Outcome of Pain Management Program in Gynecological Cancer Patients Who Received Palliative Care in Srinagarind Hospital
Abstract
ผลลัพธ์ของโปรแกรมการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์
พรนภา บุญตาแสง1*, บัณฑิต ชุมวรฐายี2, ปาริชาติ เพียสุพรรณ์3
1หอผู้ป่วย 5ข โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2 หน่วยมะเร็งวิทยานรีเวช ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3 หน่วยการพยาบาลประคับประคอง โรงพยาบาลศรีนครินทร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
มีความทุกข์ทรมานจากความปวด จึงให้การดูแลด้วยโปรแกรมการจัดการความปวดและศึกษาผลลัพธ์ (outcome) คือ ร้อยละของผู้ที่มีระดับคะแนนความปวดลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50และความพึงพอใจต่อการจัดการความปวด จึงนำไปสู่การวิจัยเพื่อประเมินผลลัพธ์ในครั้งนี้
วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบย้อนหลังจากเวชระเบียน บันทึกการดูแล และระบบสารสนเทศกลุ่มตัวอย่างคือเวชระเบียนผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วย 5ข ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม พ.ศ.2562 จำนวน 45 ราย วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ด้วยความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95
ผลการศึกษา: พบว่า ผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง จำนวน 45 รายมีความปวดระดับคะแนนความปวดพื้นฐานมากที่สุดที่ระดับ 7-10 (severe pain) ระดับคะแนนความปวดลดลงมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 50 หลังจากได้รับการดูแลด้วยโปรแกรมการจัดการความปวดภายใน 48 ชั่วโมง ร้อยละ 95.6 (95% CI 84.85 - 99.46) และมีความพึงพอใจต่อการจัดการความปวดโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 3.33, 95% CI 3.19 - 3.47)
สรุป:โปรแกรมการจัดการความปวดในผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรีที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ที่หอผู้ป่วย 5ข โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถบรรเทาความปวดแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิผล
คำสำคัญ: มะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์สตรี; การดูแลแบบประคับประคอง; การจัดการความปวด
Background and objective: Gynecological cancer patients who received palliative care had been suffered from pain. Therefore, providing care with pain management programs and determining the outcome could manage the pain more effectively. We performed this study to assess the percentage of patients who had decreased pain equal to 50% or more and their satisfaction with pain management.
Method: A retrospective study of medical records, care records, and information systems were applied in this study. The sample were medical records of 45 gynecological cancer patients who were admitted and treated in gynecological 5B ward from January 1 - December 31, 2019. Descriptive statistic, mean, percentage, standard deviation, and their 95% CIs were used for data analysis.
Results: There were 45 gynecological cancer patients received palliative care in 2019. Most of them had initial pain score 7-10 (severe pain) and 95.6% (95% CI 84.85 - 99.46) had more than 50% reduction of pain within the first 48 hours after receiving care with the pain management program in gynecological patients receiving palliative care. Moreover, the patients were satisfied with the overall pain management at a very good level (mean 3.33, 95% CI 3.19 - 3.47).
Conclusion: The pain management program in gynecological cancer patients receiving palliative care in gynecological 5B ward of Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, could effectively decrease pain.
Key word: gynecological cancer; palliative care; pain management