Effect of Exposure to Low-Level Toluene on Learning and Memory in Mice

Authors

  • Pichai Kantachai College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University
  • Sirinya Laten College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University
  • Narakorn Sareelae Thunyarak Udonthani Hospital
  • Kanlaya Munluan Faculty of Nursing Western University
  • Wittaya Byagghantara College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University
  • Kanit Sripankaew Faculty of Nursing Rattana Bundit University, Prathumthani Campus

Abstract

ผลของการสัมผัสโทลูอีนความเข้มข้นต่ำต่อการเรียนรู้และความจำในหนูทดลอง

พิชัย กันทะชัย 1* , ศิริญญา หล้าเต็น 1 , นรากร สารีแหล้ ,กัลยา  มั่นล้วน 3 ,   วิทยา พยัคฆันตร 1 , กนิษฐ ศรีปานแก้ว

1 วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา

2 พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี

3 คณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 

4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต วิทยาเขตปทุมธานี

หลักการและวัตถุประสงค์:  เน้นศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบด้านการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และความจำ เพื่อวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของโทลูอีนที่รับสัมผัสแล้วส่งผลต่อพฤติกรรมทางระบบประสาท

วิธีการศึกษา: หนูไมซ์ ได้รับสารโทลูอีนขนาดแตกต่างกันเป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ พฤติกรรมและระยะเวลาที่หนูทดลองว่ายน้ำอยู่ในบริเวณที่เคยมีแท่นใต้น้ำอยู่ ก่อนและหลังการได้รับสารโทลูอีน ถูกทดสอบด้วยแบบทดสอบมอริส วอเตอร์เมสเทส ทำการวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติ Paired sample t-test, One-way ANOVA และ Repeated - Measures ANOVA

ผลการศึกษา:  หนูทดลองที่สัมผัสโทลูอีนความเข้มข้น 50, 100 และ 150 ส่วนในล้านส่วน (ppm) มีการเรียนรู้แตกต่างกับหนูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01  ค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่หนูทดลองว่ายน้ำของหนูกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.01 ส่วนหนูกลุ่มทดลอง 3 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยระยะเวลาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม พบว่า ค่าเฉลี่ยระยะเวลาของหนูกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง หลังสัมผัสโทลูอีน มีแนวโน้มที่แตกต่างกัน (p<0.01)

สรุป: การรับสัมผัสโทลูอีนความเข้มข้นต่ำเป็นระยะเวลาต่อเนื่องมีผลต่อการเรียนรู้และความจำในหนูทดลอง ต้องมีการศึกษาให้แน่ชัดในมนุษย์เพื่อให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่ต้องปฏิบัติงาน และนำมาสู่การกำหนดมาตรการป้องกันที่เหมาะสมต่อไป

คำสำคัญ:  การสัมผัสโทลูอีน; การเรียนรู้และความจำ;  มอริส วอเตอร์ เมส เทส

Background and Objective: Focusing on the study of the effects of exposure toluene on brain functions related to learning and memory. To analyze the level of exposure toluene that affect neurological behavior.

Methods:  Experimental mice were exposed to different levels of toluene 5 days per week for 4 weeks continuously. The behavior and duration of the swimming mice in the zone that used to have an underwater platform were testing prior and after exposure to toluene by the Morris Water Maze Test. The statistical differences were analyzed by the Paired sample t-test, One-way ANOVA, and Repeated- Measures ANOVA

Result: Experimental mice that exposed to toluene concentration of 50, 100 and 150 ppm.  There was a statistically significant difference in learning with control mice at the level of 0.01. The mean swimming duration of the post-control mice was statistically significant at the level of 0.01. Three groups of experimental mice showed no significant difference in the meantime. When analyzing the differences between the groups, it was found that the mean duration of the control and experimental group mice. After exposed to toluene with different tendencies (p <0.01)

Conclusion: Continuous exposure to low concentrations of toluene affects learning and memory in experimental mice. Must be studied clearly in humans. In order to see the health effects of those who need to work And will lead to the determination of appropriate preventive measures.

Keywords: Toluene Exposure; Learning and Memory; Morris Water Maze Test

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles