Attitudes towards the Use of Auxiliary Labels among Outpatients in a Community Hospital and 4 Health Promoting Hospitals

Authors

  • Suyapat Konchoho Division of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmaceutical Sciences, KhonKaen University
  • Narumol Jarernsiripornkul Division of Clinical Pharmacy, Faculty of Pharmaceutical Sciences, KhonKaen University

Abstract

ทัศนคติต่อการใช้ฉลากยาเสริมของผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 4 แห่ง

ศุญาภัทร โกนจอหอ, นฤมล เจริญศิริพรกุล*

1สาขาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Accepted: 15 July 2020

หลักการและวัตถุประสงค์: โครงการ Rational Drug Use (RDU) ถูกตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาที่ไม่เพียงพอของผู้ป่วย ได้มีการจัดทำฉลากยาเสริม เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงฉลากยาได้ทุกรายและเพิ่มความรู้ทางยาให้กับผู้ป่วย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจทัศนคติของผู้ป่วยนอกต่อการใช้ฉลากยาเสริม และปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของผู้ป่วย

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ดำเนินการในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 4 แห่ง ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่ได้รับยาอย่างน้อย 1 ใน 10 รายการ ได้แก่ allopurinol, amlodipine, colchicine, domperidone, enalapril, glipizide, ibuprofen, paracetamol, paracetamol ผสมกับ Orphenadrine และ simvastatin ร่วมกับมีประวัติการใช้ยาดังกล่าวอย่างน้อย 1 เดือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 1,000 ราย (100 ราย/รายการยา) ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับแบบสอบถามเกี่ยวกับทัศนคติต่อการใช้ฉลากยาเสริมจำนวน 14 ข้อ ประเมินโดยใช้ 5-point Likert scales และนำมาแปลเป็นระดับทัศนคติต่อการใช้ฉลากยาเสริมของผู้ป่วย 3 ระดับ คือ ไม่ดี ปานกลาง และดี

ผลการศึกษา: จากผู้ป่วย 1,000 ราย พบว่า ร้อยละ 51.8 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 55.61 ± 12.86 ปี โดยผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อฉลากยาเสริมร้อยละ 35.5 (mean ± SD = 56.58 ± 3.40) และระดับปานกลางร้อยละ 64.5 (mean ± SD = 43.34 ± 3.53) ผู้ป่วยเห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับฉลากยาเสริม 3 อันดับแรก กับข้อความต่อไปนี้:“ฉลากยาเสริมเป็นแหล่งข้อมูลทางยาที่น่าเชื่อถือ” (ร้อยละ 32.2), “หากท่านมีข้อสงสัยในการใช้ยาฉลากยา-เสริมจะเป็นตัวเลือกแรกที่ท่านเลือกใช้” (ร้อยละ 30.3) และ “ฉลากยาเสริมช่วยให้ท่านจดจำชื่อยาที่ท่านได้รับ” (ร้อยละ 26.9) ผู้ป่วยไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับฉลากยาเสริม 3 อันดับแรก กับข้อความต่อไปนี้:                 “ไม่จำเป็นต้องมีฉลากยาเสริมในยาทุกตัว” (ร้อยละ 32.6), “ฉลากยาเสริมทำให้ท่านไม่สบายใจในการแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อเกิดผลข้างเคียงจากยา” (ร้อยละ 28.2) และ “เมื่ออ่านฉลากยาเสริม ทำให้ท่านอยากหยุดใช้ยา” (ร้อยละ 26.4) สำหรับการวิเคราะห์หลายตัวแปร พบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติที่ดีต่อการใช้ฉลากเสริม ได้แก่ อายุ (OR 0.450, p=0.005), อาชีพ (OR 0.474, p=0.005) รายได้ที่สูงขึ้น (OR 6.187, p=0.002), จำนวนยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (OR 0.177, p=0.002)

สรุป: ผู้ป่วยมีทัศนคติที่ดีต่อฉลากยาเสริมและตระหนักถึงความสำคัญของฉลากยาเสริม ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของฉลากยาเสริม ตลอดจนสนับสนุนการใช้ฉลากยาเสริมกับทุกรายการยา เพื่อเพิ่มความรู้ทางยาของผู้ป่วย

คำสำคัญ: ทัศนคติ; ฉลากยาเสริม; ฉลากยา; ผู้ป่วยนอก

Abstract

Background and objectives: Rational Drug Use (RDU) project has been established to solve drug-related problems especially insufficient patients’ knowledge on medication use. Auxiliary labels has been launched to support all patients to get more access in drug labels and increase knowledge of their medications. Therefore, this study aimed to survey attitudes of outpatients towards the use of auxiliary labels and to assess factors related to the patients’ attitudes.

Method: This cross-sectional study was conducted in a community hospital and four health promoting hospitals under the ministry of public health, Nakhon Ratchasima province. The study enrolled patients at the age of 18 and over who had received at least one out of ten drugs including allopurinol, amlodipine, colchicine, domperidone, enalapril, glipizide, ibuprofen, paracetamol, paracetamol mixed with orphenadrine, and simvastatin, and those had at least one month of drug use history. The sample was selected by purposive sampling in the total number of 1,000 respondents (100 for each drug). All patients received a questionnaire about the attitudes towards using auxiliary labels consisting of 14 items. Data was assessed using 5-point Likert scales and interpreted into 3 levels of the patients’ attitudes towards using auxiliary labels as poor, fair and good.

Results: Of the total 1000 patients, 51.8% were females with an average age of 55.61 ± 12.86 years old. The patients expressed their attitudes towards use of auxiliary labels at a good level 35.5% (mean ± SD = 56.58 ± 3.40) and a fair level 64.5% (mean ± SD = 43.34 ± 3.53). The patients strongly agreed with the top 3 following statements about auxiliary labels: "Auxiliary labels are reliable information sources" (32.2%), "If you have any questions about drug use, auxiliary labels will be the first option that you choose to use" (30.3%), and "Auxiliary labels help you remember the names of the drugs you received" (26.9%). Patients strongly disagreed with the top 3 following statements about auxiliary labels: "There is no need to have an auxiliary label for every drug" (32.6%), "Auxiliary labels make you feel uncomfortable to inform healthcare professionals when having side effects” (28.2%), and "When reading auxiliary labels, you want to stop using the medicines" (26.4%). Regarding the multivariate analysis, the independent factors related to better attitudes towards using auxiliary labels including age (OR 0.450, p=0.005), careers (OR 0.474, p=0.005), higher income (OR 6.187, p=0.002) and number of drugs currently used (OR 0.177, p=0.002).

Conclusion: Patients had good attitudes towards auxiliary labels and they were aware of the importance of auxiliary labels. Therefore, strategies to increase patients’ recognition about the importance of auxiliary labels should be promoted. Also, auxiliary labels in all drugs prescribed should be provided to patients to increase knowledge of their medications.

Keywords: attitudes; auxiliary labels; drug labels; outpatients

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles