Comparison of Bactericidal Efficacy between Ethanol- and Clorox®-containing Disinfectants in Laboratories

Authors

  • Phonlawat Janpiw

Keywords:

Ethanol, Clorox®, time-based manner, bactericidal activity, ระยะเวลาในการฆ่าเชื้อ, การฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

Abstract

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของสารผสมระหว่าง Ethanol และ Clorox® ในห้องปฏิบัติการ

พลวัฒน์ จันทร์ผิว

คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย 20131

หลักการและวัตถุประสงค์: Ethanol และ Clorox® เป็นสารเคมีที่นิยมนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในห้องปฏิบัติการ แต่อย่างไรก็ตามสารเคมีทั้งสองนั้นมีข้อจำกัดบางประการ โดย Ethanol มีคุณสมบัติในการระเหยง่าย ในขณะที่ Clorox® นั้นมีฤทธิ์กัดกร่อนเมื่อใช้ที่ความเข้มข้นสูงจะทำให้ระคายเคืองต่อผู้ใช้ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายในการหาความเข้มข้นน้อยที่สุดของ Clorox® ที่ยังคงประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้สูง และเพื่อศึกษาคุณสมบัติการทำงานร่วมกันของสารผสม Clorox® กับ Ethanol ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

วิธีการศึกษา: ศึกษาสารเคมี 5 สูตร คือ 2%Clorox®, 4%Clorox®, 2%Clorox® ผสมกับ 70%Ethanol, 4%Clorox®  ผสม 70%Ethanol และ 70%Ethanol โดยใช้วิธี disc diffusion method รวมถึงศึกษาระยะเวลาและการฆ่าเชื้อเสมือนจริง โดยใช้แบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ คือ Staphylococcus aureus (S. aureus), Escherichia coli (E. coli) และ Bacillus cereus (B. cereus)

ผลการศึกษา: สารเคมีทั้ง 5 สูตรมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อได้ทั้ง 3 สายพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% (p<0.05) เมื่อเทียบกับน้ำกลั่น โดยสูตรฆ่าเชื้อที่ดีที่สุด 2 สูตร คือ 2%Clorox® ผสม 70%Ethanol และ 4%Clorox® ผสม 70%Ethanol ซึ่งมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% (p≥0.05) และสารเคมีทั้ง 5 สูตรฆ่าเชื้อได้ทั้งหมดที่นาทีที่ 0

สรุป: สารเคมีทั้ง 5 สูตรมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ โดยเลือกใช้ 2%Clorox® ผสม 70%Ethanol เพราะใช้ Clorox® ความเข้มข้นต่ำ ลดการเกิดเชื้อดื้อยาและลดการระคายเคืองต่อผู้ใช้ แต่อย่างไรก็ตาม ควรแช่วัสดุอุปกรณ์ก่อนทำความสะอาด 10 นาที เพื่อให้สารเคมีฆ่าแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Background and Objective: Ethanol and Clorox® are chemicals used worldwide for disinfectant purposes in laboratories. However, there are some limitations of these chemicals; Ethanol is highly volatile, thus decreasing bactericidal activity, while Clorox® is corrosive and exposure to high concentration might cause severe irritation. In this study, we aim to determine the minimum concentration of Clorox® that still have bactericidal properties and to study the synergistic bactericidal properties of the mixture of Clorox® and Ethanol.

Methods: Five different conditions were used in this study; 2%Clorox®, 4%Clorox®, 2%Clorox® mixed with 70%Ethanol, 4%Clorox® mixed with 70%Ethanol, and 70%Ethanol. Bactericidal activities were evaluated against three bacteria species, S. aureus, E. coli and B. cereus, by Disc Diffusion Method. The onset and duration of sterilization were also observed in a time-based manner.

Results: The results revealed that bactericidal activities of all 5 conditions were significantly different when compared with negative control (p <0.05). The combination of 2%Clorox® mixed with 70%Ethanol and 4%Clorox® mixed with 70%Ethanol showed the best bactericidal activity. This study also found that all conditions, except 70%Ethanol, showed 100% bactericidal activity at 0 minute.

Conclusion: To ensure the high bactericidal efficacy, it is necessary to treat laboratory equipment for 10 minutes before cleaning. The mixture of 2%Clorox® and 70%Ethanol might be the best choice, considering the safety of using low concentration of Clorox® and prevention of bacterial resistance by using chemical combination.

References

กำธร มาลาธรรม. หลักการควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. ใน : พรรณทิพย์ ฉายากุล, ชิษณุ พันธุ์เจริญ, ชุษณา สวนกระต่าย และคณะ. ตำราโรคติดเชื้อ. เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย, 2548

เจษฎา นพวิญญูวงศ์, ชญานิศ ศรชัยธวัชวงศ์, จรรยา ศรีแสงจันทร์, สริน ทัดทอง และ อมรรัตน์ วิริยะโรจน์. ความคงตัวทางเคมีของแอลกอฮอล์ 70% หลังเปิดใช้. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29: 282-6.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวทางการกำจัดขยะติดเชื้อไวรัสอีโบลา. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560 จาก http://nih.dmsc.moph.go.th/ebola/file/EbolaDMSc_04_1_Oct_2014.pdf

เมธินี ลักษมีการค้า, รุจิดา วิไลรัตน์, ธฤษิดา ปัญโญศักดิ์. ประสิทธิภาพของแอลกอฮอล์เจลและสารละลายแอลกอฮอล์ในการฆ่าเชื้อจุลชีพ. เวชสารแพทย์ทหารบก 2557; 67: 21-8.

Nweze EI, Mukherjee PK, Ghannoum MA. Agar – based disk diffusion assay for susceptibility testing of dermatophytes. Journol of Clinical Microbiology 2010; 48:3750-2.

Morton HE. Alcohols. In: Block SS, editor. Disinfection Sterilization and Preservation. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1983: 225-39.

Moore SL, Payne DN. Types of antimicrobial agents. In: Fraise AP, Lambert PA, Maillard JY, editors. Principles and Practice of Disinfection Preservation and Sterilization. 4thed. Oxford: Blackwell Publishing, 2004: 8-97.

Rotter ML. Alcohols for Antisepsis of Hand and Skin. In: Ascenzi JM, editor, Handbook of Disinfectants and Antiseptics. New York: Marcel Dekker, 1996: 177-234.

ศันสนีย์ กระแจะจันทร์. การสำรวจความชุกโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลมะการักษ์ พ.ศ. 2544. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย 2544; 13: 2-11.

ศิริลักษณ์ ธีระภูธร, ฆนรส จ่างคำ, ปนัดดา เจิมศรี และ วันวิสาข์ ตรีบุพชาติสกุล. ประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราและการขจัดคราบเลือดบนเครื่องแก้ว. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2555; 40: 4029-41.

ณัฐมน นิยมเดชา, ทิทยุต วงษาเนาว์, นริศรา มังกรแก้ว. เปรียบเทียบการออกฤทธิ์ของคลอเฮกซิดีนกลูโคเนตความเข้มข้น ร้อยละ 2 และร้อยละ 4 ในแอลกอฮอล์ต่อการทำลายเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ที่ไวและดื้อต่อยาเมทิซิลินในห้องปฏิบัติการ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2559; 28: 220-6.

นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ, ปรีชา สุวรรณพินิจ. ลักษณะและโครงสร้างละเอียดของแบคทีเรีย. จุลชีววิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แหจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541: 42-73.

Downloads

Published

2019-02-20

Issue

Section

Original Articles