Clinical Manifestations in Children Diagnosed Prenatally with Congenital Lung Malformation
Abstract
อาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการแต่กำเนิดของปอดขณะอยู่ในครรภ์
ภัณฑิลา สิทธิการค้า*, รัฐพล อุปลา
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและวัตถุประสงค์: ความพิการแต่กำเนิดของปอดเป็นโรคที่พบได้น้อย ปัจจุบันมีการพัฒนาการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงขณะตั้งครรภ์ ทำให้ตรวจพบผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามการตรวจพบความผิดปกติของปอดแต่กำเนิดขณะอยู่ในครรภ์มารดาอาจแยกชนิดของความพิการแต่กำเนิดกลุ่มนี้ได้ยาก การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการแสดงทางคลินิกของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีที่มีความพิการแต่กำเนิดของปอดขณะอยู่ในครรภ์
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) ทำการทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของปอดโดยกำเนิดและได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของปอดขณะอยู่ในครรภ์มารดาที่มาตรวจรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึง 31 ตุลาคม พ.ศ.2562
ผลการศึกษา: พบผู้ป่วยเด็กได้รับการวินิจฉัยว่ามีความพิการแต่กำเนิดของปอดตั้งแต่อยู่ในครรภ์ 19 ราย ได้รับการวินิจฉัยขณะอายุครรภ์เฉลี่ย 26.63±6.1 สัปดาห์ ลักษณะทางคลินิกที่พบหลังคลอดคือ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการจำนวน 11 ราย (ร้อยละ 57.9) และพบมีอาการผิดปกติจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 42.1) ผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการพบว่ามีอาการหายใจหอบ และตรวจร่างกายที่พบเสียงปอดเบาลง ได้รับการยืนยันการวินิจฉัยหลังคลอดโดยการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์พบความพิการแต่กำเนิดในปอด 16 ราย (ร้อยละ 84.2) ความผิดปกติมากที่สุด คือ congenital pulmonary airway malformation 13 ราย (ร้อยละ 81.2) ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดทั้งหมด 12 ราย (ร้อยละ 75) โดยพบภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทั้งสิ้น 7 ราย (ร้อยละ 58.3)
สรุป: ความพิการแต่กำเนิดของปอดเป็นกลุ่มโรคที่สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ในครรภ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติหลังคลอด ลักษณะทางคลินิกส่วนใหญ่ที่พบคือ หายใจหอบ ความผิดปกติที่พบมากที่สุด คือ congenital pulmonary airway malformation และผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด?
คำสำคัญ: ความผิดปกติของปอดแต่กำเนิด; ก่อนคลอด; หลังคลอด; อาการทางคลินิก
Background and objective: Congenital lung malformation is a group of rare disease characterized by intrathoracic lesion. Prenatal diagnosis was used worldwide but accuracy is limited. This study aimed to determine prenatal and postnatal clinical manifestations in children with congenital lung malformation.
Method: A retrospective chart review was performed on patients who were prenatally diagnosed with congenital lung malformation at Srinagarind hospital during 1st January 2003 to 31st October 2019.
Result: Nineteen children were prenatally diagnosed with congenital lung malformation at mean gestational age of 26.63±6.1 weeks. 11 children (57.9%) did not have any sign and symptoms after delivery. Symptoms and abnormal physical examination were occurred after delivery in 8 children (42.1%). Tachypnea and decrease breath sound were the most common symptoms and signs that presented. They were confirmed diagnosis by computer tomography of chest and found congenital lung malformation in 16 children (84.2%). The most common diagnosis was congenital pulmonary airway malformation (13 cases, 81.2%). 12 cases (75%) underwent surgery and complication were developed in 7 cases (58.3%)
Conclusion: Congenital lung malformation is the disease that can detect prenatally. The most common clinical presentation was tachypnea. Congenital pulmonary airway malformation is the most common cause.
Keywords: congenital lung malformation; prenatal; postnatal; clinical manifestations