Outcomes of Surgical Patients Care in 3A ward: Colorectal Cancer
Keywords:
Colorectal cancer, outcomes of patient care, surgical patients, nursing care, โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง, ผลลัพธ์การดูแล, ผู้ป่วยศัลยกรรม, การพยาบาลAbstract
ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยศัลยกรรม หอผู้ป่วย 3ก : โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
พิมพ์ชนก ทองคำจันทร์1, พัสดา ภักดีกำจร1, ธารินี เพชรรัตน์2, องอาจ โสมอินทร์3
1หอผู้ป่วยศัลยกรรม 3ก แผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2แผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและวัตถุประสงค์: ศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงที่ได้รับการผ่าตัด คุณภาพการรักษาพยาบาลและโอกาสพัฒนา
วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงพรรณนาจากประวัติการรักษาผู้ป่วย 62 ราย โดยการเก็บข้อมูลทั่วไปและตัวชี้วัดคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดในปีพ.ศ. 2560 ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้องมากที่สุด 28 ราย (ร้อยละ 45.16) ได้รับการคัดกรองโภชนาการ 55 ราย (ร้อยละ 88.70) เสี่ยงสูงต่อทุพโภชนาการ 21 ราย (ร้อยละ 38.18) ได้รับข้อมูลการปฏิบัติตัวก่อน-หลังการผ่าตัด ลุกเดินได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง 60 ราย (ร้อยละ 96.77) ความปวดเฉลี่ย 72 ชั่วโมงแรก 0-3 คะแนน 42 ราย (ร้อยละ 67.74) ไม่พบการติดเชื้อที่ปอด ติดเชื้อที่แผลผ่าตัด 3 ราย (ร้อยละ 4.80) ลำไส้รั่วหลังผ่าตัด 1 ราย (ร้อยละ 1.61) ได้รับข้อมูลการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้องได้รับการประเมินภาพลักษณ์และอัตมโนทัศน์ 2 ราย (ร้อยละ 7.14) ได้รับการฝึกปฏิบัติการดูแลลำไส้เปิดทางหน้าท้อง ระยะเวลานอนรักษาในโรงพยาบาล 6-15 วัน 60 ราย (ร้อยละ 96.77)
สรุป: ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการ หลังผ่าตัดสามารถลุกเดินออกจากเตียงได้ภายใน 24- 48 ชั่วโมง ความปวดเฉลี่ยภายใน 72 ชั่วโมงแรกอยู่ที่ 0-3 คะแนน พบภาวะแทรกซ้อนการรั่วของลำไส้และแผลติดเชื้อ ได้รับข้อมูลการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน สาธิตและฝึกปฏิบัติการดูแลลำไส้เปิดทางหน้าท้อง ควรส่งเสริมภาวะโภชนาการ พัฒนาทักษะและสมรรถนะด้านการประเมินภาพลักษณ์และอัตมโนทัศน์ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง
Background and Objectives: The aim of this study was to evaluate the outcomes of colorectal patients undergoing surgery, quality of surgical patients care team, and development opportunity.
Methods: This descriptive study was performed on 62 patients. The data were collected via: 1) General baseline data, 2) Indicators of quality of care for patients undergoing surgery in 2017. The statistics used were frequency, percentage, arithmetic mean and content analysis.
Results: Colostomy surgery was the most performed method in 28 patients (45.16). Fifty-five patients received nutritional screening (88.70%) and high risk for malnutrition was found in 21 cases (38.18%). All patients received pre-post operation information. After surgery, 60 cases (96.77%) could early ambulation within 24-48 hours, average pain of 72 hours in the period of 0-3 score was 42 cases (67.74%), no lung infection, surgical site infection 3 cases (4.80%), bowel leakage 1 cases (1.61%) all patients received information before returning home. Patients who underwent colostomy surgery were evaluated for image and self-concept in 2 cases (7.14%) received colostomy training 60 cases (96.77%) had duration of hospital stay for 6-15 days.
Conclusion: Most patients received nutritional screening. After surgery, the patient can walk out of bed within 24-48 hours. The average pain within 72 hours is 0-3 points. There are complications, leak of intestines and infected wounds. Receive information on how to go back home. Demonstration and practice in bowel care should promote nutritional status Develop skills and competencies in assessing image and self-concept in patients with abdominal intestinal surgery.
References
Favoriti P, Carbone G, Greco M, Pirozzi F, Pirozzi RE, Corcione F. Worldwide burden of colorectal cancer: A review. Updates Surg 2016; 68: 7-11.
Arnold M, Sierra MS, Laversanne M, Soerjomataram I, Jemal A, Bray F. Global patterns and trends in colorectal cancer incidence and mortality. Gut 2017; 66: 683-91.
ศุลีพร แสงกระจ่าง, ปิยวัฒน์เลาวหุตานนท์, เอกภพ แสงอริยวนิช, วทินันท์ เพชรฤทธิ์. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ.2559. กลุ่มงานสารสนเทศ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. กรงเทพมหานครฯ: พรทรัพย์การพิมพ์ จำกัด ; 2561.
โกสินทร์ วิระษร, ภัคณัณท์ อุสันเทียะ, กฤษฎา เปานาเรียง, วิยะดา ปัญจรัก. มะเร็งลำไส้ตรงในโรงพยาบาลศรีนครินทร์: 2543-2553, ทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาล. ศรีนครินทร์เวชสาร 2558; 30: 116-21.
จุฬาพร ประสังสิต, กาญจนา รุ่งแสงจันทร์. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีลำไส้เปิดทางหน้าท้อง:ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญ. งานพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ:บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด ; 2558.
Ramirez JA, McIntosh AG, Strehlow R, Lawrence VA, Parekh DJ, Svatek RS. Definition, Incidence, Risk factors, and Prevalence of Paralytic Ileus following Radical Cystectomy: A systemic review. Eur Urol 2013; 64: 588-97.
Yang CK, Teng A, Lee DY, Rose K. Pulmonary complications after major abdominal surgery: National surgical Quality Improvement Program analysis. J Surg Res 2015; 198: 441-9.
Aoyama T, Oba K, Honda M, Sadahiro S, Hamada C, Mayanagi S, et al. Impact of postoperative complications on the colorectal cancer survival and recurrence: analyses of pooled individual patients’ data from three large phase III randomized trials. Cancer Med 2017; 6: 1573–80.
งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ รายงานสถิติจำนวนผู้ป่วยประจำปี. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
เอมปภา ปรีชาธีรศาสตร์. บทบาทพยาบาลเฉพาะทางบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้: กรณีศึกษา การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ตรง. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2017; 10: 22-34.
Kim SE, Paik HY, Yoon H, Lee JE, Kim N, Sung MK. Sex and gender specific disparities in colorectal cancer risk. World J Gastroenterol 2015; 21: 5167-75.
Shpata V, Prendushi X, Kreka M, Kola I, Kurti F, Ohri I. Malnutrition at the Time of Surgery Affects Negatively the Clinical Outcome of Critically Ill Patients with Gastrointestinal Cancer. Med Arch 2014 ; 68: 263-7.
นงนุช หอมเนียน. บทบาทพยาบาลในการใช้หลักโภชนาการที่ส่งเสริมการหายของแผล. วารสารพยาบาลตำรวจ 2557; 6: 236-49.
Banaszkiewicz Z, Cierzniakowska K, Tojek K, Koztowska E, Jawien A. Surgical site infection among patients after Colorectal Cancer surgery. Pol Pregl Chir 2017; 89: 9-15.
Crafa F, Samolarek S, Missori G, Shalaby M, Quaresima S, Noviello A et al. Transanal inspection and management of low colorectal anastomosis performed with a new technique: the TICRANT Study. Surg Innov 2017; 24: 483-91.
Tevis SE, Kennedy GD. Postoperative Complications: Looking forward for a safer future. Clin Colon Rectal Surg 2016; 29: 246-52.
สราวุฒิ สีถาน. ผลของการเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัดต่อการฟื้นตัวในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. วารสาร มฉก. วิชาการ 2560; 20: 101-13.
วิลาสินี พิพัฒน์ผล, โสฬพัทธ์ เหมรัญช์โรจน์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล และซึมเศร้าในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่มีทวารเทียมทางหน้าท้องในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. Chula Med J 2015; 59: 691-701.
บุศรา ชัยทัศน์. การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ผ่าตัดเปิดทวารใหม่: บทบาทพยาบาลเฉพาะทางบาดแผล ออสโตมี และควบคุมการขับถ่ายไม่ได้. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย2016 ; 9: 19-33.