Update Interdisciplinary Clinical Practice Guideline for Patients with Cleft Lip and Palate at Prenatal Until 5 Years

Authors

  • Suteera Pradubwong Division of Nursing, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Darawan Augsornwan Division of Nursing, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Suntaree Namjaitaharn Division of Nursing, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Orathai Saenbon Division of Nursing, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Jamras Wongkham Division of Nursing, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Tippawan Muknumporn Department of Anesthesia, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Chanatiporn Chonprai Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Niramol Patjanasoontorn Department of Psychiatry, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Patimaporn Pungchanchaikul Faculty of Dentistry, Khon Kaen University
  • Aggasit Manosudprasit Faculty of Dentistry, Khon Kaen University
  • Poonsak Pisek Faculty of Dentistry, Khon Kaen University
  • Benjamas Prathanee Department of Otolaryngology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Kengkart Winaikosol Plastic and Reconstructive Unit, Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Bowornsilp Chowchuen Plastic and Reconstructive Unit, Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

การอัปเดตแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่แบบสหวิทยาการในช่วงตั้งครรภ์ถึงอายุ 5 ปี

สุธีรา ประดับวงษ์1*, ดาราวรรณ อักษรวรรณ1, สุนทรี น้ำใจทหาร1, อรทัย แสนบน1, จำรัส วงศ์คำ1, ทิพยวรรณ มุกนำพร2, ชณัติพร ชลไพร3, นิรมล พัจนสุนทร3, ปฏิมาพร พึ่งชาญชัยกุล4, เอกสิทธิ์ มโนสุดประสิทธิ์4, พูนศักดิ์ ภิเษก4, เบญจมาศ พระธานี5, เก่งกาจ วินัยโกศล6, บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น6

หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ต้องการการดูแลรักษาเป็นเวลานานจากทีมสหวิทยาการ ช่วงสำคัญของการรักษาคือระยะก่อนตั้งครรภ์จนถึง 5 ปี การอัปเดต (การปรับปรุง) แนวปฏิบัติการดูแลจึงเป็นสิ่งสำคัญ

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการโดยทีมสหวิทยาการของศูนย์ตะวันฉาย 10 สาขา จำนวน 30 ราย ร่วมวิเคราะห์ปัญหาและอัปเดตแนวปฏิบัติ 24 ราย จำนวน 2 ครั้ง ส่งแนวปฏิบัติให้ 3 สาขา คือ กุมารแพทย์ สูติแพทย์ และจิตเวช ที่ไม่เข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อเสนอแนะ และตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้แนวปฏิบัติที่อัปเดตนำไปใช้ และประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกได้  ดำเนินการ 4 เดือน (มกราคม-เมษายน 2562) สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา: พบว่า ช่วง 6 สัปดาห์ก่อนการตั้งครรภ์อัปเดตเป็นให้วิตามินโฟลิก ช่วงอายุ 3-6 เดือน เพิ่มการใส่เครื่องมือประคองรูปร่างจมูกหลังการผ่าตัดซ่อมแซมริมฝีปาก ส่งปรึกษาทันตแพทย์สำหรับเด็ก และส่งประเมิน ส่งเสริมพัฒนาการภาษาและการพูดครั้งที่ 1 ยกเลิกติดตามผลการรักษาตามระบบการลงทะเบียนออนไลน์ ช่วงอายุ 10-18 เดือน เพิ่มประเมินพัฒนาการของสันเหงือกและกระดูกขากรรไกรร่วมกับสุขภาพช่องปากก่อนผ่าตัดเพดานโหว่ ช่วงอายุ 1 ปีครึ่ง-3 ปี และ 4-5 ปี เพิ่มการตรวจหูและหากพบว่ามีการติดเชื้อของหูชั้นกลางให้ตรวจซ้ำทุก 3 เดือน หากไม่มีให้ตรวจซ้ำทุก 6 เดือน จนถึงอายุ 7 ปี จนยูสเตเชี่ยนทำงานได้ดี และยกเลิกติดตามผลการรักษาตามระบบการลงทะเบียนออนไลน์

สรุป: ได้แนวปฏิบัติที่อัปเดตครอบคลุมการดูแลทุกสาขาตามช่วงอายุก่อนตั้งครรภ์จนถึง 5 ปี และประเมินผลลัพธ์ช่วง 5 ปีได้ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับศูนย์การดูแลอื่นๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกันได้

คำสำคัญ: แนวปฏิบัติการดูแล; ปากแหว่งเพดานโหว่; ทีมสหวิทยาการ; ศูนย์ตะวันฉาย

 

Background and Objective: Patients with cleft lip and palate require long-term care from interdisciplinary team. The important phase of treatment is pre-natal until 5 years. Update clinical practice guideline therefore important.

Methods: This participation action research were performed by 30 members  of interdisciplinary team in Tawanchai Center which comprises of 10 disciplines. Participated in analyzing the problem and updating the guideline by 24 members, 2 times, sending the guideline to 3 disciplines which are pediatricians, obstetricians and psychiatrists not attending the meeting to give suggestions. And content validity was checked by 5 experts with updated guidelines applied and clinical outcome evaluation. Study was conducted for 4 months (January - April 2019), summarizing data and content analysis.

Results: It was found that during the 6 weeks before pregnancy, update by giving folic acid, between the ages of 3-6 months, adding the support for the shape of the nose after Cheiloplasty by nasal creator device. Consultation for pediatric dentists and send for the assessment, promoting language and speech development no. 1, cancel follow-up treatment according to the online registration system. Between the ages of 10-18 months, adding evaluating the development of alveolar and maxilla with oral health before palatoplasty, between the ages of 1 and a half-3 years and 4-5 years. Adding evaluation of the middle ear, repeated every 3 months. If not otitis media, repeat every 6 months until the age of 7 years until Eustachian work well. And cancel follow-up treatment according to the online registration system.

Conclusions: The updated guideline covers all interdisciplinary team care, from pre-natal until 5 years and evaluating results over the 5 years. There most beneficial to patients, and could be applied to other centers that has a similar context.

Keywords: Clinical Practice guideline; Cleft lip and palate; Interdisciplinary team; Tawanchai Center

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles