Screening and Management for Latent Tuberculosis Infection (LTBI) in Household Contacts

Authors

  • Jatuporn Wanchaitanawong Division of Pulmonary and Critical Care Medicine, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Wipa Reechaipichitkul Division of Pulmonary and Critical Care Medicine, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Apichart So-ngern Division of Sleep Medicine, Department of Medicine, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

การคัดกรองและรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงในผู้สัมผัสร่วมบ้าน

จตุพร วันไชยธนวงศ์1, วิภา รีชัยพิชิตกุล1*, อภิชาติ โซ่เงิน2

1สาขาวิชาโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2สาขาวิชานิทราเวชศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

          วัณโรคยังคงเป็นปัญหาการเจ็บป่วยทางสาธารณสุขของทั่วโลก และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงที่สุดในกลุ่มของโรคติดต่อ ผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดมีโอกาสป่วยเป็นวัณโรคหรือติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงสูงกว่าประชากรทั่วไป ดังนั้น ถ้าผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคมีอาการไข้ ไอ น้ำหนักลด ควรตรวจภาพถ่ายรังสีทรวงอกและตรวจเสมหะย้อมสีทนกรดเพื่อวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ ในกรณีที่ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคไม่มีอาการทางคลินิก ภาพถ่ายรังสีทรวงอกปกติ และย้อมเสมหะสีทนกรดไม่พบเชื้อ ควรได้รับการทดสอบผิวหนัง tuberculin skin test (TST) หรือ ตรวจเลือดเพื่อตรวจ interferon-gamma release assay (IGRA) ว่าติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงหรือไม่ ผู้สัมผัสร่วมบ้านที่ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นวัณโรคโดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง สูตรยาที่แนะนำให้ใช้ในการรักษาการติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง ได้แก่ การรับประทานยา isoniazid ตัวเดียวทุกวันเป็นระยะเวลา 6 เดือน การรับประทานยา rifampicin ตัวเดียวทุกวันเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน การรับประทานยา rifampicin ร่วมกับ isoniazid ทุกวันเป็นระยะเวลา 3-4 เดือน หรือการรับประทานยา rifapentine ร่วมกับ isoniazid สัปดาห์ละครั้งเป็นระยะเวลา 3 เดือน สูตรยาที่รับประทานยาสั้นลงมีประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่าการรับประทานยา isoniazid ตัวเดียวทุกวันเป็นระยะเวลา 6 เดือน แต่ทำให้รับประทานยาได้สม่ำเสมอไม่ขาดยาและรับประทานยาได้ครบสูงกว่า ดังนั้นการตรวจคัดกรองผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรคปอดตั้งแต่แรกเพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงจึงมีความสำคัญมาก ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงที่จะเกิดการเจ็บป่วยด้วยวัณโรค ซึ่งจะมีผลทำให้การเจ็บป่วยด้วยวัณโรคของทั่วโลกลดลง

 

คำสำคัญ: การติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง; ผู้สัมผัสร่วมบ้าน

 

 

Abstract

          Tuberculosis (TB) remains the global health problem and the most common cause of death among communicable diseases. Household contacts with active pulmonary TB patients have a chance to develop active TB disease or latent tuberculosis infection (LTBI) more than general population. Contact cases who have fever, cough, weight loss should be investigated for active TB disease by chest radiograph and sputum acid fast bacilli (AFB) staining. Contact cases who have no symptoms, normal chest radiograph and negative sputum AFB smear should be further investigated for LTBI by tuberculin skin test (TST) or interferon-gamma release assay (IGRA). Household contacts who have LTBI are at risk of progression to TB disease especially in young children and immunocompromised host. Recommended regimen for LTBI treatment included: 6 months of daily isoniazid monotherapy, 3-4 months of daily rifampicin monotherapy, 3-4 months of daily rifampicin plus isoniazid, and 3 months of weekly rifapentine plus isoniazid. The shorten regimens have noninferiority efficacy compared with 6 months of daily isoniazid monotherapy, but have much better compliance and completed treatment. Therefore, the early detection and treatment of LTBI in household contact with pulmonary TB patients is crucial to reduce the risk of developing active TB disease and impact of decreasing incidence of global TB infection.

 

Key word: Latent tuberculosis infection; Household contacts

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Review Article