The Effect of Options Counselling and Factors Associate with Decision Making on Pregnancy Options Among Unintended Pregnant Adolescents and Youths

Authors

  • Kesorn Lao-unka Obstetric Nursing Department, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Orathai Seanbon Obstetric Nursing Department, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Jen Sothornwit Department of Obstetrics and Gynecology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Somjit Muangpin Midwifery division, Faculty of Nursing, Khon Kaen University

Abstract

เกสร เหล่าอรรคะ[1]*, อรทัย แสนบน1, เจน โสธรวิทย์2, สมจิตร เมืองพิล3

1 แผนกการพยาบาลสูติ-นรีเวชกรรม งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3สาขาวิชาการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์ :โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้จัดรูปแบบให้คำปรึกษาทางเลือกแก่หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมเพื่อช่วยหาทางเลือกที่เหมาะสม  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาทางเลือก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของหญิงวัยรุ่นและเยาวชนที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อม

วิธีการศึกษา :  การศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) จากเวชระเบียนของหญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อม ที่มารับบริการปรึกษาทางเลือกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์   ในระยะเวลา 3 ปี ย้อนหลัง (พ.ศ. 2559-2561) กลุ่มตัวอย่างเป็นเวชระเบียนของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและเยาวชน อายุไม่เกิน 24 ปีบริบูรณ์  รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและการตัดสินใจ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Fisher’s exact test

ผลการศึกษา:  จากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง 31 ราย พบว่า  มีอายุเฉลี่ย 17.9 ปี (SD ±3.0)   เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 83.9  เป็นการตั้งครรภ์แรก ร้อยละ 93.6 และอายุครรภ์เมื่อมารับบริการครั้งแรก เฉลี่ย 12 สัปดาห์ 6วัน (SD ±7 สัปดาห์ 6วัน)  หลังได้รับคำปรึกษาหญิงตั้งครรภ์ตัดสินใจเลือกตั้งครรภ์ต่อ ร้อยละ 38.7 และเลือกยุติการตั้งครรภ์ ร้อยละ 61.3  นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังมีการตัดสินใจเลือกการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูงร้อยละ 54.8  โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุครรภ์เมื่อมารับบริการครั้งแรก ( Fisher’s exact test 9.54,df=1,p=0.007) สำหรับอายุ  อาชีพ  จำนวนครั้งการตั้งครรภ์ วิธีคุมกำเนิดก่อนตั้งครรภ์ และการมารับบริการด้วยตนเองหรือถูกส่งต่อมา ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกตั้งครรภ์ต่อหรือยุติการตั้งครรภ์  

สรุป:  หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมส่วนใหญ่ตัดสินใจสิ้นสุดการตั้งครรภ์ แต่บางคนมารับบริการเมื่ออายุครรภ์มาก ทำให้ได้รับคำปรึกษาช้าและมีทางเลือกน้อยลง  การเผยแพร่ข้อมูลการให้คำปรึกษาทางเลือกจะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนมีข้อมูลตัดสินใจ สามารถเข้าถึงบริการได้เร็วและลดวิกฤติต่าง ๆ

คำสำคัญ: การให้คำปรึกษาทางเลือก; การตั้งครรภ์ไม่พร้อม; วัยรุ่น; เยาวชน; การตัดสินใจ

                                                                                       

Abstract

Background and Objectives:  An options counselling for unintended pregnant women is provided by Srinagarind hospital to support them to make their own choices. This study aimed to study the effects of options counselling and factors associate with decision making on pregnancy options among unintended pregnant adolescents and youths.

Methods: A retrospective study over three years (2016-2019) was conducted. The data were retrieved from the medical records of unintended pregnant adolescents and youths who participated in the options counselling program at Srinagarind hospital. This study included pregnant adolescents and youths aged 24 years old and under. The sociodemographic data and decision making on pregnancy options were gathered and analyzed by the Fisher’s exact test.

Results: Thirty-one of samples with average age was 17.9 years old (SD ±3.0).  Eighty-four percent were students from high school and college. Almost 94 percent were primigravida.  The average gestational age at first visit was 12 weeks and 6 days (SD ±7 weeks and 6 days). The pregnant adolescents and youths who decided either to continue a pregnancy to term or terminate a pregnancy were accounted for 38.7 and 61.3 percent, respectively. In addition, 58.4 percent of them decided to use the effective contraceptive methods. Gestational age at the first visit was associated with decision making on pregnancy options (Fisher’s exact test 9.54, df=1, p=0.007).  Age, occupation, number of pregnancies, contraceptive methods and healthcare access (by herself or being referred) were not significantly associated with decision making on pregnancy options.

Conclusion:  Most of unintended pregnant women decided to terminate their pregnancies. The first visit was late for some women that could lead to delay receiving options counselling and minimize their choices. The release information of options counselling should be provided for all unintended pregnant women to promote healthcare accessibility within early trimester for reducing the crisis of unintended pregnancy.

 Keywords: option counseling; unintended pregnancy; adolescent; youth; decision making

 

 

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles