The Effectiveness of Desferrioxamine Administration by Retained IV Catheter into Subcutaneous towards Pain and Satisfaction in Thalassemic Patients

Authors

  • Ruenrudee Kaennak Out Patients Department, Faculty of Medicine, KhonKaen University
  • Jitpinan Srijakkot Nursing Administration Department, Faculty of Nursing, Khon Kaen University
  • Arunee Jetsrisuparp Department of Pediatrics, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Kannika Chathum Out Patients Department, Faculty of Medicine, KhonKaen University

Abstract

ผลของการฉีดยาขับธาตุเหล็ก Desferrioxamine โดยการคาเข็มให้น้ำเกลือไว้ใต้ผิวหนัง ต่อความปวดและความพึงพอใจในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

รื่นฤดี แก่นนาค1, จิตภินันท์ ศรีจักรโคตร2, อรุณี เจตศรีสุภาพ3, กรรณิกา ชาธรรม1

1แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์ :  การให้ยาฉีดขับธาตุเหล็ก Desferrioxamine เป็นการรักษาผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะธาตุเหล็กเกิน นิยมให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ปัจจุบันใช้การคาเข็มปีกผีเสื้อไว้ใต้ผิวหนัง ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวด และไม่พึงพอใจ จึงได้ทำการเปลี่ยนเป็นการคาเข็มให้น้ำเกลือไว้ใต้ผิวหนัง การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฉีดยาขับธาตุเหล็ก Desferrioxamine โดยการคาเข็มให้น้ำเกลือไว้ใต้ผิวหนังต่อความปวดและความพึงพอใจในผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย

วิธีการศึกษา:   เป็นการศึกษากึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลัง คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความปวด และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test

ผลการศึกษา: พบว่าการฉีดยาขับธาตุเหล็ก Desferrioxamine โดยการคาเข็มให้น้ำเกลือไว้ใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยมีความปวดโดยรวมอยู่ในระดับไม่ปวด (0.40±0.81)   ส่วนการฉีดยาโดยการคาเข็มปีกผีเสื้อไว้ใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยมีความปวดอยู่ในระดับปานกลาง (5.40±1.19)     และเมื่อเปรียบเทียบความปวดของการฉีดยาทั้งสองรูปแบบวิธี พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ส่วนความพึงพอใจต่อการฉีดยาขับธาตุเหล็ก Desferrioxamine พบว่า ความพึงพอใจต่อการฉีดยาขับธาตุเหล็ก Desferrioxamine โดยการคาเข็มให้น้ำเกลือภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.40±0.50) ส่วนการคาเข็มปีกผีเสื้อความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (2.87±0.35) และพบว่าความพึงพอใจต่อการฉีดยาทั้งสองรูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)

สรุป: การฉีดยาขับธาตุเหล็ก Desferrioxamine โดยการใช้เข็มให้น้ำเกลือคาเข็มไว้ใต้ผิวหนังผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย มีความปวดน้อยกว่าและมีความพึงพอใจมากกว่าการใช้เข็มปีกผีเสื้อคาเข็มไว้ใต้ผิวหนัง

คำสำคัญ : โรคธาลัสซีเมีย;  ยาขับธาตุเหล็ก Desferrioxamine;  เข็มปีกผีเสื้อ;  เข็มให้น้ำเกลือ;  คาเข็มใต้ผิวหนัง

Background and objective:  Desferrioxamine injection is a method of treatment for iron overloaded thalassemic patients, recommended by subcutaneous injection. Currently using retained Butterfly needle into subcutaneous, causing pain and dissatisfaction, therefore it was changed to retained  IV Catheter into subcutaneous.The purpose of this research was to evaluate the effectiveness of Desferrioxamine administration by Retained IV Catheter into Subcutaneous towards pain and Satisfaction in Thalassemic Patients.

Methods :  This investigation was a Quasi-experimental research, one group pretest – posttest design.Selected by purposive sampling focused on 30 inclusion criteria patients.The research tool were 1) A pain assessment 2) A satisfaction assessment.Data was analyzed by using frequency, percentage,means,standard deviation,and Paired t-test.

Results : The results showed that using Desferrioxamine injection by retained IV-Catheter into subcutaneous, patients had overall pain at the level of no pain (0.40±0.81). While retained butterfly needle into subcutaneous, the patients had moderate pain (5.40±1.19). Comparison the pain of both injection methods, it was found that there were statistically significant differences (p<0.001).  Whereas the satisfaction of Desferrioxamine injection by retained IV-Catheter into subcutaneous is the highest level (4.40±0.50), while the butterfly needle was at a moderate level (2.87±0.35) and found that satisfaction with both methods has statistically significant differences (p<0.001).

Conclusion : An iron chelotor, Desferrioxamine injection by retained IV-Catheter into subcutaneous, thalassemic patients had less pain and more satisfaction than retained butterfly needle into subcutaneous.

Keywords: Thalassemia; Desferrioxamine; Butterfly-needle; IV-Catheter;  Subcutaneous injection

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles