Nutritional Status Evaluation in Surgical and Orthopedics Patients, Srinagarind Hospital: 3B ward

Authors

  • Jitaree Tantiyasawatdikul
  • Bantita Jadnok
  • Sarunya Tijana
  • Tarinee Phetcharat

Keywords:

Nutritional status, screening, surgical patients, 3B ward Srinagarind Hospital, ภาวะโภชนาการ, การคัดกรอง, ผู้ป่วยศัลยกรรม, หอผู้ป่วย 3ข, โรงพยาบาลศรีนครินทร์

Abstract

การประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยใน แผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์: หอผู้ป่วย 3ข

จิตอารีย์ ตันติยาสวัสดิกุล1,บัณฑิตา จาดนอก1, ศรัญญา ติจะนา1, ธารินี เพชรรัตน์2

1หอผู้ป่วยศัลยกรรม 3ข 2แผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์

หลักการและวัตถุประสงค์ : การประเมินภาวะโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญทั้งในระยะก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัด ช่วยส่งเสริมการหายของแผล ระบบภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อ ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายในการรักษา การคัดกรองภาวะโภชนาการของผู้ป่วยศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ (3ข) จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแนวทางการรักษาพยาบาลของทีมสหวิชาชีพ

วิธีการศึกษา :เป็นการศึกษาเชิงบรรยาย เพื่อประเมินภาวะโภชนาการผู้ป่วยหอป่วย 3ข แผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ ในปี พ.ศ. 2557-2558 จำนวน 86 ราย โดยใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบคัดกรองภาวะโภชนาการ และ 3) แบบประเมินภาวะโภชนาการซึ่งประกอบด้วย เส้นรอบกึ่งกลางแขน (Mid-Arm Circumference; MAC) ความหนาไขมันใต้ผิวหนัง (Triceps Skin Fold Thickness; TSF) และความหนากล้ามเนื้อใต้วงแขน (Mid-Arm Muscle Circumference; MAMC) และ4) ผลการตรวจระดับลิมโฟไซต์ และรายงานข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 86 ราย อายุระหว่าง 22 -81 ปี  อายุเฉลี่ย 52.59 ปี ส่วนใหญ่สถานะภาพสมรสร้อยละ 90.70 เป็นเพศหญิงร้อยละ 55.81 รับประทานอาหารธรรมดาร้อยละ 70.93 และ ไม่มีปัญหาช่องปากร้อยละ 87.21 จากการสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทุพโภชนาการคิดเป็นร้อยละ 12.79 ซึ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 45.45 รองลงมาเป็นโรคมะเร็ง ร้อยละ 36.36  ผลการประเมินภาวะทุพโภชนาการของผู้ป่วยในด้านความหนาไขมันใต้ผิวหนัง (TSF)  ความหนากล้ามเนื้อใต้วงแขน (MAMC) และระดับลิมโฟไซต์ พบว่ามีผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับรุนแรงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ คิดเป็นร้อยละ 36.36, 9.09  และ 36.36 ตามลำดับ

สรุป:  ผลการศึกษาการประเมินภาวะโภชนาการในหอผู้ป่วย3ข แผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์พบมีภาวะทุพโภชนาการสูงโดยเฉพาะผู้ป่วย ในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดและโรคมะเร็งโดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพช่องปากและการรับประทานอาหาร

Background and objectives: Nutritional status evaluation are important factors  before, during, and after operation, which could improve wound healing, increase immune system, reduce infection, reduce length of stay in hospital, and reduce the cost of hospitalization. Screening of nutritional status of patients in surgical and orthopedics department (3B ward) could become the database for developing the guideline for treatment of interdisciplinary team.

Method: This was a descriptive study, to evaluate the nutritional status of 86 patients admitted in 3B ward during 2014-2015.The instruments used in this study consisted of 1) questionnaires of personal data 2) screening assessment of nutrition status 3) questionnaires of nutrition assessment including Mid-Arm Circumference (MAC), Triceps Skin Fold Thick (TSF), Mid-Arm Muscle Circumference (MAMC), and total lymphocyte. All data was reported as frequency, mean, and percentage.

 Results: 86 patients were recruited with aged range between 22-81 years old, mean age of 52.9 years old. 90.70% of patients were married and 55.81% of patients were female. Patients took regular diet and had no problem of oral cavity 70.93% and 87.21%, respectively. The results found that 12.79 % of patients had high risk of malnutrition, which identified as cardiovascular disease and cancer of 45.45% and 36.36%, respectively. The patients had high risks of malnutrition in terms of Triceps Skin Fold Thick (TSF), Mid-Arm Muscle Circumference (MAMC), and total lymphocytes assessment at 36.36%, 9.09%, and 36.36%, respectively.

Conclusion: Screening nutritional status in surgical 3B ward was found to have high risk of malnutrition, particularly patients with cardiovascular diseases and cancers. However, there was no problem of nutrition status for patients with oral cavity and eating.

 

References

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2556 เล่มที่ 18. ขอนแก่น: โรงพยาบาล ; 2556.

Lassen K, Coolsen MM, Slim K, Carli F, de Aguilar-Nascimento JE, Schäfer M, et al.Guidelines for perioperative care for pancreaticoduodenectomy: Enhanced Recovery After Surgery (ERAS®) Society recommendations. Clin Nutr 2012; 31: 817–30.

Gustafsson UO, Scott MJ, Schwenk W, Demartines N, Roulin D, Francis N, et al. Guidelines for perioperative care in elective colonic surgery: Enhanced Recovery After Surgery (ERAS®) Society recommendations. Clin Nutr 2012; 31: 783–800.

Mukhopadhyay S, Paul C, Thander K, Gorai J, Purakayet M, Biswas S, et al. Assessment of nutrition in cancer patients and its effect on treatment outcome—a study from a developing country [abstract]. J Clin Oncol 2006; 24 (18 Suppl): 6125.

Mendes J, Alves P, Amaral TF. Comparison of nutritional status assessment parameters in predicting length of hospital stay in cancer patients. Clin Nutr 2014; 33: 466–70.

หอผู้ป่วยศัลยกรรม 3 ค โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การคัดกรองภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอ[เอกสารอัดสำเนา]. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; 2556.

วิกิพีเดีย. ศัลยศาสตร์. [ออนไลน์]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2560 ]. จาก https://goo.gl/uN2evR

อัจฉริยา พงษ์นุ่มกุล. Nutrition Care Process ในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว [อินเตอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2560]. จาก http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/med-km-Nutrition.html.

Kanoporn Wisuttikul. Nursing Management for Cancer Patients Experiencing Anorexia.Journal of Nursing Science. [Internet]. 2011 [cited May 23, 2017]; 29(3) : 8-16. Available from: https://scholar.google.co.th/scholar?q=Nursing+Management+for+Cancer+Patients+Experiencing+Anorexia&hl=th&as_sdt=0&as_vis=1&oi=scholart

ปวงกมล กฤษณบุตร, อรพรรณ โตสิงห์, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฟื้นตัวหลังผ่าตัดของผู้ป่วยที่ได้รับการ ผ่าตัดช่องท้องในระยะ 1 สัปดาห์แรก. วารสารสภาการพยาบาล 2555; 27: 39–48.

ปิ่นมณี เรี่ยวเดชะ, พรรณวดี พุธวัฒนะ. การคัดกรองภาวะทุพโภชนาของผู้สูงอายุไทยที่เข้ารับการักษาในโรงพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2550; 13: 259–71.

รังสรรค์ ภูรยานนทชัย. การให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยวิกฤต. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549; 24: 425–43.

The British Association for Parenteral and Enteral Nutrition. Nutritional Assessment. [Internet]. 2016 [ cited Oct 10, 2017 ] Available from: http://www.bapen.org.uk/nutrition-support/assessment-and-planning/nutritional-assessment.

Downloads

Published

2019-05-08

Issue

Section

Original Articles