Iodine Deficiency Disorders of the Newborn and Development in Early Childhood in Sakon Nakhon Hospital

Authors

  • Somnuk Apiwantanagul Department of Obstetrics and Gynecology, Sakon Nakhon Hospital
  • Sudarat Sirichaipornsak Department of Pediatric , Sakon Nakhon Hospital
  • Niyada Boonapai Community Nursing Work Group, Sakon Nakhon Hospital

Abstract

ภาวะขาดสารไอโอดีนของทารกแรกเกิดและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ในโรงพยาบาลสกลนคร

สมนึก อภิวันทนกุล1*, สุดารัตน์ ศิริชัยพรศักดิ์2, นิยะดา บุญอภัย3

1กลุ่มงานสูติกรรม-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000

2กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000

3กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนคร 47000

หลักการและวัตถุประสงค์: ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมไทรอยด์ (Thyroid stimulating hormone ; TSH) มากกว่า 11.2 mU/L จะส่งผลต่อพัฒนาการในช่วงปฐมวัย โดยมีโอกาสทำให้พัฒนาการลดลง ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับค่า TSH ของทารกแรกเกิดที่มากกว่า 11.2 mU/L ต่อพัฒนาการในช่วงปฐมวัยในโรงพยาบาลสกลนคร

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง (Retrospective study) จากข้อมูลทารกแรกเกิดที่มีระดับค่า TSH มากกว่า 11.2 mU/L จำนวน 393 ราย จากทารกแรกเกิดจำนวนทั้งหมด 6,336 ราย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ที่มาคลอดในโรงพยาบาลสกลนคร ในปีงบประมาณ 2559 – 2562  เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบรายงานค่า TSH  แบบบันทึกพัฒนาการเด็ก และเวชระเบียนผู้ป่วยนอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิดที่มีระดับค่า TSH มากกว่า 11.2 mU/L มีจำนวน 393 ราย (ร้อยละ 6.20)  มีผลตรวจพัฒนาการ จำนวน 211 ราย (ร้อยละ53.69) พบพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 69.19 และพัฒนาการสงสัยล่าช้า ร้อยละ 30.81 ภายหลังกระตุ้นพัฒนาการ พบพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 56.92 และพัฒนาการไม่สมวัย ร้อยละ 43.08 เมื่อทำการเปรียบเทียบกับทารกแรกเกิดที่มีระดับค่า TSH น้อยกว่าหรือเท่ากับ 11.2 mU/L พบว่ามีพัฒนาการน้อยกว่า สำหรับมารดาของทารกแรกเกิดที่มีระดับค่า TSH มากกว่า 11.2 mU/L ได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีน จำนวน 227 ราย (ร้อยละ 87.30) โดยส่วนใหญ่ได้รับยาในระดับปานกลาง จำนวน 105 ราย (ร้อยละ 40.38), ระดับน้อย จำนวน 99 ราย (ร้อยละ 38.08)  และระดับมาก จำนวน 56 ราย (ร้อยละ 21.54) ตามลำดับ

สรุป: การลดอุบัติการณ์ของทารกแรกเกิดที่มีระดับค่า TSH มากกว่า 11.2 mU/L ควรส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ทุกรายได้รับประทานยาเม็ดเสริมไอโอดีนทุกวัน และควรกระตุ้นพัฒนาการทารกแรกเกิดที่มีระดับค่า TSH มากกว่า 11.2 mU/L โดยเร็วที่สุด

คำสำคัญ: โรคขาดสารไอโอดีน; พัฒนาการในวัยเด็ก

Background and Objective:  Thyroid stimulating hormone (TSH) levels greater than 11.2 mU/L might had lower the ability to improve development by newborns potential. This study aimed to investigate the level of  TSH of newborns and development in early childhood in Sakon Nakhon Hospital.
Methods
: This retrospective descriptive study was conducted on 393 newborns who had TSH levels greater than 11.2 mU/L, from 6,336 newborns in Amphur Muang, Sakon Nakhon. Data were collected by reviewing TSH records developmental records and medical records. The data were collected during 2016 to 2019. The data were analyzed using descriptive statistics

Downloads

Published

2021-01-20

Issue

Section

Original Articles