Improvement of Methadone Maintenance Treatment Guideline for Opioid Dependency
Abstract
การพัฒนาแนวทางการบำบัดผู้เสพติดสารกลุ่มโอปิออยด์ด้วยเมทาโดนระยะยาว
ดวงใจ ดวงฤทธิ์1*, นัทชา ชีวินอภิรักษ์2, รวิพร จันทร์ศิริยานันท์2, นศภ.ธนานันท์ เพ็ชร์นิล2
1หมวดวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติทั่วไป วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี
2วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จังหวัดปทุมธานี
การบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว หมายถึง การรักษาแบบประคับประคองด้วยเมทาโดนระยะยาว ซึ่งเป็นการบำบัดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผู้เสพติดสารกลุ่มโอปิออยด์ การคงอยู่ในระบบการบำบัดเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการบำบัด อัตราการคงอยู่ในระบบการบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาวของประเทศไทยมีค่าต่ำ การทบทวนและปรับปรุงแนวทางการบำบัดผู้เสพติดสารกลุ่มโอปิออยด์เป็นหนทางหนึ่งที่อาจช่วยเพิ่มอัตราการคงอยู่ในระบบได้โดยมีแนวทางการปรับปรุงดังนี้
เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดต้องกำหนดเงื่อนไขให้เข้ารับคำแนะนำปรึกษาและให้การสนับสนุนทางสังคมอย่างใกล้ชิดแก่ผู้ที่เข้ารับการบำบัดที่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเข้ารับการบำบัดไม่ครบตามกำหนด และเพิ่มเกณฑ์การคัดออกซึ่งได้แก่ ผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ยาเมทาโดนหรือแพ้ยาเมทาโดน เพื่อความปลอดภัยของผู้เข้ารับการบำบัด ในผู้ป่วยที่มีอาการอยากยาหรือถอนยาควรพิจารณาใช้ขนาดยาเมทาโดนสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ โดยที่ระยะเวลาในการบำบัดไม่ต่ำกว่า 1 ปี การติดตามผลการบำบัดในระยะเริ่มต้นของการรักษาควรประเมินประสิทธิผลและอาการไม่พึงประสงค์จากยาเมทาโดน ส่วนในระยะหลังควรประเมินความเสี่ยงในการกลับไปเสพยาและการทำหน้าที่เชิงจิตสังคม ควรเพิ่มแนวทางการบำบัดของหญิงให้นมบุตร และเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาด้วยวิธีการต่าง ๆ โดย พัฒนาการให้บริการของบุคลากรทางการแพทย์ กำหนดแนวทางการให้ความรู้และการให้คำแนะนำปรึกษาด้านพฤติกรรม จัดให้มีกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ครอบครัวมีส่วนร่วม และควรจัดให้มีการฝึกอาชีพและจัดสรรงานเพื่อรองรับผู้เข้ารับการบำบัด เป็นต้น
Improvement of Methadone maintenance treatment for opioid dependency
ABSTRACT
Methadone maintenance treatment (MMT) is the supportive treatment with long-term use of methadone. It is the most effective treatment for opioid dependency. The treatment retention is the important factor for treatment success. It was found that the retention rate of MMT in Thailand was low. Therefore, MMT guideline should be reviewed and improved in order to increase treatment retention.
Inclusion criteria need to be included the counseling and social support for patients less than 18 years since they are high risk of drop-out. In addition, the contraindication and allergy to methadone should be included in exclusion criteria for patient safety. The higher dose of methadone should be considered for patients with cravings for opioids and withdrawal symptoms. Treatment duration of MMT should not be less than 1 year. Furthermore, treatment monitoring for induction period should focus on effectiveness and adverse effect of methadone while the risk of relapse and psychosocial function need to be assessed in maintenance phase. Treatment guideline for breastfeeding women should be added. The strategies for improving adherence consisting of medical services improvement, education and behavioral counseling, family oriented activities, job training and recruitment should be emphasized.