Risk Management of Anesthetic Nurses for Patients undergoing Anesthesia in Songklanagarind Hospital

Authors

  • Nussara Dilokrattanaphichit Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University
  • Wipharat Juthasantikul Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University
  • Pannipa Phakam Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University
  • Maliwan Oofuvong Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University

Keywords:

Risk Management, Anesthetic Nurses, การจัดการความเสี่ยง, การระงับความรู้สึก

Abstract

การจัดการความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกของวิสัญญีพยาบาล

โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

นุสรา   ดิลกรัตนพิจิตร1,วิภารัตน์     จุฑาสันติกุล1,พรรณนิภา  ผาคำ1, มลิวัลย์        ออฟูวงศ์ 2

1วิสัญญีพยาบาล,  2 วิสัญญีแพทย์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

หลักการและวัตถุประสงค์: การบริหารจัดการความเสี่ยงทางวิสัญญีที่เหมาะสม น่าจะลดอุบัติการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินตนเองถึงระดับการรับรู้ในการจัดการความเสี่ยงของวิสัญญีพยาบาลในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

วิธีการศึกษา: ศึกษาในวิสัญญีพยาบาลที่ทำงานในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ มากกว่า 1 ปี จำนวน 62 รายโดยใช้แบบสอบถามการจัดการความเสี่ยงของวิสัญญีพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้ยาระงับความรู้สึกที่สร้างขึ้นเองโดยนักวิจัย มีทั้งหมด 52 ข้อเป็นแบบมาตรประมาณค่า (Rating scale ) 5 ระดับและแปลผลคะแนนโดยใช้เกณฑ์การประเมินของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ค่าดัชนีความตรง เท่ากับ 0.88 และ 0.89 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.97 และ 0.94 ตามลำดับ

ผลการศึกษา: คะแนนเฉลี่ยการจัดการความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกของวิสัญญีพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (4.65 ± 0.37) ส่วนการจัดการความเสี่ยงเมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ก่อน ระหว่างและหลังให้ยาระงับความรู้สึกมีคะแนนอยู่ในระดับดี (4.41 ± 0.50)

สรุป: วิสัญญีพยาบาลได้ประเมินตนเองถึงระดับการรับรู้ในการจัดการความเสี่ยงในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความรู้สึกอยู่ในระดับดีถึงดีมากซึ่งอาจนำไปสู่การบริการที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

 

Background and Objective: Proper risks management could reduce the incident of adverse events that may occur to patients who have anesthesia. The purposes of this prospective descriptive study were to examine  levels of perception in risk management of anesthetic nurses for patients undergoing anesthesia in Songklanagarind hospital.

Methods: A total of 62 anesthetic nurses working in Songklanagarind hospital more than 1 year were recruited. The questionnaires were constructed by the researchers. The questionnaires  were consisted of 2 parts: anesthetic nurses demographic data and level of perception in risk management of patients undergoing anesthesia, The questionnaires were validated by three experts, yielding content validity indiced of 0.88 and 0.89 respectively, and  was examined using Cronbach’s alpha coefficient giving values of 0.97 and 0.94, respectively.

Results: The overall mean total score of anesthetic nurses in risk management for patients undergoing anesthesia was in an excellent level (4.65 ± 0.37) whereas the risk management for adverse event was in good level (4.41 ± 0.50).

Conclusion: The overall perception of anesthetic nurses in risk management including risk management of adverse event  was excellent and might be related with the quality improvement of patient safety during anesthesia


References

เพ็ญจันทร์ แสนสบาย. การจัดการทางการพยาบาลเพื่อความปลอดภัย.กรุงเทพมหานคร: บริษัทสุขุมวิทการพิมพ์จำกัด, 2551.

วิภารัตน์ จุฑาสันติกุล, ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา, ทัศนีย์ นะแส. การรับรู้ของวิสัญญีพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยโดยหัวหน้าวิสัญญีพยาบาลและการปฏิบัติของวิสัญญีพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลทุติยภูมิและตติยภูมิในภาคใต้.สงขลานครินทร์เวชสาร 2558; 33: 121-37.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. HA Update 2008. พิมพ์ครั้งที่??. นนทบุรี : ดีวัน, 2551.

พจนา รุ่งรัตน์.ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้และทัศนคติเรื่องการบริหารความเสี่ยงกับการปฏิบัติตามกระบวนการความเสี่ยงของบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลบ้านค่าย จังหวัดระยอง.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2557; 25: 73-84.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. Patient safety concept and practice:ระบบกับความปลอดภัย.กรุงเทพมหานคร:ดีไซด์, 2546.

สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. เส้นทางสู่ Hospital Accreditation. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี่ไทย-ญี่ปุ่น, 2543.

PunjasawadwongY, Chinachoti T, Charuluxananan S,Pulnitiporn A, Klanarong S, Chau-in W et al. The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) of oxygen desaturation. J Med Assoc Thai 2005; 88 (Supply): 41-53.

ChanchayanonT, Suraseranivonge S, Chau-In W. The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) of difficult intubations: a qualitative analysis. J Med Assoc Thai 2005; 88(Supply): 62-8.

Hintong T, Chau-In W, Thienthong S,Nakcharoenwaree S.An analysis of the drug error problem in The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study). J Med Assoc Thai 2005; 88(Supply): 118-27.

ThienthongS,Hintong T, PunjasawadwongY.Tranfusion Errors in TheAnesthesia Incidents Study(THAI Study):Three Cases. J Med Assoc Thai 2005; 88(Supply): S145-8.

ผ่องพรรณ จันธนสมบัติ, นันธิดา พันธุศาสตร์, แสงรวี มณีศรี. การบริหารความเสี่ยงทางคลินิกของพยาบาลวิชาชีพ.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ 2555; 35: 118-24 .

รัดดา กำหอม, พนารัตน์ รัตนสุวรรณยิ้มแย้ม, อัครวัฒน์ สินเกื้อกูลกิจ, กชกร พลาชีวะ, ลำไพย พลเสนา, สุธันนี สิมะจารึก. อุบัติการณ์ทางวิสัญญีภายใน 24ชั่วโมงหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์.ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28: 490-6.

บุณฑริกา อาจนาเสียว, ธีรวัฒน์ ชลาชีวะ, วรินี เล็กประเสริฐ. การจัดการความเสี่ยงทางวิสัญญี.วิสัญญีสาร 2558; 41: 263-77.

TheHealth Accreditation Institute. Hospital standard and serve health glorify to cerebrate total the royal treasures fully 60 year. Nonthaburi: Institute; 2008.

The Health Accreditation Institute. Patient safety goal: SIMPLE. Nonthaburi: Poramut; 2008

Bureau of Nursing, Department of Medical Service, Ministry of Public Health. Nursing standard in hospital. Nonthaburi: The War Veterans Organization of Thailand; 2007.

Benner P.From novice to expert: excellence and power in clinical nursing practice. California: ADDISON-wesley; 1984.

Downloads

Published

2019-11-18

Issue

Section

Original Articles