Depression and Medication Adherence in Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis Patients
Abstract
ภาวะซึมเศร้า และความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
ชานนท์ จารุพักตรานนท์1, กานตพัจน์ พ่วงหลาย1, สิริภา ช้างศิริกุลชัย2, จิรายุทธ จันทร์มา2, วรรณคล เชื้อมงคล1*
1 สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
2 สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: จำนวนผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี และภาวะซึมเศร้าก็มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้นเช่นกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้า และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความร่วมมือในการใช้ยาในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มารับบริการที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 115 ราย
ผลการศึกษา: พบความชุกของภาวะซึมเศร้าร้อยละ 40.00 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าได้แก่ ระดับการศึกษา จำนวนปีที่เป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวนปีที่ล้างไต และระดับอัลบูมินในเลือด และพบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้ากับความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง (p = 0.034) โดยผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าจะให้ความร่วมมือในการใช้ยาต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า และภาวะซึมเศร้า มีแนวโน้มจะพบมากในผู้ป่วยที่เริ่มล้างไตในระยะ 5 ปีแรก
สรุป: ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่มารับบริการที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีภาวะซึมเศร้าร้อยละ 40.00 และภาวะซึมเศร้าส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้ยา ดังนั้นควรมีการคัดกรองภาวะซึมเศร้าโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เพิ่งเริ่มล้างไตในช่วง 5 ปีแรก
คำสำคัญ: ภาวะซึมเศร้า; ความร่วมมือในการใช้ยา; ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
Abstract
Background and Objectives: The number of continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) patients had been trending upwards every year. Meanwhile, many people were suffering from depression. This study was conducted to observe the prevalence of depression and to analyze the relationship between depression and medication adherence among CAPD patients.
Methods: This cross-sectional descriptive study was performed in 115 CAPD patients at HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn medical center.
Results: The prevalence of depression was 40%. The factors affecting depression were education level, duration (years) of having chronic kidney disease, duration (years) of undergoing CAPD and serum albumin level. There was a relationship between depression and medication adherence in CAPD patients (p = 0.034). Those patients with depression had lower level of medication adherence than those without depression. Moreover, depression tended to be associated with those who undergoing CAPD for the first 5 years.
Conclusion: Forty percent of CAPD patients at HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn medical center had depression. Depression was associated with lower medication adherence. Therefore, the screening for depression should be considered in patients undergoing CAPD particularly in the first 5 years.
Keywords: depression; medication adherence; continuous ambulatory peritoneal dialysis patients