Survival Outcome of Patients with Stage 4 Neuroblastoma after Tumor Resection in Srinagarind Hospital

Authors

  • Phicharmon Krittalack Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Ratiyaporn Phannua Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Kanokrat Thaiwatcharamas Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Sinobol Chusilp Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Patchareeporn Tanming Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Suchat Areemit Department of Surgery, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

ผลการรอดชีวิตของผู้ป่วยเนื้องอกนิวโรบลาสโตมาระยะที่  4 ที่ได้รับการผ่าตัด ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

พิชามญ กฤตาลักษณ, รัติติยาภรณ์ พันธ์เหนือ, กนกรัตน์ ไทยวัชรามาศ*, สิโนบล ชูศิลป์, พัชรีภรณ์ ตันมิ่ง, สุชาติ อารีมิตร

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หลักการและวัตถุประสงค์:มากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยนิวโรบลาสโตมาอยู่ในระยะที่ 4 ด้วย

ระยะแพร่กระจายของตัวโรค ณ เวลาที่วินิจฉัย ซึ่งนำไปสู่อัตราการป่วยและอัตราการเสียชีวิตที่สูง คณะผู้แต่งมุ่งศึกษาผลการรอดชีวิตของผู้ป่วยนิวโรบลาสโตมาระยะที่ 4 ที่ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาปัจจัยการพยากรณ์การรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ด้วย

วิธีการศึกษา: การทบทวนเวชระเบียนย้อนหลังของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนิวโรบลาสโตมาระยะที่ 4 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 ถึง 2558 ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้การวิเคราะห์การรอดชีวิต (survival analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยคอกซ์ (Cox-regression analysis) สำหรับปัจจัยพยากรณ์

ผลการศึกษา: ผู้ป่วย 61 รายประกอบด้วยเพศชาย 32 ราย (ร้อยละ 52) เพศหญิง 29 ราย (ร้อยละ 47) ได้รับการวิเคราะห์พบว่า มีอายุเฉลี่ยคือ 4 ปี ได้จัดกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกได้มี 21 ราย ในขณะที่ 38 รายได้รับการผ่าตัดซึ่งประกอบด้วยการผ่าตัดที่สามารถเอาก้อนเนื้องอกออกได้หมดและไม่สามารถเอาก้อนออกได้หมด (25 และ 13 ราย ตามลำดับ) ในข้อมูลการเสียชีวิตพบว่าโดยรวมแล้วหลังได้รับการวินิจฉัยผู้ป่วยเสียชีวิตมีจำนวนทั้งสิ้น 43 ราย (ร้อยละ 72) อัตราการเสียชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก กลุ่มผ่าตัดที่สามารถเอาก้อนเนื้องอกออกได้หมดและไม่สามารถเอาก้อนออกได้หมดเท่ากับ ร้อยละ 2.7 ร้อยละ 2.36 และ ร้อยละ 1.6 ตามลำดับ ระยะเวลาการรอดชีวิตเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก กลุ่มผ่าตัดที่สามารถเอาก้อนเนื้องอกออกได้หมดและไม่สามารถเอาก้อนออกได้หมด คือ 11.43 เดือน 23.10 เดือน และ 35.87 เดือน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตระหว่างกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดกับกลุ่มที่สามารถผ่าตัดได้พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.239) นอกจากนี้พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราการรอดชีวิตระหว่างกลุ่มผ่าตัดที่สามารถเอาก้อนเนื้องอกออกได้หมดและไม่สามารถเอาก้อนออกได้หมด (p = 0.524) และกลุ่มผ่าตัดไม่ที่สามารถเอาก้อนเนื้องอกออกได้หมดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก (p = 0.149)

สรุป: จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยนิวโรบลาสโตมาระยะที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่ไม่ได้รับการผ่าตัดกับกลุ่มที่สามารถผ่าตัดได้ สำหรับปัจจัยการพยากรณ์โรค ได้แก่ ตำแหน่งของเนื้องอกที่กระดูกสันหลัง กลุ่มอายุมากกว่า 18 เดือน กลุ่มที่ผล VMA ในปัสสาวะเป็นบวก และกลุ่มที่มีการแพร่กระจายไปที่ตับ

คำสำคัญ: นิวโรบลาสโตมา; การผ่าตัดเนื้องอก; การรอดชีวิต

 

Background and Objectives: More than half of patients with neuroblastoma were in stage 4 with metastatic disease at diagnosis, leading to high morbidity and mortality rates. We aimed to study the survival outcome of the patients who had stage 4 neuroblastoma at Srinagarind Hospital. Prognostic factors for survival were also determined.

Methods: A retrospective cohort review medical records of stage 4 neuroblastoma patients, from 2006 to 2015 at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University. Using survival analysis for survival outcome and Cox-regression analysis for prognostic factors.

Results: 61 patients, 32 male (52%), 29 female (47%) were analyzed. Median age of patients was 4 years. 21 patients were categorized in unresectable group, while 38 were resectable which consisted of complete and incomplete resection (25 and 13 cases, respectively). In overall mortality data, 43 patients (72%) died after diagnosis. The mortality rates of unresectable complete resection and incomplete resection groups were 2.7%, 2.36%, and 1.6%, respectively. The median survival times of unresectable, complete resection, incomplete resection group was 11.43, 23.10, and 35.87 months, respectively. There were no statistically significant differences of survival experience between resectable and unresectable groups (p = 0.239), between complete resection and unresectable groups (p = 0.524), and between incomplete resection and unresectable group (p = 0.149). 

Conclusions: No significant differences of survival outcome between resectable and unresectable groups in stage 4 neuroblastoma. Prognostic factors are tumor location at spine, age group (>18 month), positive urine VMA and presentation of liver metastasis.

Keywords: neuroblastoma; tumor resection; survival

Downloads

Published

2021-01-22

Issue

Section

Original Articles