Survival Rate of Lung Cancer Patients after Diagnosis in Srinagarind Hospital: An Update data on the Srinagarind Hospital -Based Cancer Registry between 2013 and 2017

Authors

  • Wachiraporn Musika Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Supot Kamsa-ard Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Chananya Jirapornkul Faculty of Public Health, Khon Kaen University
  • Chalongpon Santong Cancer Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University
  • Anakapong Phunmanee Department of Medicines, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Abstract

อัตรารอดชีพของผู้ป่วยมะเร็งปอดหลังการวินิจฉัยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ :   

ข้อมูลล่าสุดจากทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง 2560

วชิราภรณ์ มุสิกา1, สุพจน์ คำสะอาด2*,  ชนัญญา จิระพรกุล2,  ฉลองพล สารทอง3, อนัฆพงษ์ พันธุ์มณี4  

1นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการระบาด คณะสาธารณสุขศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 สาขาวิชาวิทยาการระบาดและชีวสถิติ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

3 หน่วยมะเร็ง โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

4ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

หลักการและวัตถุประสงค์: การศึกษานี้จะเป็นข้อมูลปัจจุบันที่สุดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตรารอดชีพผู้ป่วยมะเร็งปอดหลังการวินิจฉัยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล          ศรีนครินทร์

วิธีการศึกษา: ข้อมูลจากทะเบียนมะเร็งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2560 ติดตามสถานะสุดท้ายถึงปี พ.ศ.2562 จำนวน 2,149 ราย วิเคราะห์อัตรารอดชีพโดยวิธี Kaplan-Meier นำเสนอค่ามัธยฐานระยะเวลารอดชีพและช่วงเชื่อมั่น 95% เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยสถิติ Log rank test

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยมะเร็งปอด 2,149  ราย เสียชีวิต 1,867 ราย คิดเป็นอัตราตาย 86.0 ต่อ 100 คน-ปี (95% CI; 82.1 - 90.0) ค่ามัธยฐานการรอดชีพ 0.46 ปี (95% CI; 0.42 - 0.50) อัตรารอดชีพในระยะเวลา 1, 3 และ 5 ปี ร้อยละ 31.2  (95% CI; 29.2 - 33.2), 12.9 (95% CI; 11.5 - 14.5) และ 10.2 (95% CI; 8.7 - 11.7) ตามลำดับ การรักษาแบบ Targeted therapy พบอัตรารอดชีพระหว่างกลุ่มที่รักษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Log-rank test = 59.96, p = 0.001)

สรุป: ผู้ป่วยมะเร็งปอดหลังการวินิจฉัยที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบอัตรารอดชีพในระยะเวลา 5 ปี ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นปัจจัยด้านการรักษาแบบมุ่งเป้า (Targeted therapy) จำเป็นต้องได้รับการศึกษาในเชิงลึกต่อไป

คำสำคัญ: มะเร็งปอด; อัตรารอดชีพ; ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล

 

Abstract

Background and Objective: This is the lastest data for tertiary hospitals.  The objective of this research was to determine the survival rate of lung cancer patients after diagnosis at Srinagarind hospital.

Methods: Data were collected from the Srinagarind hospital-based cancer registry (2013-2017), and followed up until 2019 of 2,149 cases.  The survival rate was estimated using the Kaplan-Meier method. A comparison group was used to estimate the survival rate using the Log-rank test. We reported the median survival time and the 95% confidence interval.

Result: Of 2,149 lung cancer patients, 1,867 died during the study which corresponding to a case-fatality rate of  86.0 per 100 person-years (95%CI; 82.1 - 90.0). The median survival time was 0.46 years (95%CI; 0.42 - 0.50). The respective overall survival experience rate after diagnosis at 1, 3, and 5 years was 31.2% (95%CI; 29.2 - 33.2), 12.9% (95%CI; 11.5 - 14.5), and 10.2% (95%CI; 8.7 - 11.7). The survival rate between targeted therapy and nontargeted therapy were statistically significant. (Log-rank test = 59.9,              p = 0.001)

Conclusion: The survival rate of lung cancer at 5 years after diagnosis was poor. Further research should focus on the factors affecting the effectiveness of targeted therapy for lung cancer.

Keyword : Lung Cancer; Survival Rate; Hospital-Based Cancer Registry

Downloads

Published

2021-01-22

Issue

Section

Original Articles