Update on Mechanism of Insulin Resistance and New Trend of Drug Development

Authors

  • Patcharin Singdam Department of Pharmacology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Patchareewan Pannangpetch Department of Pharmacology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Kampeebhorn Boonloh Department of Pharmacology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

ความรู้ ณ ปัจจุบันเกี่ยวกับกลไกการเกิดภาวะดื้ออินซูลิน และแนวทางการพัฒนา

ยาลดภาวะดื้ออินซูลิน

พัชรินทร์  สิงห์ดำ1,3, พัชรีวัลย์  ปั้นเหน่งเพ็ชร2,3, คัมภีร์พร  บุญหล่อ2,3*

1 นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002

2 ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 40002

3 กลุ่มวิจัยหัวใจและหลอดเลือด มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Abstract

 Insulin plays a crucial role in regulating the proper metabolic and energy balance. Once insulin signal transmissions are decreased, this can lead to a condition known as “insulin resistance”.

Difference mediators, such as pro-inflammatory cytokines, free fatty acids, blood glucose and  ROS level can increase the activity of kinases, i.e. several Protein kinase C (PKC) isoforms, c-Jun N-terminal kinases (JNK), Protein kinase A (PKA), Mammalian Target of Rapamycin (mTOR) and Mitogen-Activated Protein Kinase (MAPK), which affecting the signal of insulin receptors, IRS, and downstream-located effector molecules. Therefore, better understanding on the molecular mechanisms of these pathways is important for developing a more effective treatment of insulin resistance and associated diseases.

This review summarizes the current knowledge on the mechanism of insulin resistance, the diseases associated with insulin resistance and biological effects of recent agents, which are developed for increasing insulin signaling, and are currently undergoing clinical trials.

Keywords: Insulin resistance; lipotoxity; glucotoxicity; ER-stress; New trend drugs

บทคัดย่อ

อินซูลินมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึมและควบคุมสมดุลพลังงานในร่างกาย หากการส่งสัญญานของอินซูลินถูกรบกวน จะนำไปสู่ภาวะที่เรียกว่า “ดื้อต่ออินซูลิน” สารสื่อต่างๆ ที่หลั่งออกมาในช่วงที่เกิดความเครียดระดับเซลล์ เช่น สารสื่ออักเสบ กรดไขมันอิสระ ระดับน้ำตาลและอนุมูลอิสระในเลือด สามารถกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ในกลุ่ม kinase ได้หลายชนิด เช่น PKC บาง isoforms,  JNK, PKA, mTOR, และ MAPK ซึ่งล้วนแล้วแต่จะส่งผลกระทบต่อการส่งสัญญาณของตัวรับอินซูลิน ตลอดจนโมเลกุลอื่นที่เป็นผลของสัญญาณ ดังนั้นการเข้าใจถึงกลไกการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประสิทธิภาพของยาเพื่อใช้รักษาภาวะดื้อต่ออินซูลิน และโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

บทความฉบับนี้ได้สรุปความรู้ ณ ปัจจุบันเกี่ยวกับกลไกการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน กลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่เป็นผลจากการดื้อต่ออินซูลิน ตลอดจนผลตอบสนองจากการใช้ยากลุ่มใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อบรรเทาภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการทดลองทางคลินิกในมนุษย์

คำสำคัญ: ภาวะดื้ออินซูลิน; ความเป็นพิษต่อไขมัน; ความเป็นพิษต่อกลูโคติ; ยาแนวใหม่

Downloads

Published

2021-01-21