Outcomes of Pharmacist Intervention in Schizophrenic Patients: A Systematic Review and Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials

Authors

  • Nathapol Samprasit Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University
  • Waranee Bunchuailua Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University
  • Nattiya Kapol Department of Community Pharmacy, Faculty of Pharmacy, Silpakorn University

Abstract

ผลลัพธ์ของการแทรกแซงโดยเภสัชกรในผู้ป่วยจิตเภท: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม

ณัฏฐพล สัมประสิทธิ์1, วารณี บุญช่วยเหลือ2,  ณัฏฐิญา ค้าผล2*

1 นักศึกษาหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

2 ภาควิชาเภสัชกรรมชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม

หลักการและวัตถุประสงค์: เภสัชกรมีการแทรกแซงเพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่หลากหลาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานที่เกี่ยวข้องกับผลลัพธ์ที่เกิดจากการแทรกแซงโดยเภสัชกรในผู้ป่วยจิตเภท

วิธีการ: ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ PubMed, Scopus, Cochrane CENTRAL, Science Direct, PSyINFO และฐานข้อมูลในประเทศไทย คัดเลือกงานวิจัยทางคลินิกแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมที่มีการประเมินผลลัพธ์ด้านความร่วมมือในการใช้ยา ผลลัพธ์ทางคลินิก และผลลัพธ์ด้านคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ผลโดยใช้แบบจำลองคงที่กับงานวิจัยที่ไม่ต่างแบบกัน และใช้แบบจำลองเชิงสุ่มกับงานวิจัยที่ต่างแบบกัน รายงานผลการวิเคราะห์ผลลัพธ์เป็นค่าความต่างเฉลี่ยมาตรฐาน และสัดส่วนของความเสี่ยง

ผลการศึกษา: พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวม 9 เรื่อง มีผู้ป่วยจิตเภทรวม 673 ราย ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่าการแทรกแซงโดยเภสัชกรมีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยา โดยกลุ่มที่ได้รับการแทรกแซงโดยเภสัชกรมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่ากลุ่มควบคุม (ค่าผลต่างเฉลี่ยมาตรฐาน =0.60, 95% CI 0.41, 0.79) และสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความร่วมมือในการใช้ยาระดับดีกว่า (สัดส่วนของความเสี่ยง=1.13, 95% CI 1.07, 1.19) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: การแทรกแซงโดยเภสัชกรทำให้ผู้ป่วยจิตเภทมีความร่วมมือในการใช้ยาระดับดีขึ้น

คำสำคัญ:   จิตเภท; การแทรกแซงโดยเภสัชกร

Background and Objective: There are many pharmacy interventions for schizophrenic patients. This study aimed to systematically review the literatures and conduct a meta-analysis on the outcomes of pharmacist intervention in schizophrenia patients.

Methods: Research articles from international electronic databases (PubMed, Scopus, Cochrane CENTRAL, Science Direct, PSyINFO) and Thai electronic databases were searched and collected. The randomized controlled trials that investigated the outcomes of medication adherence, clinical outcomes and quality of life were selected. The analysis method depended on the heterogeneity. The random-effect model was used when the data was heterogeneity, whereas the fix-effect model was used when the data was not heterogeneity. The pool estimation was analyzed to report the standard mean difference (SMD) and benefit ratio, and the proportion of patients with improvement of outcome (as relative risk).

Results: There were nine studies with a total of 673 schizophrenia patients met the inclusion criteria. Results of meta-analysis showed that the pharmacist intervention statistically significant affected on the medication adherence. The mean score of medication adherence of patients in the pharmacist intervention group were more than the control group (SMD=0.60, 95% CI 0.41, 0.79) and the pooled relative risk for medication adherence was 1.13 (95% CI 1.07, 1.19).

Conclusion: pharmacist intervention improved the medical adherence of schizophrenic patients.

Keywords: Schizophrenia; Pharmacist intervention

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles