สัดส่วนของภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี หัด และสุกใส ในบุคลากรทางการแพทย์ใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Abstract
The Proportion of Hepatitis B virus, Measles, and Varicella Immunity Among New Healthcare Personnel at Faculty of Medicine Khon Kaen University, Thailand
Krittin Wipahut1, Warisa Soonthornvinit2*, Naesinee Chaiear1
1 Department of Community, Family, and Occupational Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
2 Department of Community Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University
หลักการและวัตถุประสงค์: บุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อในโรงพยาบาล ภูมิคุ้มกันต่อเชื้อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนจึงมีความจำเป็นโดยเฉพาะผู้ที่เข้าทำงานใหม่ การศึกษานี้จึงต้องการสำรวจสัดส่วนผู้มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี หัด และสุกใส ในบุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าทำงานใหม่
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง ประชากรศึกษาคือบุคลากรทางการแพทย์เข้าทำงานใหม่ ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสืบค้นข้อมูลเวชระเบียนการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานในช่วง 1 ต.ค. 2561 - 31 ต.ค. 2564 ได้แก่อายุ เพศ อาชีพ ภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี หัดและสุกใส วิเคราะห์และแสดงผลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และพิสัยควอไทล์
ผลการศึกษา: บุคลากรที่ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน พ.ศ. 2561-2564 มีจำนวน 2,156 ราย เป็นเพศชายปีละ144-192 ราย หญิง 301-459 ราย มัธยฐานอายุ 24-26 ปี พิสัยควอไทล์ 5-6 ปี ประกอบอาชีพแพทย์มากที่สุดร้อยละ 30.4-42.2 รองลงมาได้แก่พยาบาลร้อยละ 13.5-30.6 สัดส่วนเฉลี่ยของผู้มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีได้แก่ร้อยละ 66.8 หัดร้อยละ 66.7 และสุกใสร้อยละ 91.6 โดยพนักงานการแพทย์ พยาบาล และแพทย์เป็นอาชีพที่มีจำนวนผู้ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี และหัดมากที่สุด
สรุป: บุคลากรทางการแพทย์ผู้เข้าทำงานใหม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีและหัดน้อยลง เป็นความเสี่ยงสำคัญที่ควรตรวจสอบก่อนเข้าทำงานเพื่อดำเนินการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันดังกล่าวให้ครอบคลุม
คำสำคัญ: ภูมิคุ้มกัน, บุคลากรทางการแพทย์, ไวรัสตับอักเสบบี, หัด, สุกใส
Abstract
Background and Objective: Immunization for preventable diseases was necessary, especially for new healthcare personnel (HCP) who were at risk of nosocomial infection. Therefore, this study aimed to explore the proportions of Hepatitis B virus (HBV), Measles, and Varicella (VZV) immunity of new HCP.
Methods: This research was a retrospective descriptive study. The study population was newly employed HCP of the Faculty of Medicine, Khon Kaen University. The data collected from the preplacement examination program between 1 October 2018 to 31 October 2021 included age, sex, occupation, immunity to HBV, Measles, and VZV. The information was described as number, percentage, average, median, and interquartile range (IQR).
Results: Two thousand, one hundred and fifty-six HCP attended the preplacement examination program through 2018-2021. One hundred and forty-four to 192 were males, and 301-459 were females. Their median age was 24-26 years, and IQR was 5-6 years. The first and second largest occupations were physician 30.4-42.2% and nurse 13.5-30.6%. The average proportion of HBV immunity was 66.8%, Measles immunity was 66.7%, and VZV immunity was 91.6%. The greatest number who had inadequate HBV and Measles immunity were medical assistants, nurses, and physicians occupations.
Conclusion: New HCP had lower HBV and Measles immunity protections. These critical risks should assess before work and promote their coverage.
Key word: immunity, health care personnel, Hepatitis B, Measle, Varicella
Downloads
Published
Issue
Section
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.