ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในการป้องกัน ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในเขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • มัตติกา ยงอยู่ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้, อนามัยสิ่งแวดล้อม, ผลกระทบต่อสุขภาพ, เขตสุขภาพที่ 5

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกัน ผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ในเขตสุขภาพที่5 กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. จำนวน 382 คน ในจังหวัดราชบุรี สมุทรสาครและนครปฐม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์ค ่าที(t - test) และความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) รวมทั้ง วิเคราะห์หาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Correlation) ผลการศึกษา พบว่า 1) เป็นเพศหญิงร้อยละ 79.6 สมรสร้อยละ 60.7 อายุ 46 – 60 ปีร้อยละ 49.5 ระดับการศึกษา ประถมศึกษาร้อยละ 48.7 ประสบการณ์การเป็น อสม. น้อยกว่า 10 ปีร้อยละ 48.7 ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน 36 – 50 ปีร้อยละ 49.5 ไม่ได้ทำงาน/เป็นพ่อบ้านแม่บ้าน/ทำงานบ้านร้อยละ 36.4 ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 55.3 2) ระดับความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 45.3 และพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 41.4 ผลการเปรียบเทียบ พบว่า ไม่มีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ในกลุ่มอายุ กลุ่มเพศ และกลุ่มระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่ต่างกัน แต่มีความแตกต่างในกลุ่มระดับการศึกษา กลุ่มประวัติการมีโรคประจำตัว และกลุ่มประสบการณ์การเป็น อสม. ที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่า ความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (r = 0.779) ดังนั้นผู้ให้บริการสาธารณสุข จึงควรสร้างกิจกรรมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลฝุ ่นละอองขนาดเล็กในชุมชน เสริมสร้างกิจกรรมการวิเคราะห์ตรวจสอบประเด็นปัญหาฝุ ่นละอองขนาดเล็ก รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้อสม. ได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างสมำ่เสมอ และกำหนดเนื้อหาในโปรแกรมเพื่อการพัฒนาความรอบรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพสำหรับ อสม. ในพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศต่อไป

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30

ฉบับ

บท

Original Articles (บทวิทยาการ)