The Effect of Chrysin on Memory Impairments in Aging Rats Induced by D-galactose

Authors

  • Ram Prajit
  • Nataya Sritawan
  • Kornrawee Suwannakot
  • Salinee Naewla
  • Anusara Aranarochana
  • Apiwat Sirichoat
  • Wanassanan Pannangrong
  • Jariya Umka Welbat

Keywords:

D-galactose, chrysin, memory, aging, ดีกาแลคโทส, ไครซิน, ความจำ, ชราภาพ

Abstract

ผลของไครซินต่อภาวะความจำบกพร่องในหนูชราภาพที่ถูกเหนี่ยวนำโดยดีกาแลคโทส

ราม ประจิตต์1, นั ตยา ศรีตะวัน1, กรรวี สุวรรณโคตร1, สาลินี แนวหล้า1, อนุสรา อารณะโรจน์1, อภิวัฒน์ ศิริโชติ1, วนัสนันท์ แป้นนางรอง1, จริยา อำคา เวลบาท1, 2*

1ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2กลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์:  ภาวะสมองเสื่อมเป็นหนึ่งในปัญหาของความชราภาพที่ส่งผลกระทบต่อเซลล์ประสาทต้นกำเนิดในชั้น subgranular zone (SGZ) ของ dentate gyrus (DG) ในสมองส่วน hippocampus และแสดงออกมาในรูปของความจำบกพร่อง ดีกาแลคโทส (D-galactose; D-gal) เป็นสารที่สามารถเหนี่ยวนำให้เซลล์ประสาทตายจากภาวะเครียดออกซิเดชันและกระบวนการการอักเสบ จึงถูกนำมาใช้ในการศึกษาภาวะสมองเสื่อม ไครซิน (chrysin) เป็นสารสกัดจาก flavonoid ที่มีคุณสมบัติในการฟื้นฟูความจำ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลของ chrysin ต่อภาวะความจำบกพร่องในหนูชราภาพที่ถูกเหนี่ยวนำโดย D-gal

วิธีการศึกษา: หนูแรทเพศผู้สายพันธุ์ Sprague Dawley ถูกแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ control, D-gal, chrysin 10, chrysin 30, D-gal + chrysin 10 และ D-gal + chrysin 30 โดย D-gal (50 มก/กก.) ให้โดยการฉีดเข้าช่องท้อง  chrysin (10 และ 30 มก/กก.) ให้โดยการป้อนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ จากนั้นน้ำหนักและการเคลื่อนไหวของหนูถูกนำมาวิเคราะห์ และหนูถูกทดสอบความจำด้วยการทดสอบ novel object location (NOL) และ novel object recognition (NOR)

ผลการศึกษา: ผลของน้ำหนักและการเคลื่อนไหวของหนูทุกกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนการทดสอบความจำ กลุ่ม control, chrysin 10, chrysin 30, D-gal + chrysin 10 และ D-gal + chrysin 30 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในการแยกตำแหน่งและวัตถุใหม่ในการทดสอบ NOL และ NOR ในขณะที่กลุ่ม D-gal ไม่สามารถแยกตำแหน่งและวัตถุใหม่ได้ในทั้งสองการทดสอบ

สรุป:  การศึกษาในครั้งนี้พบว่า D-gal สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดความจำบกพร่องได้ อย่างไรก็ตาม chrysin สามารถบรรเทาภาวะความจำบกพร่องที่เกิดจากการเหนี่ยวนำโดย D-gal ได้

Background and Objective:  Brain aging is one of aging problems that affects to the neural stem cells in the subgranular zone (SGZ) of the dentate gyrus (DG) in hippocampus, which exhibits cognitive impairments. D-galactose (D-gal) could induces neuronal apoptosis caused by oxidative stress and inflammation. It is used in several brain aging studies. Chrysin, one of flavonoid, has many neuroprotective effects that can improve memory. This study investigated the effects of chrysin on memory impairments in aging rats induced by D-gal.

Methods:  Male Sprague Dawley rats were divided into 6 groups; control, D-gal, chrysin 10, chrysin 30, D-gal + chrysin 10 and D-gal + chrysin 30 groups. D-gal (50 mg/kg) was administrated by intraperitoneal (i.p.) injection. Chrysin (10 and 30 mg/kg) was administrated by oral gavage. Both of D-gal and chrysin were administrated for 8 weeks. After treatments, the body weight and locomotor activity were determined. The memories were evaluated using novel object location (NOL) and novel object recognition (NOR) tests.

Results:  The results showed that the body weight and locomotor activity did not significant differences among all groups. In the memory tests, control, chrysin 10, chrysin 30, D-gal + chrysin 10 and D-gal + chrysin 30 groups showed significant differences to discriminate the novel location and object in the NOL and NOR tests. In contrast, D-gal group showed no significant difference of discrimination in the both tests.

Conclusion: This study demonstrates that D-gal induced memory impairments. However, chrysin could attenuated the memory impairments caused by D-gal.

Downloads

Published

2019-09-23

Issue

Section

Original Articles