Accuracy of Magnetic Resonance Imaging in Diagnosis of Morbidly Adherent Placenta

Authors

  • Chalida Aphinives Department of Radiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Thaiwat Tatsanawiwat Department of Radiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Jiraporn Srinakarin Department of Radiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Ratana Komwilaisak Department of Obstetrics & Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Pilaiwan Kleebkaow Department of Obstetrics & Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

ความแม่นยำของภาพรังสีสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการวินิจฉัยภาวะรกงอกติด

ชลิดา อภินิเวศ 1, ไทวัจน์ ทัศนาวิวัฒน์1, จิราภรณ์ ศรีนัครินทร์1, รัตนา คำวิลัยศักดิ์2, พิไลวรรณ กลีบแก้ว 2

1 ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์:  เพื่อประเมินหาค่าความไวและความจำเพาะในการตรวจหาภาวะรกงอกติด โดยภาพรังสีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า

วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาย้อนหลังภาพรังสีจากการตรวจสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอุ้งเชิงกราน ในผู้ป่วยตั้งครรภ์ระหว่างเดือนมกราคม 2547 ถึงเดือนมิถุนายน 2557 จำนวน 31 การตรวจ โดยรังสีแพทย์ 2 คน ที่ไม่ทราบรายละเอียดใด ๆ ของผู้ป่วยมาก่อน ลักษณะที่ตรวจหาได้แก่ uterine bulging, intraplacental hemorrhage, placenta heterogeneity, intraplacental dark bands และ myometrium plane under placenta

ผลการศึกษา: ค่าความไว ค่าความจำเพาะ ค่าพยากรณ์ผลบวก ค่าพยากรณ์ผลลบ และ ค่าสัมประสิทธิ์แคปปา ของแต่ละลักษณะที่ตรวจพบในภาพรังสีต่อการตรวจหาภาวะรกงอกติด มีรายละเอียดดังนี้ uterine bulging (ร้อยละ 90.9, 75, 66.7, 93.8 และ 0.74 ตามลำดับ) intraplacental hemorrhage (ร้อยละ 81.8, 89.5, 81.8, 89.5 และ 0.78) placental heterogeneity (ร้อยละ 100, 15, 39.3, 100 และ 0.34) intraplacental dark bands (ร้อยละ 100, 55, 55, 100 และ 0.49) partial/absent myometrium plane under placenta accreta (ร้อยละ 100, 80, 73.3, 100 และ 0.83) การตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้ามีความแม่นยำในการวินิจฉัยภาวะรกงอกติด ร้อยละ 83.8 (95% CI 66.2-94.5) ร่วมกับค่าสัมประสิทธิ์แคปปา 0.58 แสดงว่าความเห็นของรังสีแพทย์ทั้งสองคนสอดคล้องในระดับปานกลาง

สรุป:  ลักษณะ uterine bulging, intraplacental hemorrhage และ partial/absent myometrium plane ที่ตรวจพบจากเครื่องตรวจสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยในการวินิจฉัยภาวะรกงอกติด ในกรณีที่พบลักษณะ placental homogeneity และ absent intraplacental dark band ในภาพรังสี T2WI จะสามารถตัดภาวะนี้ออกไปได้

คำสำคัญ:  ภาวะรกงอกติด; การตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอุ้งเชิงกราน

 

Background and Objective: To determine the sensitivity and specificity of MRI findings for detecting of morbidly adherent placenta.

Methods: A retrospective review of the patients who underwent pelvic MRI during pregnancy between January 2004 and June 2014. Thirty-one image sets that met the following inclusion criteria were enrolled in the study. MR imaging findings included uterine bulging, intraplacental hemorrhage, placenta heterogeneity, intraplacental dark bands, present of myometrium plane were reviewed by two investigators blinded to pregnancy outcome.

Results: In thirty-one image sets of pelvic MRI in the pregnant patients. Sensitivity, specificity, PPV, NPV and kappa value of MRI features had calculated: uterine bulging (90.9%, 75%, 66.7%, 93.8% and 0.74 respectively); intraplacental hemorrhage (81.8%, 89.5%, 81.8%, 89.5% and 0.78); placental heterogeneity (100%, 15%, 39.3%, 100% and 0.34); intraplacental dark bands (100%, 55%, 55%, 100% and 0.49); partial/absent myometrium under placenta (100%, 80%, 73.3%, 100% and 0.83), respectively.Accuracy of MRI to diagnosed morbidly adherent placenta was 83.8% (95% CI 66.2%-94.5%) with moderate interobserver agreement (kappa value 0.58).

Conclusion: Uterine bulging, intraplacental hemorrhage and partial/absent myometrium plane may be the keys criteria to diagnosis on pelvic MRI. Placental homogeneity and absent intraplacental dark band on T2WI may be exclusive criteria.

Keywords: morbidly adherent placenta; placenta accreta; placenta increta; placenta percreta; pelvic MRI

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles