The Effects of Orientation and Mobility Training on Functional Abilities and Self-Esteem of Persons with Visual Impairment

Authors

  • Pawinee Layothee Department of Rehabilitation Medicine, Kuchinarai Crown Prince Hospital
  • Nomjit Nualnetr School of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University

Abstract

ผลของการฝึกการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวต่อความสามารถในการทำกิจกรรมและความภาคภูมิใจแห่งตนของคนพิการทางการเห็น

ภาวินี ลาโยธี1, น้อมจิตต์ นวลเนตร์2,3,4*

1กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

2สาขาวิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

3ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนวัยแรงงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

4กลุ่มวิจัยโรคหลอดเลือดสมอง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์: การฝึกการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว (orientation and mobility training, O&M) ได้รับการส่งเสริมให้ดำเนินการทั่วประเทศไทย เพื่อช่วยให้คนพิการทางการเห็นในชุมชนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างอิสระมากยิ่งขึ้น แต่การศึกษาเกี่ยวกับผลของการฝึก O&M ยังมีจำนวนจำกัด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถในการทำกิจกรรมและความภาคภูมิใจแห่งตนของคนพิการทางการเห็นที่ผ่านการฝึก O&M หลักสูตรหนึ่ง

วิธีการศึกษา: อาสาสมัครคือคนพิการทางการเห็นจำนวน 40 รายที่ได้รับการฝึก O&M จำนวน 80 ชั่วโมง ตามหลักสูตรของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อาสาสมัครได้รับการประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมก่อนเริ่มการฝึก เมื่อสิ้นสุดการฝึกในสัปดาห์ที่ 4 และช่วงติดตามผลในสัปดาห์ที่ 12 ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น รวมทั้งได้รับการประเมินความภาคภูมิใจแห่งตนก่อนเริ่มการฝึกและในสัปดาห์ที่ 12 ของการติดตามผลด้วยแบบสอบถาม Rosenberg Self-esteem Scale ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ผลการศึกษาด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และ paired t-test

ผลการศึกษา: ภายหลังการฝึก O&M พบว่าอาสาสมัครมีความสามารถในการทำกิจกรรมและความภาคภูมิใจแห่งตนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

สรุป: การฝึก O&M เป็นเวลา 80 ชั่วโมงสามารถเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมและความภาคภูมิใจแห่งตนของคนพิการทางการเห็น ผลการศึกษานี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการออกแบบหลักสูตรการฝึก O&M ให้เหมาะสมกับคุณลักษณะและบริบทของคนพิการทางการเห็นในชุมชนอื่น ๆ

คำสำคัญ: การฝึกการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว; คนพิการทางการเห็น; ความภาคภูมิใจแห่งตน

 

Background and Objective: In Thailand, the orientation and mobility (O&M) training for persons with visual impairment (VI) has been promoted to increase their independent living. However, studies about the effects of O&M training were limited. This study aimed to evaluate changes in functional abilities and self-esteem of persons with VI after participating in an O&M training course.

Methods: Participants were 40 persons with VI who received an 80-hour O&M training course of Kuchinarai Crown Prince Hospital, Kalasin Province. Their functional abilities were assessed at baseline, after finishing the training (week 4) and at the follow-up period (week 12) by using an assessment form designed by the investigators. Additionally, at baseline and week 12, the participants were requested to answer the Rosenberg Self-esteem Scale-Thai version. Data were analyzed by using descriptive statistics, repeated measures ANOVA and paired t-test.

Results: After the O&M training, the participants significantly increased their functional abilities and self-esteem (p<0.001).

Conclusions: The 80-hour O&M training could improve functional abilities and self-esteem of persons with VI. These findings should be useful for designing O&M training curricula which are relevant to characteristics and contexts of persons with VI in other communities.

Keywords: orientation and mobility training; persons with visual impairment; self-esteem

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles