors found. It was determined that individuals belonging to Generation Y and Generation Z are 0.72 times more likely to consume foods high in sugar, fat, and salt when compared to Baby Boomers and Generation X. Similarly, the high-income group is 0.67 times more likely to consume foods high in sugar, fat, and salt when compare to low-income group. Further study could considerate other factors beyond. Recommend on supporting low-sugar alternative beverages, promote nutrition knowledge and improve access to healthy food.  

Keywords: consumption behavior, sweet fatty and salty food, obesity

Downloads

Published

2023-04-27

Issue

Section

Original Articles