Outcome of Modified Radical Mastectomy of Breast Cancer in Srinagarind Hospital
Abstract
ผลการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธี Modified Radical Mastectomy ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
อนงค์พร วงศ์พุทธะ, ปุณวัฒน์ จันทรจำนง, ดำเนิน วชิโรดม, องอาจ โสมอินทร์
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและวัตถุประสงค์: การรักษามะเร็งเต้านมขึ้นกับระยะของโรค ซึ่งมะเร็งเต้านมในระยะที่ 1-3 การรักษาที่เป็นที่ยอมรับในปัจจุบันวิธีหนึ่งก็คือการผ่าตัดเต้านมด้วยวิธี Modified radical mastectomy (MRM) และอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยก็ขึ้นกับระยะของโรค การศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อศึกษาอัตราการรอดชีวิตในระยะเวลา 5 ปี และอัตราการเกิดโรคซ้ำในเวลา 3 ปี ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยวิธี MRM ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีวัตถุประสงค์รองเพื่อดูผลข้างเคียงหลังการผ่าตัด และ ปัจจัยที่อาจจะมีผลต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยนั่นเอง
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลผู้ป่วยแบบ retrospective study ในผู้ป่วย มะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดโดยวิธี MRM จากเวชระเบียนของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่ 1 มกราคม 2547- 1 ธันวาคม 2550
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยวิธี MRM ทั้งหมด 215 ราย พบว่าอายุโดยเฉลี่ย 51.1 ปี โดยพบช่วงอายุที่พบมากที่สุดคืออายุ 41-50 ปี ตำแหน่งที่พบมะเร็งเต้านมมากที่สุดอยู่ที่ด้านบนและด้านนอกของเต้านมซึ่งพบด้านซ้ายและด้านขวาได้ไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะอยู่ในระยะที่สอง ผลการรักษาอัตราการรอดชีวิตที่ห้าปีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 83.6 และอัตราการรอดชีวิตโดยปราศจากโรคที่สามปีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 78.9 โดยผลข้างเคียงหลังจากการผ่าตัดที่พบบ่อยที่สุดคือ น้ำเหลืองคั่งใต้แผลผ่าตัด
สรุป: อัตราการรอดชีวิตที่ห้าปีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 83.6 และอัตราการรอดชีวิตโดยปราศจากโรคที่สามปีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 78.9
คำสำคัญ: มะเร็งเต้านม; การผ่าตัดด้วยวิธี Modified Radical Mastectomy; อัตราการรอดชีวิตที่ห้าปีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม; อัตราการรอดชีวิตโดยปราศจากโรคที่สามปีของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
Background and Objective: Modified Radical Mastectomy (MRM) is one option for the surgical treatment of breast cancer which is widely used in Srinagarind Hospital. This study aimed to evaluate the outcome of Modified Radical Mastectomy by studying the 5-year survival rate and 3-year disease-free survival rate, complication and risk factor of survival of breast cancer patients at Srinagarind Hospital.
Material and Method: We reviewed the case records of 215 consecutive breast cancer patients who underwent MRM at Srinagarind Hospital, Faculty of medicine, Khonkaen University between January 2004 and December 2007
Result: Of all the 215 patients over the study period, the mean age was 51.1 years old. The most common site of tumor was located by the upper outer quadrant (46.5%). Most patients had Stage II breast cancer: 117 patients (54.4%). The most common operative surgical complication was seroma collection in that was found in seven percent of patients. The 5-year survival rate was 83.6% and the 3-year disease-free survival rate was 78.9%.
Conclusion: The 5-year survival rate of breast cancer patient who underwent MRM was 83.6% and the 3-year disease-free survival rate was 78.9 %.
Keywords: Breast cancer; Modified Radical Mastectomy; 5-year survival rate; 3-year disease- free survival rate