การตอบสนองต่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจบกพร่อง: ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลและการดูแลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

Authors

  • เกียรติวรรณ การสะอาด สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วาสนา รวยสูงเนิน สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สัญพิชา ศรภิรมย์ ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

Dysfunctional Ventilatory Weaning Response: Nursing Diagnosis and Evidence-based Care Plan for Patients Undergoing Open Heart Surgery

Kiattiwan Kansaard1*2, Wasana Ruaisungnoen1, Sanpicha Sornpirom2

1 Adult Nursing Department, Faculty of Nursing, Khon Kaen University

2Nursing Service Division, Faculty of Medicine Khon Kaen University

บทคัดย่อ

            ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดส่วนใหญ่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจหลังกลับจากห้องผ่าตัดและเข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก การเฝ้าระวังติดตามอาการและอาการแสดงที่บ่งชี้ภาวะการตอบสนองต่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจบกพร่อง (dysfunctional ventilatory weaning response; DVWR) อย่างใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกัน DVWRและส่งเสริมความพร้อมต่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจนานหรือการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำภายใน 48 ชั่วโมง บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรายละเอียดของปัญหา DVWR อาการและอาการแสดง รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด นอกจากนี้ บทความนำเสนอการดูแลตามหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อป้องกันปัญหา DVWR ใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนหย่าเครื่องช่วยหายใจ ระยะหย่าเครื่องช่วยหายใจ และระยะถอดท่อช่วยหายใจ รวมทั้งการนำไปใช้ในตัวอย่างกรณีศึกษาผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด 2 ราย

คำสำคัญ: การหย่าเครื่องช่วยหายใจ; ผ่าตัดหัวใจแบบเปิด; การตอบสนองต่อการหย่าเครื่องช่วยหายใจบกพร่อง; การพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์

Abstract

The majority of patients having open heart surgery were transferred to the cardiovascular-thoracic intensive care unit while having a mechanical ventilation. As a result, closed monitoring is required to identify the early warning signs and symptoms of dysfunctional ventilatory weaning response (DVWR). To minimize complications caused by prolonged intubation or 48-hour re-intubation, evidence-based nursing care is useful in preventing DVWR and promoting readiness for extubation. The purpose of this article is to describe DVWR, its symptoms and signs, and associated factors in patients who underwent open heart surgery. Additionally, the evidence-based care to prevent DVWR during pre-extubation, extubation, and post-extubation periods with implications in two open-heart case examples are included.

Key words: ventilator weaning; open heart surgery; dysfunctional ventilatory weaning response; evidence-based nursing

Downloads

Published

2023-04-27

Issue

Section

Review Article