The Relationship of Lumbar Dysfunction and Range of Motion Limitation

Authors

  • Dedchawin Laisirirungrai Physical Therapy Center, Faculty of Physical Therapy, Mahidol University
  • Siriwan Yotsungnoen Physical Therapy Center, Faculty of Physical Therapy, Mahidol University
  • Worawan Ekabutr Physical Therapy Center, Faculty of Physical Therapy, Mahidol University
  • Prasert Sakulsriprasert Division of Physical Therapy, Faculty of Physical Therapy, Mahidol University

Abstract

ความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่างและการจำกัดพิสัยการเคลื่อนไหว

เดชวิน หลายศิริเรืองไร1, ศิริวรรณ ยศสูงเนิน1*, วรวรรณ เอกบุตร1, ประเสริฐ สกุลศรีประเสริฐ2

1 ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 

2 สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 

หลักการและวัตถุประสงค์: อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาที่มีผลต่ออาการปวด การจำกัดการเคลื่อนไหว และการจำกัดการใช้งานในกิจวัตรประจำวัน โดย ความผิดปกติการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่าง (lumbar dysfunction) ถือเป็นหนึ่งในการวินิจฉัยที่พบได้บ่อยในทางกายภาพบำบัด ซึ่งยังขาดข้อมูลความสัมพันธ์ของความผิดปกติการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่างกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่างกับปัจจัยด้านพิสัยการเคลื่อนไหว, การทรงท่า (posture) และคุณลักษณะของผู้เข้าร่วมงานวิจัย

วิธีการศึกษา: นำข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง ศูนย์กายภาพบำบัด  มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 252 ราย ทำการแยกกลุ่มตามโรควินิจฉัย ได้แก่ ความผิดปกติการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่างจำนวน 131 ราย และการวินิจฉัยอื่นๆ จำนวน 121 ราย นำข้อมูลที่ได้มาหาความสัมพันธ์ ในส่วนของพิสัยการเคลื่อนไหว, การทรงท่าใช้สถิติ chi square และคุณลักษณะของผู้เข้าร่วมงานวิจัย ใช้สถิติ independent t-test

ผลการศึกษา: พบว่าอายุ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย (BMI) ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในกลุ่มความผิดปกติการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่างพบการจำกัดพิสัยการเคลื่อนไหวในทุกทิศทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยเฉพาะในท่าก้มและแอ่นหลัง (p =0.002, 0.006) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มความผิดปกติการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่างกับการทรงท่าแบบหลังแบน (flat back)

สรุป:  ความผิดปกติการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่างจะมีการจำกัดพิสัยการเคลื่อนไหวในทุกทิศทาง แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับการทรงท่า ดังนั้นนักกายภาพบำบัดควรให้ความสำคัญกับการตรวจประเมินและรักษาพิสัยการเคลื่อนไหวอย่างครอบคลุมต่อไป

คำสำคัญ: ความผิดปกติการเคลื่อนไหวหลังส่วนล่าง; กลุ่มอาการข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนล่าง; อาการปวดหลังส่วนล่าง

Background and objectives: Low back pain is a health problem affecting daily living in terms of pain, movement and functional limitations. Lumbar dysfunction is commonly found and diagnosed by physical therapists. However, the relationships of lumbar dysfunction and related factors are not yet established. This study therefore aimed to investigate the relationships between the diagnosis of lumbar dysfunction and range of motion limitation, and posture.

Methods: Study design and setting: The data of low back pain patients were obtained from medical records of Physical Therapy Center, Mahidol University, 252 cases totally, by which 131 cases were diagnosed as lumbar dysfunction and 121 cases diagnosed as other pathologies. The relationships between lumbar dysfunction and range of motion, posture were investigated by chi-square test and the characteristics of subjects were investigated by independent t-test.

Results: Age, weight, and body mass index (BMI) were not significantly different between the two groups. Lumbar dysfunction group was correlated with range of motion limitation in all directions especially lumbar flexion and lumbar extension (p = 0.002, 0.006), but lumbar dysfunction group was not correlated with flat back posture

Conclusion: Lumbar dysfunction had a relationship with range of motion limitation in all directions. Therefore, physical therapists should emphasize on physical examination and interventions regarding to range of motion for holistic approach.

Key words: lumbar dysfunction; facet joint syndrome; low back pain

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles