ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กในเด็กปฐมวัย (อายุ 6 – 72 เดือน) เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • ปิยะ ปุริโส ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย
  • ลัดดา ดีอันกอง ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย
  • กัญญาภัทร คำโสม ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย
  • ธิโสภิญ ทองไทย ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย
  • ทัศนีย์ รอดชมภู ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น กรมอนามัย
  • พรพิมล ชูพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะโลหิตจาง, เด็กปฐมวัย, การขาดธาตุเหล็ก

บทคัดย่อ

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กยังคงเป็นความท้าทายด้านสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศกำลังพัฒนา การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย อายุ6 – 72 เดือน ในเขตสุขภาพที่7 จำนวนทั้งหมด 646 คน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาสถานการณ์การเจริญเติบโต ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโต และรูปแบบการส่งเสริมการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพของเด็กปฐมวัยไทย สำนักโภชนาการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกและแบบสัมภาษณ์บิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และวัดค่าฮีโมโกลบินจากปลายนิ้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติกเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย นำเสนอผลด้วยค่า Adjustedodds ratio(AOR)และช่วงความเชื่อมั่นที่95% (95% Confidence interval; 95%CI) ผลการศึกษา พบความชุกภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัยทั้งหมด ร้อยละ 29.1 โดยกลุ่มอายุ6 – 12 เดือน มีความชุกสูงสุด ร้อยละ 51.2 (41/80) รองลงมา คือ กลุ่มอายุ 13 – 24 เดือนร้อยละ 31.1 (37/119) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัย ได้แก่ อายุ6 - 24 เดือน (AOR = 1.94, 95%CI: 1.35 - 2.80) พื้นที่ที่ไม่มีการกำหนดแผนการควบคุมและป้องกันภาวะโลหิตจาง (AOR = 1.88, 95%CI: 1.32 - 2.70) และกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาล (AOR = 1.64, 95%CI: 1.13 - 2.37) สรุป ปัญหาภาวะโลหิตจางในเด็กปฐมวัยยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีควรมีการพัฒนาแนวทางหรือกำหนดมาตรการสำหรับการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางให้ครอบคลุม รวมถึงการส่งเสริมโภชนาการที่เหมาะสมให้แก่พ่อแม่หรือผู้ดูแลเด็ก

 

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)