พฤติกรรมการบริโภคปลาดิบและการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับภายหลังการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยอัลตร้าซาวด์ในจังหวัดยโสธร: การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
Abstract
Raw Fish Consumption Behavior and Opisthorchis viverrini Infection after Cholangiocarcinoma Screening by Ultrasound in Yasothron Province :A Randomized Controlled Trail
Niyom Cheepcharoenrat1* , Chompunut Nethan2
1 Division of General Surgery , Yasothron Hospital , Yasothron
2 Division of Anesthesiology , Yasothron Hospital , Yasothron
หลักการและวัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบและการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับของประชาชนที่ได้รับและไม่ได้รับการคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยอัลตร้าซาวด์ในจังหวัดยโสธร
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ Prospective Randomized Controlled Trial ทำการศึกษาในจังหวัดยโสธรโดยศึกษาพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบชนิดต่างๆ และตรวจ urine OV Ag ในกลุ่มเสี่ยง แล้วแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองจะได้รับการตรวจคัดกรองด้วยอัลตร้าซาวด์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการตรวจ หลังจากนั้น 1 ปี ทำการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและตรวจ urine OV Ag อีกครั้ง
ผลการศึกษา: ประชากรศึกษาทั้งหมด 180 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 90 ราย พบว่าประชากรกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงการบริโภคปลาร้าดิบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.648 , 1.0 ) ปลาส้มดิบ ปลาจ่อมปลาเจ่าดิบ และลาบก้อยปลาดิบ ในกลุ่มทดลองบริโภคลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.017, 0.001,<0.001) ในกลุ่มควบคุมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 ชนิด (p = 0.265, 0.69, 0.383) และผลตรวจurine OV Ag มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 2 กลุ่ม (p = 0.5, 0.839)
สรุป: การคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยอัลตร้าซาวด์มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ
คำสำคัญ: มะเร็งท่อน้ำดี; ปลาดิบ
Background and Objective: To study raw fish consumption behavior changing and Opisthorchis viverrini infection of the population that were screened by ultrasound and were not screened in Yasothorn province.
Method: This study was prospective randomized controlled trial. To study raw fish consumption behavior and Opisthorchis viverrini infection by urine OV Ag in high risk population of Yasothorn province. Experimental group was screened by ultrasound and control group was not. After one year ago the researcher team recorded data by questionaire and checked urine OV Ag again.
Result: Total of 180 studied population were divided into 90 in the experimental group and 90 in the control group. Pickled fish Pla ra consumption behavior was not changed significantly in both groups (p = 0.648, 1.0). Pickled fish Pla Som , Pla Jom Pla Joa and Laab koi raw fish consumption behavior were decreased significantly in the experimental group (p = 0.017, 0.001, <0.001), but were not changed significantly in control group (p = 0.265, 0.69, 0.383). Urine OV Ag was not changed significantly in both groups (p = 0.5, 0.839).
Conclusion: Ultrasound screening affected to raw fish consumption behavior.
Key word: Cholangiocarcinoma; raw fish