How Do the Thai Elders Living Alone in Urban Community Plan for Their Health Care?: A Qualitative Study in Bangkok Metropolitan Region

Authors

  • Siriwan Jittapraneeraht Photalae Hospital
  • Saipin Hathirat Department of Family Medicine, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University
  • Chitima Boongird Department of Family Medicine, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University
  • Ruankwan Kanhasing Division of Family Medicine, Faculty of Medicine, Thammasat University

Abstract

ผู้สููงอายุไทยที่อาศัยอยู่ลำพังในเขตเมืองวางแผนการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างไร:การศึกษาเชิงคุณภาพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ศิริวรรณ จิตตปราณีรัชต์1, สายพิณ หัตถีรัตน์2, จิตติมา บุญเกิด2, เรือนขวัญ กัณหสิงห์3*

1 โรงพยาบาลโพทะเล จังหวัดพิจิตร

2 ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

3 สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังมีแนวโน้มสูงขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนการดูแลสุขภาพและความต้องการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ลำพังในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างในผู้สูงอายุที่มารับบริการที่แผนกตรวจผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 20 ราย วิเคราะห์ข้อมูลตามเนื้อหา

ผลการศึกษา:กลุ่มตัวอย่างทุกรายวางแผนพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด โดยมีแผนดูแลสุขภาพโดยทั่วไปด้วยการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคและมีวินัยในการรักษาโรคเรื้อรัง กรณีเจ็บป่วยเฉียบพลันเล็กน้อยจะไปพบแพทย์หรือจัดยากินเอง กรณีฉุกเฉินจะอาศัยแหล่งความช่วยเหลือที่สร้างไว้ล่วงหน้า กรณีเจ็บป่วยรุนแรงวางแผนย้ายไปอยู่กับผู้อื่นสถานบริบาลผู้สูงอายุหรือฆ่าตัวตาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่นึกถึงความตายและวาระสุดท้ายของชีวิต ครึ่งหนึ่งมีแผนจัดการศพ หลายรายวางแผนบริจาคร่างกายเป็นอาจารย์ใหญ่ผู้สูงอายุมีความต้องการด้านสุขภาพ ได้แก่ สิทธิการรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การให้ความรู้ด้านสุขภาพ การจัดระบบบริการทางการแพทย์สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ระบบที่ปรึกษา การเยี่ยมบ้าน กองทุนจัดการศพ การเพิ่มจำนวนและพัฒนาสถานบริบาลผู้สูงอายุให้เพียงพอ

สรุป:ผู้สูงอายุที่อยู่ลำพังในเขตเมืองให้ความสำคัญกับความสามารถในการช่วยเหลือตนเองตระหนักในการดูแลสุขภาพและวางแผนพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการคือ ระบบสวัสดิการและสาธารณสุขที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตลำพัง โดยเฉพาะระบบที่ปรึกษาและแหล่งความช่วยเหลือในยามเจ็บป่วย

คำสำคัญ: ผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ลำพัง; แผนการดูแลสุขภาพ; การวางแผน

ABSTRACT

Background and Objectives: Number of elders living alone are increasing. The aims of this study was to explore healthcare plans and health needs of elders living alone in Bangkok metropolitan region.

Methods:This was a qualitative study using the in-depth, semi-structured interview with purposive sampling was conducted among elders living alone in Bangkok metropolitan region who came to out-patient unit of the Department of Family Medicine, Ramathibodi Hospital. A sample of 20 patients complying with the inclusion criteria were recruited and interviewed. Data was analyzed using content analysis.

Results: All participants likely planned for an independent living. Regarding the general health care, all of them emphasized on health promotion and disease prevention and had self-discipline in treatment of chronic illnesses. They consulted doctors immediately or took self-medication as soon as they had acute minor illnesses. They used their networks and resources which were prepared in advance as an emergency care plan. In terms of serious illnesses, they planned to move to live with others, nursing home or suicide. Most elders thought about death and prepared for their end of life. Half of them already had the funeral plans whilst some elders decided to donate their corpses for medical education. The health needs of the elders included a free health insurance, a health education, geriatric medical services, a call center or geriatric care centers in community, a geriatric home care, a funeral fund and adequate long-term care facilities.

Conclusion: As an independent living was a crucial issue for elders living alone in urban setting, the elders likely to depend on themselves to handle their health issues as much as possible.They need the sufficient welfare and the public health system that could enhance their independent living, especially consultation system and medical support services.

Keywords: elders; elders living alone; health care plan; planning

 

Downloads

Published

2021-01-20

Issue

Section

Original Articles