Clinical Outcome After Total Laryngectomy in Laryngeal and Hypopharyngeal Carcinoma

Authors

  • Ekapob Sangariyavanich Ear nose throat department, National Cancer Institute

Abstract

ผลการรักษาด้วยการผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมดในผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงและมะเร็งช่องคอส่วนล่าง

เอกภพ แสงอริยวนิช    

กลุ่มงานโสต ศอนาสิก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

กล่องเสียง และมะเร็งช่องคอส่วนล่าง ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือการเกิดรูรั่วที่คอหอยหลังผ่าตัด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งผู้ป่วยที่เคยได้รับรังสีรักษามาก่อน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการเกิดภาวะรูรั่วที่คอหอย หลังผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมดรวมถึงอัตราการอยู่รอดชีวิตของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังซึ่งรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งกล่องเสียง และมะเร็งช่องคอ ส่วนล่างที่ได้รับการผ่าตัด total laryngectomy และ  total laryngopharyngectomy ที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ  ในระหว่างปี พ.ศ.2557 ถึง 2561   

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยในการศึกษานี้จำนวน 42 ราย เป็นเพศชายทั้งหมด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด total laryngectomy ร้อยละ 66.7 เป็นการผ่าตัดแบบ primary surgery หลังการผ่าตัดไม่มีผู้ป่วยที่เกิดภาวะรูรั่วที่คอหอยหลังผ่าตัด ในการติดตามผู้ป่วยพบว่า มีผู้ป่วย 11 ราย ( ร้อยละ 26.2)  มีการกลับเป็นซ้ำของโรคซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบ lung metastasis    ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบ primary surgery มี 3-year DFS , 5-years DFS ,  3-year OS และ 5-year OS เท่ากับ ร้อยละ 79.4 , 79.4 , 77.3 และ 65.6 ตามลำดับ ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบ salvage surgery มี survival ที่น้อยกว่าคือ  3-year DFS , 5-years DFS ,  3- year OS และ 5-year OS เท่ากับร้อยละ 46.5 , 42.3 , 62.6 และ 59.7  ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการผ่าตัดทั้ง 2 แบบ ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  ( log rank test, p=0.66) ในด้าน OS แต่พบว่ามีความแตกต่างทางนัยสำคัญทางสถิติ ( log rank test, p< 0.05) ในด้าน DFS ของการผ่าตัดทั้งสองแบบ และในการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อ survival แบบ multivariate analysis พบว่า ปัจจัยที่มีผลลบต่อ DFS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ Perineural invasion และ extranodal extension แต่ไม่พบปัจจัยที่มีผลต่อ OS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

สรุป: การเลือกผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดกล่องเสียงที่เหมาะสมร่วมกับการเย็บซ่อมคอหอยด้วยการเย็บแบบ zipper หรือซ่อมแซมด้วย PMM flap  ทำให้การศึกษานี้ไม่พบภาวะรูรั่วที่คอหอยหลังผ่าตัด นอกจากนี้ การให้ post-operative radiotherapy หรือ post-operative chemoradiation หลังการผ่าตัด ตามความเสี่ยงของผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบ primary surgery มี OS และ DFS อยู่ในระดับที่ดี

คำสำคัญ:  การผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด;   มะเร็งกล่องเสียง;   มะเร็งช่องคอส่วนล่าง;  ภาวะรูรั่วที่คอหอยหลังผ่าตัด 

Background and objective: Total laryngectomy has the major role in laryngeal and hypopharyngeal cancer treatment. The most common post-operative complication was pharyngocutaneous fistula particularly the patients who undergoing total laryngectomy after previous radiotherapy. This study aimed to evaluate the incidence of pharyngocutaneous fistula and also the overall survival after surgery.

Method: This is the retrospective study of patients who underwent total laryngectomy or total laryngopharyngectomy between 2014 and 2018 at National Cancer Institute, Thailand.

Results:     Forty-two male patients were included in the study. The primary total laryngectomy accounted for 66.7% of the laryngectomy procedures. Moreover, there was no patient experienced post-operative pharyngocutaneous fistula. In the follow-up period, there were 11 patients (26.2%) had recurrent disease.The most common pattern of recurrent was lung metastasis.The patients who underwent primary surgery had 3-year DFS, 5-years DFS, 3-year OS and 5-year OS as 79.4%, 79.4%, 77.3% and 65.6%, respectively. While the salvage surgery group had lesser surival outcome. This group  had  3-year DFS , 5-years DFS ,  3-year OS and  5-year OS  about 46.5% , 42.3% , 62.6% and  59.7%  ,respectively. Nonetheless,there was statistically significant in DFS ( log rank test, p< 0.05) between both groups but not  in OS ( log rank test, p=0.66). Perineural invasion and extranodal extension were the significant negative impact factor in DFS.

Conclusion:   Selecting the patients for appropriate surgical candidates together with repairing the neopharynx with zipper technique or PMM flap resulted no pharyngocutaneous fistula incidence in this study. Moreover, the post-operative radiotherapy or post-operative chemoradiation after surgery encouraged  the survival outcome in primary surgery group in this study. 

Keywords:   Total laryngecomy; Laryngeal cancer;  Hypopharyngeal cancer;  Pharyngocutaneous fistula

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles