The Evaluation of the Strength of Design and Usage of the Local Health Charter in Population Perspective, Amnat Charoen Province
Keywords:
Empowerment evaluation, Strength level, Creating and using local health charter, การประเมินผลแบบเสริมพลัง, ระดับความเข้มแข็ง, การสร้างและใช้ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่Abstract
ผลการประเมินความเข้มแข็งของการสร้างและใช้ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ ในมุมมองของประชาชน จังหวัดอำนาจเจริญ
ทนงศักดิ์ พลอาษา1, ประเสริฐ ประสมรักษ์2
1สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ, 2โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
หลักการและวัตถุประสงค์: จังหวัดอำนาจเจริญ มีการจัดทำและประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ เพื่อขับเคลื่อนการสร้างสุขภาวะประชาชนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีผลลัพธ์ในมุมมองของประชาชนที่เป็นผูรับผลประโยชน์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินความเข้มแข็งของการสร้างและใช้ธรรมนูญสุขภาพ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการรับรู้ ความพึงพอใจกับความเข้มแข็งของการสร้างและใช้ธรรมนูญสุขภาพ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาประเมินผลแบบเสริมพลัง ในกลุ่มตัวอย่างประชาชน 395 ราย โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน สุ่มตำบลละ 1 หมู่บ้าน และสุ่มครัวเรือนตามสัดส่วนประชากร สัมภาษณ์หัวหน้าครอบครัว หรือตัวแทนครัวเรือนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินผลธรรมนูญสุขภาพ ในคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพตำบล และแบบสัมภาษณ์การรับรู้และความพึงพอใจของประชาชนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วย Binary logistic regression โดยใช้จุดตัดระดับความเข้มแข็งที่ระดับ A ขึ้นไป
ผลการศึกษา: ผลการประเมินความเข้มแข็งของการสร้างและใช้ธรรมนูญสุขภาพ ประชาชนส่วนใหญ่ประเมินอยู่ในระดับ C ด้านการรับรู้และความพึงพอใจในกลุ่มตัวอย่าง 395 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 83.0) มีอายุเฉลี่ย 44.83 ±10.22 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 34.9) เคยได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับธรรมนูญสุขภาพ (ร้อยละ 84.1) และเคยเข้าร่วมกิจกรรมประชาคมและกิจกรรมที่มาจากธรรมนูญสุขภาพ (ร้อยละ 84.3) มีเพียงครึ่งหนึ่งที่มีระดับการรับรู้และความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 50.9) เท่ากัน ซึ่งระดับการรับรู้และความพึงพอใจของประชาชนมีความสัมพันธ์กับระดับความเข้มแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
สรุป: ผลประเมินระดับความเข้มแข็งของประชาชนส่วนใหญ่ประเมินให้อยู่ในระดับ C โดยระดับการรับรู้และความพึงพอใจของประชาชนที่แตกต่างกันมีผลต่อการประเมินระดับความเข้มแข็งของการสร้างและใช้ธรรมนูญสุขภาพแตกต่างกัน
Background and Objective: Amnat Charoen province had design and usage of health charter in community to create happiness for people continuously but the strength point of evaluation form were not created yet. This work aimed to evaluation of design and usage of the health charter and comparison the difference of acknowledgment, satisfaction with strength of creating and using the health charter.
Methods: This survey research collected data from 395 stake-holders by using the Krejcie & Morgan table calculated. The collected data were using health charter assessment form and interviewed family’s leaders with 18 years old and over. The collected data were questionnaires created by the researcher which has a confidence value of 0.83. Data were analyzed by descriptive statistics and binary logistic regression by using the level of strength cut at level A and above.
Results: The most populations evaluated of design and usage of the health charter in C level of acknowledgment, satisfaction with strength of creating and using the health charter. The results indicated in 395 stake-holders were mostly female (83.0%), average aged 44.83± 10.22 years old with married status. They have got a high school graduation (34.9%) and most of them have known the information about health charter (84.1%) and attended to the community and the activities of health charter (84.3%). There was only half of sample has perceived and satisfaction of the design and usage of health charter in high level (50.9%). The level of perceives and satisfaction was significantly correlated with the level of strength in design and usage of health charter (p <.001).
Conclusions: the evaluation of design and usage of the health charter of most population were at C level. Therefore, the different level of acknowledgment and satisfaction was significantly effect to the evaluation of design and usage of health charter.
References
รัตนศิริ ศิระพาณิชย์กุล. ก่อร่างสร้างเคลื่อนธรรมนูญ 6 พื้นที่ ธรรมนูญว่าด้วยตำบลสุขภาวะของประชาชนตำบลดงมูลเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2556.
อนุศักดิ์ สุภาพร. การวิจัยประเมินผลการจัดทำธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม; 2557.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20มกราคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: https://phpp.nationalhealth.or.th/พื้นที่ประกาศใช้, 2015.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. รายงานประจำปี 2559. อำนาจเจริญ: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ; 2559.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์; 2553.
วันรพี สมณช้างเผือก และ คณะทำงานสมัชชาพิจารณ์หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 8 อุดรธานี. คู่มือการประเมินเสริมพลังธรรมนูญสุขภาพ เพื่อการกำกับติดตามและประเมินผลแบบเสริมพลัง กระบวนการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ สู่การจัดการตำบลสุขภาพต้นแบบโดยกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น. อุดรธานี: โรงพิมพ์ ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์; 2560.
John W. Best, James V. Kahn. Research in Education. 5th ed. New Jersey: Prentice Hall Inc.; 1986.
สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.). นโยบายสาธารณะ : เครื่องมือการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชน. การประชุมมหกรรมสุขภาพชุมชน ครั้งที่ 2 จากความรู้สู่ระบบจัดการใหม่ จินตนาการเป็นจริงได้ไม่รู้จบ วันที่ 19 มกราคม 2555 ณ อาคารอิมแพ็ค คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี; 2555.
กฤตยา อาชวนิจกุล, กุลภา วจนสาระ. บทสำรวจวาทกรรมและการเมืองเรื่องสมัชชาสุขภาพ. วารสารสังคมศาสตร์ 2551; 20: 114-42.
เดชรัต สุขกำเนิด. รายงานการประเมินผลและทบทวนแนวคิดการนำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติไปใช้ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพและสังคมไทย.นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ; 2556.