Study survey of Dose-Length Product from Computed Tomography Examination in Srinagarind Hospital, Khon Kaen University
Abstract
การศึกษาค่าผลคูณปริมาณรังสีตลอดความยาวของการสแกนจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วัฒนา วงษ์ศานนท์1*, จิรันธนิน เภารอด1, เพชรากร หาญพานิชย์ 1, ปนัสดา อวิคุณประเสริฐ2
1 หน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2 ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพฯ
หลักการและวัตถุประสงค์ : เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(Computed tomography; CT) เป็นเครื่องกำเนิดรังสีที่ให้ปริมาณรังสีสูงเมื่อเทียบกับเครื่องเอกซเรย์ชนิดอื่น คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจเปรียบเทียบกับปริมาณรังสีอ้างอิง
วิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลย้อนหลังของผู้ป่วยจำนวน 1,200 ราย จากการตรวจศีรษะ ทรวงอก และช่องท้อง ช่วง 1 กุมภาพันธ์ ถึง 30 เมษายน 2557 บันทึกค่าดัชนีปริมาณรังสีจากเครื่อง CT( CTDIvol ) ปริมาณรังสีตลอดความยาวของการสแกน ( DLP) จากการตรวจ และคำนวณค่าปริมาณรังสียังผล (Effective dose ; ED) แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิง
ผลการศึกษา : จากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ย CTDIvol , DLP และ ED จากการตรวจ CT ศีรษะมีค่า 39.9 mGy, 689.86 mGy.cm, 1.8 ±0.8 mSv ทรวงอก 25.9 mGy, 440.97 mGy.cm, 10.8±6.6 mSv และช่องท้อง 46.1 mGy, 767.83 mGy.cm, 15.5±7.3 mSv และ พบการตรวจช่องท้องมีค่าปริมาณรังสียังผลเฉลี่ยมีค่าเกินระดับปริมาณรังสีอ้างอิง
สรุป: การทำงานประจำนำสู่การวิจัยเชิงสำรวจ ทำให้เห็นว่า การสำรวจปริมาณรังสีจากการตรวจวินิจฉัยมีความจำเป็น ได้ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงภัยจากรังสีที่เกิดขึ้นในแต่ละชนิดการตรวจ ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ส่วนอื่นๆ ค่าระดับปริมาณรังสีจากการตรวจที่มีค่าที่สูงกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิง ควรปรับแก้ไข เพื่อให้ค่าปริมาณรังสีลดลง
คำสำคัญ: ปริมาณรังสียังผล; ค่า CTDIvol; ค่า DLP
Background and objective: A computed tomography (CT) scanner emits radiation dose higher than other types of X-ray machines. This study aimed to compare the amount of radiation from CT examinations compared with the radiation dose reference level.
Method: Data were retrospectively collected from 1 February to 30 April 2014 on 1,200 patients underwent CT head, chest and abdominal examinations. The record of CT radiation dose index volume (CTDIvol), radiation dose length product (DLP) and the effective dose (ED) were compared with the reference dose levels.
Results: The study found that the mean CTDIvol, DLP and ED from CT brain scan were 39.9 mGy, 689.86 mGy.cm, 1.8 ±0.8 mSv, the doses from CT chest were 25.9 mGy, 440.97 mGy.cm, 10.8±6.6 mSv and the doses from CT abdomen were 46.1 mGy, 767.83 mGy.cm, 15.5±7.3 mSv. The result also showed that the effective dose from CT abdomen was higher than the dose reference levels.
Conclusion: These routine works to the survey research of radiation dose from diagnostic prove to be necessary. The useful information can help to reduce radiation risk form different CT examinations. Additional survey of radiation dose from other CT examinations might be required. The CT abdomen protocol should be revised in order to decrease the radiation dose.
Keywords: effective radiation; CTDIvol; DLP
บทนำ
เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography; CT) สามารถสร้างภาพรังสี ที่ช่วยให้มองเห็นอวัยวะในร่างกายเป็นลักษณะภาพตัดขวาง สามารถเห็นรายละเอียดเนื้อเยื่อชนิดต่างๆได้ละเอียดมากกว่าการถ่ายภาพเอกซเรย์ทั่วไป (General x-ray) จึงทำให้มีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเครื่องCT นอกจากจะเป็นวิวัฒนาการด้านการสร้างภาพรังสีที่ก้าวหน้าทันสมัยแล้ว ยังช่วยเพิ่มทางเลือกในการวินิจฉัยและรักษาโรคให้กับผู้ป่วย แต่อย่างไรก็ตามปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับสูงกว่าการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยชนิดอื่น (ตารางที่1)
จากรายงานของ The American Association of Physicists in Medicine (AAPM) พบว่า ปริมาณรังสีสะสมที่ได้รับจากทางการแพทย์ เกิดจากการใช้เครื่อง CT1 และมีแนวโน้มว่ามีการใช้งานมากขึ้น จึงต้องมีการควบคุมให้ภาพรังสีมีคุณภาพที่ดีและไม่ให้มีการใช้รังสีสูงเกินความจำเป็น โดยสมาคมยุโรปได้มีการจัดทำ guidelines on quality criteria for computed tomography (EUR16262)2 มีรายละเอียดเกี่ยวกับ การควบคุมปริมาณรังสีที่ใช้กับผู้ป่วยของการถ่ายภาพรังสีส่วนต่างๆ โดยกำหนดค่าปริมาณรังสีอ้างอิง (diagnostic reference levels ; DRLs) ค่าปริมาณรังสียังผล (Effective Dose; ED) มีหน่วย คือ มิลลิซีเวิตซ์ (mili-Sivert ; mSv) ซึ่งหาได้จากค่า computed tomography dose index (CTDIvol) มีหน่วย มิลลิเกรย์ (miligray : mGy) และค่า dose length product (DLP) มีหน่วย มิลลิเกรย์เซนติเมตร (mGy.cm) (ตารางที่ 2)
รายงานของ Public Health England 3 ทำการสำรวจปริมาณรังที่ผู้ป่วย โดยศึกษาจากจำนวนผู้ป่วย 47,000 ราย จากเครื่อง CT ทั้งหมด 128 เครื่อง โดยแสดงค่าพารามิเตอร์ที่ศึกษาคือ CTDIvol และ DLP ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่ช่วยในการตรวจสอบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากเครื่องCT จากสำรวจสามารถนำมาช่วยในการปรับลดค่าเทคนิคต่างๆให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการฉายรังสีด้วยเครื่องCT ในประเทศได้รับปริมาณรังสีที่น้อยที่สุด ส่วนในประเทศไทยเคยมีรายงานจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่1จังหวัดตรัง 4 ได้ประเมินระดับปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจด้วย CTสมองและช่องท้อง โดยทำการศึกษาค่า DLP เพื่อนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับค่าอ้างอิง ผลที่ได้พบว่าค่า DLP จากการตรวจสมองและช่องท้อง มีค่า DLP เกินค่าอ้างอิงของยุโรป ดังนั้นเจ้าหน้าที่ควรตรวจสอบปรับลดค่าพารามิเตอร์ต่างๆใหม่เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีที่น้อยลง จากความสำคัญดังกล่าว จึงมีหลายประเทศทำการสำรวจหาปริมาณรังสียังผลในการตรวจด้วยเครื่อง CT ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัยหรือไม่ ปัจจุบันการตรวจด้วยเครื่อง CT โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น มีสถิติการให้บริการ CTของส่วนศีรษะ ทรวงอก และช่องท้อง เป็นส่วนมากคิดเป็นร้อยละ80 ของ CT ทั้งหมด (ตารางที่ 3)
คณะผู้วิจัยจึงได้มาทำการศึกษาปริมาณรังสีจากค่า DLP แล้วนำไปคำนวณหาค่าประมาณปริมาณรังสียังผล เพื่อเปรียบเทียบกับค่ารังสีระดับอ้างอิง นำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขหากพบว่ามีการใช้ปริมาณรังสีสูงเป็นการลดความเสี่ยงของผู้ป่วยต่ออันตรายจากรังสี