The Application Development for Smoking Cessation Services by Community Pharmacists

Authors

  • Pawinee Saengjun
  • Chuanchom Thananithisak

Keywords:

Application, Smoking cessation services, Community pharmacists, แอปพลิเคชัน, การให้บริการเลิกบุหรี่, เภสัชกรชุมชน

Abstract

Background and Objectives:  Effective smoking cessation is one of the key strategies to reduce tobacco consumption and effective treatments. In addition, the cessation also reduces the risk of disease and premature death from smoking. With this in mind, if the smartphone is used as a portable device and easy to use to benefit the health of people, this will be an important point in increasing the value of using smartphones in health care services. Therefore, the application for smoking cessation services is very useful for community pharmacists in the digital age. For this reason, the purpose of this research was to develop the mobile application for smoking cessation services by community pharmacists.

Methods:  This was a developmental research within 8 months period from October 2016 to May 2017, consisting of the quality assessment by 3 content specialists and 3 multimedia technical experts. In this study, the 15 pharmacists were randomly assigned to evaluate prototype applications.

Results:  The results of the content specialists and multimedia technical experts showed that the overall quality of the applications were excellent level, an average mean score equaled 4.58from 5.00with a standard deviation equaled 0.42. In addition, the results of the overall quality of the prototype application were in a good level, and an average mean score equaled 4.27 from 5.00 with a standard deviation equaled 0.81. This application has remarkable features. These features are to assess the degree of nicotine addiction, choose the appropriate medicine for a particular patient, to calculate the date tracking service recipients automatically. Moreover, the system also send reminding message for the next appointment including the detail to follow up each service recipient. The application also provides real-time analysis of the service timelines in order to send information to Thai Pharmacy Network for Tobacco Control for nationwide service information.

Conclusion:  The developed application is considered of an acceptable quality. It can be used as a tool to change tobacco addicts behavior by community pharmacists. Moreover, it is more convenient and can increase the effectiveness of smoking cessation services.

การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชกรชุมชน

ภาวินี  แสงจันทร์*, ชวนชม  ธนานิธิศักดิ์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

หลักการและวัตถุประสงค์: การรักษาการติดบุหรี่ที่มีประสิทธิภาพเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญประการหนึ่ง เพื่อลดการบริโภคยาสูบและวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพนั้นนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคแล้วยังช่วยลดการสูญเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากการสูบบุหรี่ได้ทั้งนี้หากสามารถนำสมาร์ตโฟนที่เป็นอุปกรณ์พกพาและสะดวกต่อการใช้งานมาใช้ให้เกิดประโยชน์จะเป็นจุดที่สำคัญในการเพิ่มคุณค่าของการใช้สมาร์ตโฟนในด้านการทำงานเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชน ดังนั้นแอปพลิเคชันสำหรับให้บริการเลิกสูบบุหรี่จึงน่าจะเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่น้อยสำหรับเภสัชกรชุมชนในยุคสังคมดิจิตอลการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชกรชุมชน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา ซึ่งใช้ระยะเวลาพัฒนาและเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 8 เดือนนับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยการประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคมัลติมีเดีย อย่างละ 3 ท่าน และสุ่มเภสัชกรกลุ่มตัวอย่างประเมินแอปพลิเคชันต้นแบบ จำนวน 15 ราย

ผลการศึกษา: ผลการประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 จากคะแนนเต็ม 5.00 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42 และผลการประเมินคุณภาพของแอปพลิเคชันต้นแบบจากกลุ่มตัวอย่างเภสัชกรชุมชน คุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 จากคะแนนเต็ม 5.00 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.81 และแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ สามารถประเมินระดับการติดนิโคติน การเลือกจ่ายยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย มีระบบช่วยคำนวณวันติดตามผู้รับบริการให้อัตโนมัติ และมีระบบการส่งข้อความเตือนเพื่อให้เภสัชกรไม่ลืมวันนัดติดตามผู้รับบริการ พร้อมทั้งประเด็นที่ควรติดตามในผู้รับบริการแต่ละราย อีกทั้งแอปพลิเคชันยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการให้บริการแบบท่วงทันเวลา เพื่อส่งข้อมูลให้เครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมเพื่อควบคุมยาสูบ เพื่อให้ทราบข้อมูลการให้บริการในระดับประเทศ

สรุป: แอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นถือได้ว่า มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพยาสูบโดยเภสัชกรชุมชน สามารถเพิ่มความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพการให้ บริการเลิกบุหรี่ได้

References

ศิริวรรณพิทยรังสฤษฏ์, ประภาพรรณ เอี่ยมอนันต์, ปวีณา ปั้นกระจ่าง, กุมภการ สมมิตร. สรุปสถานการณ์การควบคุมการบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2555. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:

เจริญดีมั่นคงการพิมพ์; 2555.

ประกิต วาทีสาธกกิจ, กรองจิต วาทีสาธกกิจ. พิษภัยของบุหรี่ [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 28. [เข้าถึงเมื่อ

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book =28&chap=6&page=t28-6-infodetail05.html

วราภรณ์ ภูมิสวัสดิ์, จุฑามณี สุทธิสีสังข์, เนติ สุขสมบูรณ์, ปรีชา มณทกานติกุล, พนมทวน ชูแสงทอง, ศรัณย์ กอสนาม และคณะ. แนวทางการรักษาและให้คำแนะนำเพื่อเลิกบุหรี่สำหรับเภสัชกร (Smoking Cessation Guideline for Pharmacists) [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2546 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559]. เข้าถึงได้จาก:http://www.ramanhospital.com/

Buree/webBuree%20%20%206-11-52/7/nl-buree.pdf

ชวนชม ธนานิธิศักดิ์, ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักษ์พงศ์, คทา บัณฑิตานุกูล. รูปแบบ ลักษณะบริการของสถานบริการเลิกบุหรี่ในประเทศไทย. ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คู่มือการพัฒนาตนเองสู่การมีวิธีปฏิบัติที่ดีทางเภสัชกรรมในร้านยา สมาคมเภสัชกรรมชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย); 2555.

ดนิตา ภาณุจรัส, ระพีพรรณ ฉลองสุข. สำรวจการปฏิบัติงานให้บริการเลิกบุหรี่โดยเภสัชอาสาพาเลิกบุหรี่. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ2555;7:115-20.

Thananithisak C, Nimpitakpong P, Chaiyakunapruk N. Activities and perceptions of pharmacists providing tobacco control services in community pharmacy in Thailand. Nicotine & Tobacco Research 2008; 10: 921–5.

นันทวรรณ กิติกรรณากรณ์. การศึกษาเชิงคุณภาพของปัจจัยเอื้อและอุปสรรคที่มีต่อการให้บริการเลิกบุหรี่ในร้านยา : กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการประงานงานวิจัย

และนวัตกรรมเภสัชกรรมชุมชนดีเด่น 2558; 5: 72-4.

ธณรช ทิพยวงษ์, พัชรี รัตนแสง. ระบบบริการช่วยเลิกบุหรี่ในประเทศไทย. วารสารกรมการแพทย์

; 40: 94-102.

ขนิษฐา บัญชานิตยกาล, มาลินี ชลนวกุล, ศราวดี เปี่ยมระลึก. การหาแนวทางการให้บริการเลิกบุหรี่ในสถานประกอบการเภสัชกรรมชุมชน [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต]. พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2546.

Aungst TD. Medical Applications for Pharmacists Using Mobile Devices. Ann Pharmacother 2013; 47: 1088-95.

Virzi RA. Refining the test phase of usability evaluation: How many subjects is enough?. Human Factors 1992; 34: 457–68.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี; 2554.

หทัยชนก พรรคเจริญ, มาลิดา ปานทวีเดช, พรพรรณ แก้วศรีงาม, บรรพต ตีเมืองสอง, กรุณา ศรีคลัง, วรัญญา สุขวงศ์. เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและวิชาการสถิติ กลุ่มระเบียบวิธีสถิติ; [ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์].

วิลาวัลย์ อริยภูชัย, แดลดา มีแก้ว, ศิริมาตุ ศักดา, วิรัตน์ ทองรอด. การสำรวจโปรแกรมประยุกต์บนโทรศัพท์มือถือที่เกี่ยวข้องกับยาสำหรับเภสัชกรและประชาชนทั่วไป. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการประงานงานวิจัยและนวัตกรรมเภสัชกรรชุมชนดีเด่น 2558; 5: 7-17.

Downloads

Published

2018-03-31

Issue

Section

Original Articles