Client Experience at Out Patients Department in Srinagarind Hospital Faculty of Medicine KhonKaen University, Khon Kaen, Thailand. (A Pilot Study)

Authors

  • Ruenrudee Keaennak
  • Kannika Chathum
  • Nittaya Jarassaeng
  • Kannikar Yingyaun
  • Yanika Chetchotsak
  • Ratee Phromloungsri
  • Aeumporn Pimdee
  • Jetsada Sriboonlert
  • Salugchit Srimongkol
  • Tassanee Santipongsupakorn
  • Somchit Chumjan
  • Sangiam Chattrapong

Abstract

ประสบการณ์การรับบริการของผู้มารับบริการแผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (การศึกษานำร่อง)

รื่นฤดี แก่นนาค, กรรณิกา ชาธรรม, นิตยา จรัสแสง, กรรณิการ์ ยิ่งยืน, ญาณิกา เชษฐโชติศักดิ์,

ราตรี พรหมหลวงศรี, เอื้อมพร พิมดี, เจษฎา ศรีบุญเลิศ, สลักจิต ศรีมงคล, ทัศนีย์ สันติพงศ์ศุภกร,

สมจิตร์ ชุ่มจันทร์, เสงี่ยม ฉัตราพงษ์

โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์:  ประสบการณ์การรับบริการของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการบริการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่องเพื่อให้เห็นประสบการณ์ของผู้มารับบริการที่แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสู่การพัฒนาต่อไป

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษานำร่องเกี่ยวกับประสบการณ์ในการมารับบริการของผู้รับบริการแผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน 2561 กลุ่มตัวอย่างคือผู้มารับบริการที่แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอกจำนวน 160 ราย  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย  ใช้แบบสอบถามประสบการณ์ผู้ป่วยที่ปรับมาจาก   Picker ‘s Institute เป็นคำถาม 15 ข้อและ 8 มิติของการใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  โดยวิธีการให้ผู้รับบริการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย

ผลการศึกษา: พบว่าข้อคำถามที่ 1 แพทย์ให้ความรู้ความสำคัญกับการตรวจร่างกายเพื่อการวินิจฉัยโรค ได้คะแนนดีมากสูงที่สุดร้อยละ 75.63 และข้อคำถามที่ 8 การได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเรื่องการรักษา ได้คะแนนดีมากต่ำที่สุดร้อยละ 49.38

สรุป: ผลการศึกษาพบว่าประสบการณ์ของผู้รับบริการในแต่ละด้านของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนใหญ่มีประสบการณ์อยู่ในระดับดีถึงดีมากโดยด้านที่ได้คะแนนดีมากสูงสุดคือแพทย์ให้ความรู้ความสำคัญกับการตรวจร่างกายเพื่อการวินิจฉัยโรค

Purpose and Objectives: The experiences that clients receive is an important field of study in order to improve hospital care.  The purpose of this study is to evaluate patient experiences in the outpatient department of the Srinagarind Hospital.  This initial study hopes to set the stage to explore means to improve client  experiences in the future.

Methods: This initial study to learn what clients experience when they receive services from the outpatient department of Srinagarind Hospital was conducted in June 2018.  The focus group consisted of 160 clients who received services from the outpatient department.  They responded to a questionaire form that was adjusted from a sample questionaire from Picker’s Institute.  The questionaire was made up of 15 questions and 8 parts using patients as the central focus.  The clients responded to the questions on their own and responses were evaluated using the   percentage and averaging the results of each question.

Results: We discovered from the first question that doctors were rated very high in providing important information regarding their physical examinations 75.63%.  The 8th question revealed that  clients  rated very low of a high level of satisfaction in having a part in deciding how they will receive further treatment 49.38%.   . 

Summary: Results of this initial study revealed that the experiences of patients in this focus group were rated at level good and very good. The first question that doctors were rated very high in providing important information regarding their physical examinations.


References

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ( 2560-2564). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนัก; 2560.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2557 เล่มที่ 19. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; 2557.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2558 เล่มที่ 35. ขอนแก่น: โรงพยาบาล.; 2558.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2559 เล่มที่ 36. ขอนแก่น: โรงพยาบาล.; 2559.

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. เสียงสะท้อนผู้ป่วย เสียงสะท้อนคุณภาพ. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย : WHO Patients for Patient Safety; 5-16 สิงหาคม 2557; นนทบุรี.

พรชัย ดีไพศาลสกุล. ความคาดหวัง และการรับรู้ของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการโรงพยาบาล. Veridian E-J ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ 2556; 6: 573–92.

วรวรรณ สโมสรสุข, ดานพวรรณ คูณค้ำ, นฤมล กาญจนลักษณ์. การศึกษาความคาดหวังและ ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการให้บริการศูนย์หัวใจธรรมศาสตร์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2556.

Picker Institute. The Picker Institute implementation manual. Boston: Picker Institute; 1999.

ดวงสมร บุญผดุง, วราภรณ์ สักกะโต, ชาญณรงค์ วงค์วิชัย. รายงานโครงการการศึกษาประสบการณ์ของผู้ป่วยและญาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2557.

Downloads

Published

2018-07-29

Issue

Section

Conference-symposium