Incidence and Predictors of Residual Disease in Women with High-grade Squamous Intraepithelial Lesion (HSIL) and Positive Margins after Cervical Loop Electrosurgical Excision

Authors

  • Chalita Kingnate Department of Obstetrics and Gynecology, Lamphun Hospital

Abstract

อุบัติการณ์และปัจจัยทำนายถึงการมีรอยโรคหลงเหลือในสตรีที่พบรอยโรคภายในเยื่อบุผิวปากมดลูกขั้นสูงและมีรอยโรคที่ขอบของชิ้นเนื้อภายหลังการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า

ชลิตา กิ่งเนตร

กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน 51000

หลักการและวัตถุประสงค์: สตรีที่ได้รับการตัดปากมดลูกแล้วยังพบรอยโรคชนิด high-grade squamous intraepithelial lesion (HSIL) ที่ขอบของชิ้นเนื้อ มีความเสี่ยงต่อการหลงเหลือหรือกลับเป็นซ้ำของรอยโรคหากไม่ได้รับการรักษา การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายถึงการมีรอยโรคหลงเหลือในสตรีที่ได้รับการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าและพบรอยโรคชนิด HSIL ที่ขอบของชิ้นเนื้อ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) ในสตรีที่มารับการรักษาที่ โรงพยาบาลลำพูน ที่พบรอยโรคชนิด HSIL และมีรอยโรคที่ขอบของชิ้นเนื้อภายหลังการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2557 ถึงมีนาคม พ.ศ. 2563 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา univariate และ multivariate logistic regression

ผลการศึกษา: ในสตรีทั้งหมด 113 ราย พบรอยโรคหลงเหลือ 56 ราย (ร้อยละ 49.5) ปัจจัยที่สามารถทำนายถึงการมีรอยโรคหลงเหลือที่ปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ได้แก่ อายุสตรีมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี (AOR = 10.8; 95%CI 1.1-109.8, p = 0.045) และรอยโรคก่อนตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าที่มีขนาดกว้าง 3-4 quadrants (AOR = 9.5; 95%CI 3.4-26.2, p <0.001)

สรุป: อายุสตรีมากกว่าหรือเท่ากับ 35 ปี และรอยโรคก่อนตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้าที่มีขนาดกว้าง เป็นปัจจัยทำนายถึงการมีรอยโรคหลงเหลือในสตรีที่พบรอยโรคชนิด HSIL และมีรอยโรคที่ขอบของชิ้นเนื้อภายหลังการตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า

คำสำคัญ: รอยโรคภายในเยื่อบุผิวปากมดลูกขั้นสูง; รอยโรคที่ขอบของชิ้นเนื้อ; การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า; ปัจจัยทำนาย; รอยโรคหลงเหลือ

Abstract

Background and Objective: Women who have high-grade squamous intraepithelial lesion (HSIL) and positive margins after an initial cervical loop electrosurgical excision procedure (LEEP) carry a risk of invasive cervical carcinoma if left untreated. This study aimed to find factors predicting residual disease in women with histologic HSIL and positive margins after LEEP.

Methods: This retrospective cohort study was undertaken among women with histologic HSIL who had positive surgical margins following LEEP at Lamphun Hospital between January 2014 and March 2020. Factors predicting residual lesion were assessed by univariate and multivariate logistic regression analysis.

Results: One hundred and thirteen women were included, residual disease was found in 56 women (49.5%). Multivariate analysis showed that only age >35 years (AOR = 10.8; 95%CI 1.1-109.8, p = 0.045) and a large lesion on LEEP specimen (3-4 quadrants) (AOR = 9.5; 95%CI 3.4-26.2, p <0.001) were significantly independent factors associated with residual disease.

Conclusions: Age >35 years and large lesion are the significant independent predictors for residual disease in women who had HSIL with positive margins after LEEP.

Keywords: HSIL; LEEP; positive margin; predictor; residual disease

 

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles