Complications of Liver Transplantation with Successful Treatment by Interventional Radiology Techniques

Authors

  • Jitraporn Wongwiwatchai Department of Radiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Virin Bejrachandra Department of Radiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Vivian Klungboonkrong Department of Radiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Anucha Ahooja Department of Radiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Arunnit Boonrod Department of Radiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

การรักษาภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดปลูกถ่ายตับด้วยวิธีการทางรังสีร่วมรักษา

จิตราภรณ์ วงศ์วิวัฒน์ไชย*, วิริญจ์ เพชรจันทร, วิเวียน คลังบุญครอง, อนุชา อาฮูยา, อรุณนิตย์ บุญรอด

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: การผ่าตัดปลูกถ่ายตับเป็นทางเลือกในการรักษาโรคตับระยะสุดท้ายและตับวายเฉียบพลัน การตรวจพบและรักษาภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดในระยะแรกได้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการทางรังสีร่วมรักษาในการรักษาภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดปลูกถ่ายตับซึ่งได้รับการรักษาด้วยวิธีทางรังสีร่วมรักษาตั้งแต่กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ถึง ตุลาคม พ.ศ. 2561 จำนวนทั้งสิ้น 13 ราย โดยทำการศึกษาข้อมูลประชากร ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ชนิดการผ่าตัด ชนิดของภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาวินิจฉัยนับจากวันผ่าตัด วิธีการรักษาทางรังสีร่วมรักษา และผลการรักษา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 13 ราย ได้รับการรักษาภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดปลูกถ่ายตับด้วยวิธีทางรังสีร่วมรักษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 27 ครั้ง ประกอบด้วย การขยายหลอดเลือดดำด้วยบอลลูนในภาวะหลอดเลือดดำอินฟิเรียเวนาคาวาตีบและหลอดเลือดดำพอร์ทัลตีบ (3 ครั้ง), การขยายหลอดเลือดแดงร่วมกับการใส่ขดลวดถ่างขยายและการละลายลิ่มเลือดในภาวะหลอดเลือดแดงตับตีบและหลอดเลือดแดงตับอุดตัน (3 ครั้ง), หัตถการเกี่ยวกับการใส่สายระบายน้ำดีทางหน้าท้องในภาวะทางเดินน้ำดีตีบ (9 ครั้ง) และ การใส่สายระบายของเหลวที่เกิดหลังการผ่าตัดในช่องท้อง (12 ครั้ง) มีผลสำเร็จทางเทคนิคร้อยละ 100 ผลสำเร็จทางคลินิกร้อยละ 96.3

สรุป: รังสีร่วมรักษามีบทบาทสำคัญในการรักษาภาวะแทรกซ้อนจากการปลูกถ่ายตับเนื่องจากสามารถทำการรักษาได้ด้วยเทคนิคที่ไม่ต้องผ่าตัด มีการรุกล้ำน้อย มีผลสำเร็จทางเทคนิคและทางคลินิกสูง

คำสำคัญ: การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ; ภาวะแทรกซ้อน; รังสีร่วมรักษา

Background and Objective: Liver transplantation is a treatment option for end-stage liver disease and acute liver failure. Early detection and treatment of postoperative complications have increased survival rates after liver transplantation. The objective of this study was to evaluate efficacy of the interventional radiology procedures in treatment of liver transplant complications.

Material and methods: This retrospective study included 13 patients with post liver transplantation related complications, which were treated with interventional radiology procedures from July 2013 to October 2018. Demographic data, indications for liver transplantation, type of liver transplantation, liver transplantation related complications, onset of complications, interventional radiology procedures and result of treatment were collected.

Results: Between July 2013 to October 2018, 13 patients undergoing 27 procedures were identified, including venoplasty for inferior vena cava and portal vein stenosis (n=3), angioplasty and stent placement without/with thrombolysis for hepatic artery stenosis and hepatic artery thrombosis (n=3), percutaneous transhepatic biliary drainage related procedures (insertion, exchange, and irrigation) for biliary stricture (n=9) and percutaneous drainage related procedures (insertion and exchange) for intraabdominal collections (n=12). Technical and clinical success rates were 100% and 96.3%, respectively.

Conclusion: Interventional radiology procedures have an important role in the management of postoperative complications of liver transplantation under non-operative and minimally invasive techniques with high technical and clinical success rates.

Key words: Liver transplantation; complication; interventional radiology

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles