Patients’ Quality of Life after Open-Heart Surgery

Authors

  • Prawpan Suwanakitch
  • Sipapon Suwanlumpha
  • Nopparat Krongphaiklang
  • Worapong Samer
  • Watchara Kaemahanin
  • Jaran Sayasatit

Abstract

คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

แพรวพรรณ  สุวรรณกิจ1*, ศิภาพร สุวรรณลำภา1, นพรัต กรองไผ่กลาง1, วรพงศ์  เสมอ1, วัชรา แก้วมหานิล1, จรัญ  สายะสถิตย์2

1ภาควิชาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 65000

2ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 65000

*ผู้รับผิดชอบบทความ

หลักการและวัตถุประสงค์:        การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยการผ่าตัดและใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมเป็นวิธีสุดท้ายที่มีประสิทธิภาพ  โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 แต่ขาดข้อมูลผลการติดตามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว  ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังเข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมากกว่า 5 ปี

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง  เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560ของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2549 ถึง  2555 ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 58 ราย โดยสัมภาษณ์ผู้ป่วยที่มาตามนัดหรือสอบถามทางโทรศัพท์ แบบสอบถามประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนตัว แบบบันทึกคุณภาพชีวิต (WHOQOT-BREF-THAI) และแบบสอบ ถามเพื่อคัดกรองภาวะซึมเศร้า (2Q9Q)

ผลการศึกษา: คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและโดยรวมของกลุ่มผู้ป่วยทำทางเบี่ยงหัวใจ กลุ่มผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กลุ่มผู้ป่วยซ่อมลิ้นหัวใจและกลุ่มผู้ป่วยหัวใจพิการแต่กำเนิดแปลค่าอยู่ในระดับดี )112.17±6.01, 113.84±8.69, 113.20±16.93, 113.57±9.39  ตามลำดับ)   คุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยทุกกลุ่มอยู่ในระดับดี

สรุป: ทีมสหวิชาชีพควรวางแผนดูแลผู้ป่วยทั้งก่อน ขณะ และหลังผ่าตัด ตลอดจนให้ความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านเพื่อให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี 

Background and objective:  Heart surgery and applying heart-lung machine are the last effective treatment for curing patients with cardiovascular diseases.  Naresuan university hospital has conducted open-heart surgery since 2012. However, there was lacking of long term followed up information on patients’ quality of life. Therefore, this study aimed to study the quality of life of post-open heart surgery patients over 5 years. Method:  This was a cross-sectional study.  The data were collected during October to November 2017 from 58 post-open heart surgery patients at Naresuan universiry hospital, Phitsanulok province who visited the doctors by appointment and those who did not visit by telephone. The questionnaires consisted of the basic information of patients, quality of life (WHOQOT-BREF-THAI) and depression screening (2Q9Q).

Results:  The quality of health and overall quality of life of bypass surgery patients, valve replacement patients valve repair patients and congenital patients were at good level )112.17±6.01, 113.84±8.69, 113.20±16.93, 113.57±9.39, respectively).  Other quality of life such as the physical, mental, social and environmental aspects of all patients were at good level.

Conclusion: The multidisciplinary team should plan patient care before, during and post open-heart surgery including the knowledge of self-care for post-open heart patients’ good quality of life.

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ. สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด ปี 2559. [สืบค้นเมื่อ 03/08/2018]. แหล่งเข้าถึง http://www.thaincd.com/

แพรวพรรณ สุวรรณกิจ. เครื่องหัวใจและปอดเทียม: หลักการและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2561.

สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย. สถิติผ่าตัดหัวใจโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนใน

ประเทศไทยปี 2559. [สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561]. แหล่งเข้าถึง http://thaists.org/news_detail.php?news_id=212.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ,

ราณี พรมานะรังกุล. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL- BREF–THAI). [สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561]. แหล่งเข้าถึง https://www.dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf.

กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า. [สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561]. แหล่งเข้าถึง https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnxkcndyb

fGd4OjFjMWNkOTc5ZWM1ZDMwYTI.

Heart online. New York Heart Association (NYHA) Classification. [สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561]. แหล่งเข้าถึง http://www.heartonline.org.au/media/DRL/New_York_Heart_Association_(NYHA)_classification.pdf.

Almassi GH, Schowalter T, Nicolosi AC, Aggarwal A, Moritz TE, Henderson WG, et al. Atrial fbrillation after cardiac surgery. Ann Surg 1997; 226: 501-13.

แพรวพรรณ สุวรรณกิจ, ฐานิตา มั่นมี, ทิพย์รัตน์ อัครศารทูล, อลิษา คุ้มแพทย์, วัชรา แก้วมหานิล, เจษฎา เมธรุจภานนท์. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. พุทธชินราชเวชสาร 2555; 26: 36-43.

จรัญ สายะสถิตย์, ธงวิไล กันทะสอน, ภาวินี เภารอด, วันดี เครือยา, สุวรรณา ภู่ทิม. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. พุทธชินราชเวชสาร 2552; 26: 216-28.

ธิวาสา ลีวัธนะ, แสงอรุณ อิสระมาลัย, ช่อลดา พันธุเสนา. ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551; 26: 141-50.

เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, อุมาพร อุดมทรัพยากุล. ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2554; 56: 103-16.

Downloads

Published

2019-04-01

Issue

Section

Original Articles