Effectiveness of Health Promotion Program for Patients with Diabetes Mellitus at Baan Nongnasang Community, Roi Et Province

Authors

  • Thunyaluk Thangtumpitak

Keywords:

health promotion program, health promoting behavior, patients with diabetes mellitus, โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวาน

Abstract

ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบ้านหนองนาสร้าง จังหวัดร้อยเอ็ด

ธัญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์

กลุ่มวิชาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด  จังหวัดร้อยเอ็ด 45120

หลักการและวัตถุประสงค์: โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสําคัญและซับซ้อนซึ่งต้องการรูปแบบการดูแลที่มีความเฉพาะ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบ้านหนองนาสร้าง จังหวัดร้อยเอ็ด

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษากึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 20 ราย กลุ่มเดียววัดก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพที่ประยุกต์ใช้แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน ใช้วิธีการบรรยายประกอบสื่อสไลด์ การฉายวีดีทัศน์ การเสนอตัวแบบด้านดี การสาธิตฝึกปฏิบัติ คู่มือการดูแลตนเอง และการอภิปรายกลุ่ม รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและแบบวัดความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่า CVI เท่ากับ 0.82 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test

ผลการศึกษา: พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ หลังได้รับโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ (M=4.21, SD=0.42) ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพดีขึ้นกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ (M=2.64, SD=0.76) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = 24.10,  p<.001)มีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) หลังเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพ

สรุป:โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพมีผลทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่ดีได้

Background and Objective: The Diabetes mellitus is chronic disease and  a crucial problem among patients and need specific model  for  caring. The purpose of this quasi–experimental research was to study effectiveness of health promotion programe for patients with Diabetes Mellitus at Baan Nongnasang community, Roi Et  Province

Methods: The sample consisted of 20 diabetics. The program was applied from Pender’s health promotion model. The experimental group had  health promotion program. The duration of program implementation was 12 weeks. The instruments used in this research were health promotion program based on Pender’s concept. The methods used were a visual slide display, a good model presentation, a training demonstration, a self-caring handbook, and focus group. instrument consisted of questionnaire about health promoting behaviors. It was validated with CVI of 0.82 , The Cronbach’s alpha reliability was 0.84. The collected data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and paired t-test.

Results:  The study results were as follows : After the health promoting behavior program, the Patients DM had better health behaviors than before the health promoting behavior program with statistically significant ( t = 20.10, p<.001).The Mean of FBS was decrease after the  program.

Conclusions:  The program had increased positive health promoting behavior.

References

Shaw JE, Sicree RA, Zimmet PZ. Global estimates of the prevalence of diabetes for 2010 and 2030. Diabetes Res Clin Pract 2010; 87: 4–14.

King H, Aubert RE , Herman W. Global burden of diabetes, September 1995- 2025: Prevalence, numerical estimates, and projections. Diabetes Care 1998; 21: 141-3.

Cryer PE. Hypoglycaemia: The limiting factor in the glycemic management of Type I and Type II. Diabetologia 2002; 45: 937–48.

ราม รังสินธุ์, ปยทัศน์ ทัศนาวิวัฒน์.การประเมินผลการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครประจําปี2555. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2555.

Pender NJ, murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 6 th ed USA: Pearson practice Hall; 2011.

จุฬาลักษณ์ บารมี. สถิติเพื่อการวิจัยทางสุขภาพและการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS .

ชลบุรี: ศรีศิลปะการพิมพ์; 2551.

เพ็ญศรี พงษป์ระภาพันธ์, สุวมิล แสนเวียงจันทร์, ประทีป ปัญญา. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2555; 22 : 100-11.

Best John. Research in Education.New Jersey: Prentice Hall, Inc.1977;190.

สมจิตร์ นคราพานิช. ผลของโปรแกรม การเสริมสร้างพลังอำนาจในการส่งเสริมสุขภาพต่อ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการออกกาลังกาย และภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2555; 26: 32-50.

เทพสุดา รุ่งสาง, สุรีย์ จันทรโมลี, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, มยุนา ศรีสุภนันท์. ประสิทธิผลโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและกระทรวงสาธารณสุขภาคใต้. 2561; 5: 30-45.

เสนะ นพโสภณ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์ 2559; 30: 161-71.

กรรณิการ์ เชิงยุทธ์ นงนุช โอบะ ธนกร ลักษณ์สมยา. ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2555; 6: 110-121.

Downloads

Published

2019-05-08

Issue

Section

Original Articles