Knowledge Status of Medical Education in Thailand: A Research Based Study

Authors

  • Worasit Charoensin
  • Chaiyakit Udnan
  • Supachai Nathongchai
  • Thanawan Kaewkong
  • Nattaya Kaewma
  • Chindalha Bunmee

Keywords:

Knowledge Status, Medical Education, Research, Knowledge, Medical Education Database, สถานภาพความรู้, แพทยศาสตรศึกษา, งานวิจัย, องค์ความรู้, ฐานข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษา

Abstract

สถานภาพความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาในประเทศไทย: การศึกษาโดยใช้งานวิจัยเป็นฐาน

วรสิทธิ์ เจริญศิลป์, ชัยกิจ อุดแน่น, ศุภชัย นาทองไชย, ธนวรรณ แก้วคง, นาฏยา แก้วมา, จินดาหรา บุญมี

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

หลักการและวัตถุประสงค์: เนื่องจากความหลากหลายของขอบเขตองค์ความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาที่ยังไม่มีการสังเคราะห์อย่างเป็นหมวดหมู่ จึงส่งผลให้องค์ความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาของประเทศไทย มีปริมณฑลการเรียนรู้อยู่ในพื้นที่สีเทาและไม่มีขอบเขตการศึกษาที่ชัดเจน การศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาในประเทศไทยและนำเสนอแนวโน้มความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาในอนาคต

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยด้านแพทยศาสตรศึกษาจาก “ฐานข้อมูลด้านแพทยศาสตรศึกษาไทย” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 – 2560 จากนั้น จึงนำงานวิจัยมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและนำเสนอผลการศึกษาผ่านการพรรณนาเชิงสถิติและการวิเคราะห์เชิงพรรณนา

ผลการศึกษา: จากผลงานวิจัยจำนวน 988 เรื่อง สามารถวิเคราะห์สถานภาพความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาในประเทศไทยออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ (1) การพัฒนาการเรียนการสอน จำนวน 428 ผลงาน (ร้อยละ 43.32) (2) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ จำนวน 332 ผลงาน (ร้อยละ 33.60 ) (3) คุณภาพชีวิตของนักศึกษาแพทย์ จำนวน 100 ผลงาน (ร้อยละ 10.12) (4) การบริหารการศึกษา การพัฒนามาตรฐานทางการศึกษาและกิจกรรมส่งเสริมนักศึกษาแพทย์ จำนวน 71 ผลงาน (ร้อยละ 7.19) (5) นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวน 32 ผลงาน (ร้อยละ 3.23) (6) โรงพยาบาลชุมชนกับแพทยศาสตรศึกษา จำนวน 14 ผลงาน (ร้อยละ 1.42) (7) ระเบียบวิธีวิจัยของงานวิจัยด้านแพทยศาสตรศึกษา จำนวน 6 ผลงาน (ร้อยละ 0.61) และ (8) การคงอยู่ในระบบราชการของนักศึกษาแพทย์ จำนวน 5 ผลงาน (ร้อยละ 0.51) ในขณะที่แนวโน้มความรู้ด้านแพทยศาสตรศึกษาในอนาคต มี 4 ประเด็น ได้แก่ (1) เครื่องมือนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอน (2) ห้อง Simulations กับแพทยศาสตรศึกษา (3) การสร้างเสริมประสบการณ์ความเป็นแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนและ (4) การพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

สรุป: การศึกษานี้จะช่วยเติมเต็มองค์ความรู้รากฐานทางแพทยศาสตรศึกษาของประเทศไทยให้มีความเข้มแข็ง รวมทั้ง บุคลากรที่เกี่ยวข้องจะเข้าใจบทบาทของแพทยศาสตรศึกษามากขึ้นและสามารถผลิตงานวิจัยที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของระบบโลกาภิวัฒน์และสังคมได้

 

Background and objective: Due to the diversity of knowledge scope in medical education in Thailand, there is no clear to be categoried. Therefor, the knowledge of medical education have lives in gray area and no clear scope. This study aimed to study knowledge status of medical education in Thailand and purpered medical education trends for the future.

Method: Descriptive research was used and research papers were collected from “Thai Medical Education Database” from 2000 to 2017. Then research papers were context analysis and presented with descriptive statistic and descriptive analysis.

Result: From 988 published articles the knowledge status of medical education in Thailand could be categorizrd into 8 groups (1) Instructional development has 428 articles (43.32 %), (2) Learning measurement and evaluation has 322 articles (33.60 %), (3) Quality of medical student’s life has 100 articles (10.12 %), (4) Management, educational standards development and medical students activity has 71 articles (7.19 %), (5) Innovation for education has 32 articles (3.23%), (6) Community hospital and medical education has 14 articles(1.42%), (7) Research methodology on medical education has 6 articles (0.61%) and (8) Retention in bureaucracy of mediacal students has 5 articles (0.51%) While medical education trends for the future has 4 topics; namely (1) Tool innovation for instruction, (2) Simulations room and medical education, (3) Enhancing the experience of being a doctor in a community hospital. and (4) Developing a curriculum that responds to social change.

Conclusion: This study will complement the grounded of medical education in Thailand to be strengthened and stakeholder will understand more about the role of medical education. It can produce research that is consistent with the changes of globalization and society.

References

Swanwick T, editor. Understanding medical education: evidence theory and practice. London: Wiley-Blackwell, 2010.

วัลลี สัตยาศัย. แพทยศาสตรศึกษาคืออะไร. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2556;13: 8-9.

Lateef F. Simulation-based learning: Just like the real thing. J Emerg Trauma Shock 2010; 3: 348-52.

Neeley SM, Clyne B, Resnick-Ault D. The state of leadership education in US medical schools: results of a national survey. Med Educ Online 2017; 22: 1-4.

Jeffries WB, Huggett KN, editors. An introduction to medical teaching. London: Springer, 2010.

Walsh K, editors. Oxford textbook of medical education. Oxford: Oxford university press, 2013.

Rizwan M, Rosson NJ, Tackett S, Hassoun HT. Opportunities and challenges in the current era of global medical education. IJME 2018; 9: 111-12.

Crone RK, Samaan JS. The globalization of medical education. Innovations in Global Medical and Health Education 2013; 2: 1-5.

Norman G. Medical education: past, present and future. Perspect Med Educ 2012; 1: 6-14.

Maniate JM. Trends and opportunities in medical education: Aligning to societal needs and expectations. Archives of Medicine and Health Sciences 2017; 5: 154-56.

ศุภวรรณ สัจจพิบูล. แนวคิดการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร 2560; 37: 203-22.

Downloads

Published

2019-02-21

Issue

Section

Original Articles