Effectiveness of Multidisciplinary Care Development in Geriatric Hip Fractures
Abstract
ประสิทธิผลของการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก
ธำรงค์ศักดิ์ คงมั่น กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสระบุรี
หลักการและวัตถุประสงค์ : ผู้สูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักมักเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการสูญเสียชีวิตค่อนข้างสูง หากไม่มีแนวทางการดูแลอย่างเหมาะสม การพัฒนาแนวทางการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพมีประสิทธิผลต่อการรักษาผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหักให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักเข้ารับการรักษาในแผนกออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสระบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ.2562 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มก่อนและหลังการพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ กลุ่มละ 124 ราย จับคู่กลุ่มทั้งสองให้มีความคล้ายกันในด้าน อายุ เพศ การหักของกระดูกและวิธีการรักษา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา Independent t-test และ Chi-Square
ผลการศึกษา : กลุ่มหลังพัฒนาการดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพมีระยะเวลาการรอคอยผ่าตัดเฉลี่ย 5.9±2 วัน(กลุ่มก่อนการพัฒนา 11.1±4 วัน) นอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 14.5±4 วัน (กลุ่มก่อนการพัฒนา 21.2±5 วัน) ติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลา 1 ปี มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 9.6 (กลุ่มก่อนการพัฒนาร้อยละ 17.7) ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
สรุป : การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่อุบัติเหตุกระดูกสะโพกหักแบบสหสาขาวิชาชีพมีประสิทธิผลต่อการลดภาวะแทรกซ้อน ความพิการและการเสียชีวิตในผู้สูงอายุ
คำสำคัญ : ผู้สูงอายุ; กระดูกสะโพกหัก; สหสาขาวิชาชีพ
Background and Objectives: Geriatic patients with hip fracture is one of the common causes of injury-related complication, morbidity and mortality if inappropriate care. The development of multidisciplinary care were effectiveness for geriatric hip fracture more securely.
Methods: The research and development study was conducted in participants who had geriatric hip fracture and admitted to the orthopaedic department of Saraburi Hospital from February 2017 to January 2019. A purposive sampling of 124 patient for retrospective and 124 patient for prospective group were recruited for the study. Both groups were evaluated for age, gender, type of fracture , and treatment. Descriptive statistics, Independent t-test and Chi-Square were used to analyze data. Results: The results showed the prospective group had time from admission to surgery was 5.9±2 days (retrospective group 11.1±4), the length of stay in hospital was 14.5±4 days (retrospective group 21.2±5 ) then followed up of 1 year mortality rate was measured to be 9.6% (retrospective group 17.7% ) less than the retrospective group with statistic significantly. (p<0.05)
Conclusions: Multidisciplinary care development were effectiveness for decreased morbidity and mortality rate in geriatric hip fracture.
Keyword: Geriatric; Hip fracture; Multidisciplinary care