Survival Rate of Oral Cancer Patients after Diagnosis in Buriram Hospital, Buriram Province

Authors

  • Sarawoot Nontasila Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Supot Kamsa-ard Department of Epidemiology and Biostatistics, Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Raksak Amphaiphan Otolaryngology, Buriram Hospital
  • Natalie Rose Noisuwan Dental department, Buriram Hospital
  • Thida Ratanawilaisak Dental department, Buriram Hospital

Abstract

อัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งช่องปากหลังการวินิจฉัย ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

ศราวุธ นนทะศิลา1, สุพจน์ คำสะอาด2, รักศักดิ์ อำไพพันธ์3, ณฐลี โรส น้อยสุวรรณ4, ธิดา รัตนวิไลศักดิ์4

1นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์

 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3แผนกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

4กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์ : โรคมะเร็งช่องปาก (Oral cancer, OC) ปัจจุบันมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น จังหวัดบุรีรัมย์ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับอัตราการรอดชีพ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตรารอดชีพผู้ป่วย OC หลังการวินิจฉัย ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

วิธีการศึกษา : ข้อมูลจากทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็น OC รหัสโรคมะเร็งสากล (C00-C06) และได้รับการยืนยันผลพยาธิวิทยา ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2561 ติดตามสถานะสุดท้ายถึงปี พ.ศ. 2562 จำนวน 339 ราย วิเคราะห์อัตรารอดชีพ โดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานการรอดชีพและช่วงเชื่อมั่น 95 % สถิติทดสอบโดย Log-rank test

ผลการศึกษา : ผู้ป่วย OC 339 ราย ระยะติดตาม 444 รายต่อปีปี เสียชีวิต 261 ราย อัตราเสียชีวิต 59.0 ต่อ 100 รายต่อปี (95% CI ; 52.1 - 66.6) ค่ามัธยฐานการรอดชีพ 0.83 ปี  (95% CI ; 0.70 - 0.96) อัตรารอดชีพในระยะเวลา 1, 3 และ5 ปี ร้อยละ 43.9 (95% CI ; 38.5 - 49.1), ร้อยละ 25.0 (95% CI ; 20.2 - 30.0) และร้อยละ 14.8 (95% CI ; 10.0 - 20.4) ตามลำดับ

สรุป : อัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็ง OC หลังการวินิจฉัยในโรงพยาบาลบุรีรัมย์ ระยะเวลา 5 ปีต่ำ ดังนั้นการป้องกันระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิมีความจำเป็น การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรกจะช่วยให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น รวมทั้งการค้นหาปัจจัยในเชิงลึกต่อไป

คำสำคัญ มะเร็งช่องปาก; อัตรารอดชีพ; ทะเบียนมะเร็ง

Abstract

Background and Objective:  Oral cancer (OC) is one of the head and neck cancers. Nowadays, the OC trended to be increased, and there was no study about the survival rate of OC patients in Buriram province. Therefore, the objective of this study was to determine the survival rate of OC after diagnosis in Buriram hospital, Buriram province.

Methods: Data of patients with OC were retrieved from the Buriram hospital-based cancer registry. OC is an International Classification of Diseases for Oncology, 3rd edition; C00 – C06. Patients with OC who were histologically proved and admitted to the Buriram Hospital (2014-2018) and followed up until 2019 of 339 cases. Survival rate were estimated by the Kaplan-Meier method. We reported by median survival time and 95% confidence interval. Comparison group of survival rate were estimated by Log-rank test.

Result: Of 339 OC patients which follow-up time was 444 person-year, and died during the study were 261 cases, corresponding to mortality (Case-fatality) rate of 59.0 per 100 person-year. (95% CI; 52.1 - 66.6). The median survival of OC was 0.83 years (95% CI; 0.70 - 0.96). The overall survival experience of 1, 3 and 5 years were 43.9% (95% CI; 38.5 - 49.1), 25.0 % (95% CI; 20.2 - 30.0), and 14.8 % (95% CI; 10.0 - 20.4), respectively.

Conclusion: The 5-years survival rate of OC after diagnosis at Buriram hospital was low. Therefore, primary and secondary prevention are needed. Screening program for early detection are required for improving the survival rate. Including the factors affecting to OC need to be focus.

Keyword : Oral cancer; Survival rate; Cancer registry

Downloads

Published

2021-01-21

Issue

Section

Original Articles