Lifestyle and Personal Characteristic Factors Associated with Overnutritional Status among Supporting Staff of Khon Kaen University

Authors

  • Nattapong Anchalee
  • Benja Muktabhant

Keywords:

lifestyle, over-nutrition, supporting staff, วิถีชีวิต, ภาวะโภชนาการเกิน, บุคลากรสายสนับสนุน

Abstract

วิถีชีวิตและปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ณัฐพงษ์ อัญชลี 1, เบญจา มุกตพันธุ์ 2

1 นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 กลุ่มวิจัยการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะโภชนาการเกินเป็นปัญหาที่มีความชุกเพิ่มมากขึ้นในประชาชนไทย การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตด้านต่างๆและปัจจัยส่วนบุคคลกับภาวะโภชนาการเกินของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิธีการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างจำนวน 387 ราย ได้รับการประเมินภาวะโภชนาการเกินโดยใช้ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่มีค่า ≥ 23 กก./ม2 เก็บข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล ระยะเวลาการทำกิจกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary lifestyle) และการบริโภคอาหาร ด้วยแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง ประเมินกิจกรรมทางกายโดยใช้แบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับโลก (GPAQ)  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตด้านต่างๆกับภาวะโภชนาการเกินด้วยสถิติถดถอยพหุโลจิสติกส์

ผลการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 77.8 อายุเฉลี่ย 42 ปี กลุ่มตัวอย่างมีภาวะโภชนาการเกิน ร้อยละ 55 มีกิจกรรมทางกายระดับหนัก ปานกลาง เบา ร้อยละ  40.0, 23.8 และ 36.2 ตามลำดับ เวลาที่ใช้ในกิจกรรมเนือยนิ่งเฉลี่ย 11.7 ชม./วัน  กลุ่มตัวอย่างมีการบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงต่อน้ำหนักเกิน ระดับเสี่ยงมากและปานกลางร้อยละ 19.7 และ 73.1 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศชาย (adjusted OR =2.5, 95% CI: 1.39-4.35) อายุ 41-60 ปี (adjusted OR = 3.36, 95% CI: 2.08-5.44) การศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี (adjusted OR =3.18, 95% CI : 1.41-7.15) การมีญาติสายตรงอ้วน (adjusted OR =2.45, 95% CI: 1.54-3.88 ) และการรับประทานอาหารมื้อดึก (adjusted OR =1.87, 95% CI: 1.01-3.45)

สรุป: บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยขอนแก่น มากกว่าครึ่งหนึ่งมีภาวะโภชนาการเกิน ดังนั้นควรจัดกิจกรรมควบคุมน้ำหนักในบุคลากรกลุ่มนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป ที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและมีญาติที่อ้วน และควรแนะนำให้งด/ลดการรับประทานอาหารมื้อดึก

 

Background and Objective: The prevalence of obesity is increasing among Thai population. This cross-sectional analytic study aimed to evaluate the associations between lifestyle and personal characteristic factors

with overnutritional status among the supporting staff of Khon Kaen University.

Methods387 participants were evaluated the nutritional status by using body mass index (BMI) The BMI index of ≥ 23 kg/m2 was defined for overnutritional status. General information, time spent for sedentary activity and food consumption were obtained from individuals using structural questionnaire. Physical activity was assessed by using the global physical activity questionnaire.  Multiple logistic regression was applied to examine the association of overweight and lifestyle factors.

Results: The majority (77.8%) of the respondents was female with mean age of 42 years. Fifty-five percent of the participants were overnutrition. The participants who had physical activities at vigorous, moderate and low levels were 40.0, 23.8 and 36.2%, respectively. The average time spent for sedentary activities was 11.7 hours/day. According to food consumption, the subjects were at risk of being overweight in high and moderate risk levels at 19.7 and 73.1%, respectively. The following risk factors were significantly associated with overnutrition (p<0.05), i.e., male (adjusted OR =2.5, 95% CI: 1.39 to 4.35), age 40-60 years (adjusted OR =3.36, 95% CI: 2.08 to 5.44), education below bachelor degree (adjusted OR =3.18, 95% CI: 1.41 to 7.15), having obese relatives (adjusted OR =2.45, 95% CI: 1.54 to 3.88) and eating at night time (adjusted OR =1.87, 95% CI: 1.01 to 3.45).

Conclusion: More than half of the supporting staff of the Khon Kaen University were overnourished. Weight control activities should be organized in this group, especially in males aged 40 years and over who have a low education degree and have obese relatives, and stopping / reducing eating at night time should be recommended.

 

References

World Obesity Federation. Obesity and overweight. [Internet] 2018 [cited February 16, 2019]; Available from: http://www.who.int/en/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight.

Ritchie H, Roser M. Obesity. [Internet] 2018 [cited February 9, 2019]; Available from: https://ourworldindata.org/obesity.

วิชัย เอกพลากร,บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2557.

ฐิติกร โตโพธิ์ไทย,นุชราภรณ์ เลี้ยงรื่นรมย์,ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย,วิชชุกร สุริยะวงศ์ไพศาล,สุพล ลิมวัฒนานนท์,จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์ และคณะ. คนไทยใช้พลังงานในกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมเนือยนิ่งเท่าไร: ข้อมูลจากการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2558. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2560. 11: 356-65.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2557 : "ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง" สู่การปฏิรูปประเทศจากฐานราก นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557.

วิวิชัย เอกพลากร,บรรณาธิการ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2553.

Hsieh FY,Bloch DA, and Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998; 17: 1623-34.

Bloom BS,Madaus GF, and Hastings TJ. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Burton WN, Chen CY, Schultz AB, Edington DW. The prevalence of metabolic syndrome in an employed population and the impact on health and productivity. J Occup Environ Med 2008; 50: 1139-48.

Darebo T,Mesfin A, Gebremedhin S. Prevalence and factors associated with overweight and obesity among adults in Hawassa city, southern Ethiopia: a community based cross-sectional study. BMC Obesity 2019; 6: 8-9.

Hajian K , Heydari B. Prevalence of obesity and its associated factors in population aged 20 to 70 years in urban areas of Mazandaran. J Mazandaran Univ Med Sci 2006; 16: 107-17.

Jafar TH,Chaturvedi N, Pappas G. Prevalence of overweight and obesity and their association with hypertension and diabetes mellitus in an Indo-Asian population. Can Med Assoc J 2006; 175: 1071-77.

Villareal DT, et al. Obesity in older adults: technical review and position statement of the American Society for Nutrition and NAASO, The Obesity Society. Am J Clin Nutr 2005; 82: 923-34.

ภิษฐ์จีรัชญ์ พัชรกุลธนา, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคอ้วนในกลุ่มวัยผู้ใหญ่เขตเทศบาลตำบลบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารพยาบาลทหารบก 2558; 10: 133-9.

Cutler DM, Lleras-Muney A. Education and health: evaluating theories and evidence. NBER Working Papers 12352, National Bureau of Economic Research, Inc,2006.

Christakis NA, Fowler JH. The spread of obesity in a large social network over 32 years. N Engl J Med 2007; 357: 370-9.

รัชฎา สุธาดารัตน์, สุญาณี พงษ์ธนานิกร, กุลวรา เมฆสวรรค์. ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนการบริโภคอาหาร และกลุ่มอาการเมแทบอลิกของประชากรวัยทำงาน ในอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2553; 40: 17-28.

ถาวร มาต้น. โรคอ้วน: ภัยคุกคามสุขภาพคนไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2553; 40: 356-65.

สุพิณญา คงเจริญ. โรคอ้วน: ภัยเงียบในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 11: 23-9.

World Health Organization. Global Strategy on Diet, Physical Activity and Health. [Internet] 2018 [Cited April 13,2018]; Available from: http://www.who.int/dietphysicalactivity/pa/en/.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพคนไทย 2559 : ตายดี วิถีที่เลือกได้ กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2559.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. [อินเตอร์เน็ต] 2561 [เข้าถึงเมื่อ25 กรกฎาคม 2561]; เข้าถึงได้จาก: https://www.etda.or.th/app/webroot/content_files/13/files/Thailand_Internet_User_Profile_2018_Slides%281%29.pdf.

Kerr J,Anderson C, Lippman SM. Physical activity, sedentary behaviour, diet, and cancer: an update and emerging new evidence. Lancet Oncol 2017; 18: 457-71.

ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, อรณา จันทรศิริ, ปฏิญญา พงษ์ราศรี. ข้อแนะนำการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็มซี คอนเซ็ปต์ จำกัด, 2560.

Downloads

Published

2020-02-12

Issue

Section

Original Articles