ทันตกรรมทางไกลเพื่อการพัฒนา ระบบบริการทันตสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • นันท์นภัส แย้มบุตร สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
  • นพวรรณ โพชนุกูล สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
  • พูลพฤกษ์ โสภารัตน สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย
  • พัชรวรรณ สุขุมาลินท สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย

คำสำคัญ:

teledentistry, telecommunication in dentistry

บทคัดย่อ

ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นหนึ่งในปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญของประชากรไทย และประชากรส่วนใหญ่มักไปพบทันตแพทย์เมื่อมีอาการแล้วเท่านั้น การนำระบบบริการทันตกรรมทางไกลเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมได้มากขึ้น บทความปริทัศน์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบทันตกรรมทางไกล ได้แก่ นิยาม รูปแบบ และโครงสร้างของระบบทันตกรรมทางไกลที่ใช้ในปัจจุบัน ตัวอย่างการนำไปใช้ในงานทันตกรรมสาขาต่าง ๆ ประโยชน์และผลลัพธ์ทางทันตกรรม ผลการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ปัจจุบันมีการนำระบบทันตกรรมทางไกลมาใช้ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ การให้บริการแบบ real time (synchronous) ซึ่งเป็นการให้คำปรึกษาระหว ่างบุคคลผ ่านระบบเสียงพร้อมภาพเคลื่อนไหวและการให้บริการแบบ store and forward (asynchronous) ที่มีการส่งข้อมูลที่บันทึกไว้จากการซักประวัติและตรวจช่องปากผู้ป่วยผ่านระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ไปยังทันตแพทย์หรือทันตบุคลากร เพื่อให้การวินิจฉัยและวางแผนการรักษา ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีการนำระบบทันตกรรมทางไกลไปใช้ในการจัดบริการทันตกรรมหลากหลายสาขา โดยเฉพาะการตรวจคัดกรอง ติดตามการรักษาและ ประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคในช่องปาก สำหรับการจัดโปรแกรมส่งเสริมป้องกันโรคตามความเสี่ยงของผู้ป่วย และผู้ป่วยสามารถจัดการปัญหาในช่องปากได้ด้วยตนเองจากการให้คำแนะนำเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น ลดความแออัดในการเข้ารับบริการในสถานพยาบาลในกรณีที่เกิดปัญหาในช ่องปากที่ไม ่รุนแรง นอกจากนี้ได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการนำระบบทันตกรรมทางไกลมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย เพื่อตรวจคัดกรองสภาวะทันตสุขภาพและรอยโรคในช่องปากให้คำปรึกษาและดูแลในกรณีที่มีอาการเร่งด่วน และควรมีการศึกษาเรื่องค่าตอบแทนบุคลากรที่ให้บริการทันตกรรมทางไกลต่อไป

คำสำคัญ : ระบบทันตกรรมทางไกล ทันตกรรมทางไกล

ไฟล์เพิ่มเติม

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

Review Article (บทความปริทัศน์)