Result of Desferrioxamine Administration by Retained Scalp-vein Into Subcutaneous in Thalassemic Patients

Authors

  • Ruenrudee Kaennak
  • Arunee Jetsrisuparp
  • Salughit Srimongkol

Keywords:

ยาขับธาตุเหล็ก desferrioxamine, โรคธาลัสซีเมีย, เข็มปีกผีเสื้อ, ใต้ผิวหนัง, desferrioxamine, Thalassemia, Scalp-vein, subcutancous

Abstract

ผลของการให้ยาฉีดขับธาตุเหล็ก Desferrioxamineโดยการใช้เข็มปีกผีเสื้อแทงคาเข็มไว้ใต้ผิวหนังในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

รื่นฤดี แก่นนาค 1, อรุณี เจตศรีสุภาพ2,สลักจิต ศรีมงคล1

1แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002

หลักการและวัตถุประสงค์: ธาลัสซีเมียเป็นโรคทางโลหิตวิทยาที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ให้การรักษาแบบประคับประคอง โดยการให้เลือด และยาขับธาตุเหล็ก การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ยาฉีดขับธาตุเหล็ก desferrioxamineโดยวิธีใช้เข็มปีกผีเสื้อแทงคาเข็มใต้ผิวหนัง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่มารับการตรวจรักษาที่ห้องตรวจกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ดำเนินการในช่วงระหว่างเดือน มกราคม-ตุลาคม 2556 กลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา: พบว่าการให้ยาฉีดขับธาตุเหล็กโดยการใช้เข็มปีกผีเสื้อแทงคาเข็มไว้ใต้ผิวหนังในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียทำให้ผู้ป่วยร้อยละ 50 มีระดับธาตุเหล็กสะสมลดลง  ผู้ป่วยทุกรายคิดเป็นร้อยละ100 สามารถเตรียมยาและฉีดยาได้อย่างถูกต้องและมีความพึงพอใจในระดับมาก ดังนั้นควรสนับสนุนให้ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียฉีดยาโดยวิธีนี้ต่อไป

สรุป:การให้ยาฉีดขับธาตุเหล็ก desferrioxamine โดยการใช้เข็มปีกผีเสื้อแทงคาเข็มไว้ใต้ผิวหนังในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ช่วยลดจำนวนครั้งในการแทงเข็มฉีดยา เป็นวิธีการที่มีความปลอดภัย ผู้ป่วยและผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อการให้ยาโดยวิธีนี้ในระดับมาก

Purpose and Objective: Thalassemia is a genetic disease. This disease is cured and cared by using supportive treatments such as blood transfusion, and iron chelator. The purpose of this research was to evaluate the results of desferrioxamine administration by retained scalp vein into subcutaneous in thalassemic patients.

Methods: This investigation aimed to determine 30 thalassemic patients, age up to 12 years old, who attended the pediatrics clinic at Srinagarind hospital during January - October 2013. The research tool was questionnaires. The data were analyzed by using frequency, percentage, means and standard deviation.

Results: The use of desferrioxamine administration by retained scalp vein into subcutaneous in thalassemic patients, have reduced  iron levels in 50 percent of the  patients. All of the patients accounted for 100 percent able to prepare medication and correctly inject themselves. There satisfactions were in a high level. Therefore, thalassemic patients should be encourage to inject by this method.

Summary: Desferrioxamine administration by retained scalp-vein into subcutaneous in thalassemic patients can reduce the number of injection. The use of desferrioxamine injection technique  was safely carried out and was high satisfaction by patients and caregivers.

References

จินตนา ศิรินาวิน, ชนินทร์ ลิ่มวงศ์, พรพิมล เรืองวุฒิเลิศ, เสถียร สุขพณิชนันท์, วันชัย วนะชิวนาวิน, วรวรรณ ตันไพจิตร. ความรู้พื้นฐานธาลัสซีเมีย: เพื่อการป้องกันและควบคุมโรค. ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน, 2554.

สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. สถานการณ์และแนวคิดในการป้องกันและควบคุมโรคธาลัสซีเมียของประเทศไทย. นนทบุรี: กรมอนามัย, 2549.

จิรัญญา บุรีมาศ. ภาวะผิดปกติในการทำงานของเซลล์บุผิวหลอดเลือดในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550; 22: 190–4.

อรุณี เจตศรีสุภาพ. ธาลัสซีเมียแบบองค์รวม. ขอนแก่น: ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2555 เล่มที่ 17. ขอนแก่น: โรงพยาบาล, 2556.

รื่นฤดี แก่นนาค. รายงานวิจัย. การศึกษานำร่องการฉีดยาขับธาตุเหล็กในผู้ป่วยโรคธาลัสเซียเมียโดยวิธีคาเข็มใต้ผิวหนัง. ขอนแก่น: ห้องตรวจกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2554.

งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Research utilization project การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเรื่อง การใช้สารละลายหล่อเลือดดำเพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตันปลายเข็มฉีดยาชนิดล็อก. ขอนแก่น: โรงพยาบาล; 2551.

ประคองกรรณสูต.สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุงแก้ไขกรุงเทพฯสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.

Ricchi P, Meloni A, Pistoia L, Spasiano A, Spiga A, Allò M, et al. The effect of desferrioxamine chelation versus no therapy in patients with non transfusion-dependent thalassaemia: a multicenter prospective comparison from the MIOT network. Ann Hematol 2018; 97: 1925–32.

Di Gregorio F, Leonardi C, Sciuto C, Cannella A, Pizzarelli G. [Intensive intravenous chelation in thalassemic patients with iron overload] [Article in Italian]. Minerva Pediatr 1998; 50: 81–5.

Wali YA, Taqi A, Deghaidi A. Study of intermittent intravenous deferrioxamine high-dose therapy in heavily iron-loaded children with beta-thalassemia major poorly compliant to subcutaneous injections. Pediatr Hematol Oncol 2004; 21: 453–60.

นิภาพรรณ บุญช่วย, วนิดา เสนะสุทธิพันธ์, นงลักษณ์ จินตนาดิลก, กลีบสไบ สรรพกิจ. ผลของโปรแกรมการสอนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคธาลัสซีเมีย. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2559; 34: 41–53.

นอลีสา สูนสละ, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2559; 28: 103–12.

อภิชญา อารีเอื้อ, สงครามชัย ลีทองดี, สุนทร ยนต์ตระกูล. รูปแบบการปรับปรุงคุณภาพการดูแลในสถานบริการสำหรับผู้ป่วยเรื้อรัง:กรณีคลินิกเด็กธาลัสซีเมียโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 25: 42–50.

Downloads

Published

2020-02-12

Issue

Section

Original Articles